“ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ทุกขอริยสัจจ์ คือ ขันธ์ ๕ ที่คนเข้าไปยึดถือ เป็นทุกข์ ... สมุทัยอริยสัจจ์ คือ เหตุเกิดแห่งทุกข์ ... นิโรธอริยสัจจ์ คือ ความดับทุกข์ ... มรรคอริยสัจจ์ คือ ทางไปสู่ความดับทุกข์ ได้แก่ อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ ประการ”
หนังสือ พระพุทธศาสนาจากพระโอษฐ์ รองศาสตราจารย์แสง จันทร์งาม
ดูกรสุภัททะ ! อริยมรรคประกอบด้วยองค์แปด เป็นทางประเสริฐ สามารถให้บุคคล ผู้เดินไปตามทางนี้ ถึงซึ่งความสุขสงบเย็นเต็มที่เป็นทางเดินไปสูอมตะ ดูกรสุภัททะ ! ถ้าภิกษุหรือใครก็ตามจะพึงอยู่โดยชอบ ปฏิบัติดำเนินตามมรรคอันประเสริฐประกอบด้วยองค์แปดนี้อยู่ โลกก็จะไม่พึงว่างจากพระอรหันต์
หนังสือ พุทธโอวาทก่อนปรินิพพาน อาจารย์วศิน อินทสระ
อริยสัจ ๔ คือ ความจริงอันประเสริฐ ๔ ประการ ได้แก่ ทุกข์, สมุทัย, นิโรธ, และมรรค
ชาร์ตแสดงความสัมพันธ์แห่งอริยสัจ ๔ โดยจับคู่เป็น ๒ คู่ สมุทัยอริยสัจ เป็นเหตุ โดยมี ทุกข์อริยสัจ เป็นผล คู่หนึ่ง มรรคอริยสัจ เป็นเหตุ โดยมี นิโรธอริยสัจ เป็นผล คู่หนึ่ง
ภิกษุ ท.! ความตั้งใจมั่นชอบ (สัมมาสมาธิ) เป็นอย่างไร? ภิกษุ ท.! ภิกษุในศาสนานี้ ๑) เพราะสงัดจากกาม ท. เพราะสงัดจากอกุศลธรรม ท. ย่อมเข้าถึงฌาณที่หนึ่ง อันมี วิตก วิจาร ปิติ และสุข อันเกิดแต่วิเวกแล้วแลอยู่ ๒) เพราะวิตก วิจารรำงับลง เธอเข้าถึงฌานที่สอง อันเป็นเครื่องผ่องใสแห่งใจในภายใน ให้สมาธิเป็นธรรมอันเอกผุดขึ้น ไม่มีวิตกไม่มีวิจาร มีแต่ปิติและสุขอันเกิดแก่สมาธิแล้วแลอยู่ ๓) เพราะปิติจางหายไป เธอเป็นผู้เพ่งเฉยอยู่ได้ มีสติ มีความรู้สึกตัวทั่วพร้อม และได้เสวยสุขด้วยนามกาย ย่อมเข้าถึงฌานที่สาม อันเป็นฌานที่พระอริยเจ้าทั้งหลายกล่าวสรรเสริญ ผู้ได้บรรลุว่า "เป็นผู้เฉยอยู่ได้ มีสติ มีความรู้สึกตัวทั่วพร้อม" แล้วแลอยู่ ๔) เพราะละสุขและทุกข์เสียได้ และเพราะความดับหายแห่งโสมนัสและโทมนัสในกาลก่อน เธอย่อมเข้าถึงฌานที่สี่ อันไม่ทุกข์และไม่สุข (อุเบกขา) มีแต่สติอันบริสุทธิ์เพราะอุเบกขาแล้วแลอยู่ นี้เรียกว่า ความตั้งใจมั่นชอบ (สัมมาสมาธิ)
อริยสัจจากพระโอษฐ์ : พุทธทาสภิกขุ
นิเทศ ๒๐ : ว่าด้วยสัมมาสมาธิ
สัมมาสมาธิ
ฟังธรรมะบรรยาย (มากกว่า ๔,๐๐๐ ไฟล์)
สงวนลิขสิทธิ์โดย ธรรมะพีเดีย.คอม เว็บไซต์นี้จัดทำขึ้นเพื่อเผยแผ่พุทธศาสนา โดยไม่มุ่งหวังผลทางพาณิชย์ อนุญาตให้นำไปเผยแผ่เพื่อสืบต่อพุทธศาสนาได้ตามกุศลเจตนา