หน้าหลัก ศาสนพิธี วันสำคัญทางศาสนา วันอาสาฬหบูชา
Search:

"พิธีกรรมทางศาสนานั้น เปรียบเสมือนเปลือกของต้นไม้ ต้นไม้ที่ปราศจากเปลือกห่อหุ้ม ย่ิอมไม่สามารถยืนต้นอยู่ได้"


หน้าแรก : หมวดศาสนพิธี
วันอาสาฬหบูชา
วันสำคัญทางพุทธศาสนา เรียงตามลำดับดังนี้
๑. วันวิสาขบูชา : ประสูติ ตรัสรู้ ปรินิพพาน ๕. วันเข้าพรรษา
๒. วันอาสาฬหบูชา : ปฐมเทศนา-ประกาศศาสนา ๖. วันออกพรรษา
๓. วันมาฆบูชา : จาตุรงคสันนิบาต-โอวาทปาฏิโมกข์ ๗. วันพระ หรือวันธรรมสวนะ
๔. วันอัฏฐมีบูชา : ถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระ  
เนื้อหาหลักนำมาจาก : หอมรดกไทย และ wiki
วันอาสาฬหบูชา (บาลี: อาสาฬหปูชา; อังกฤษ: Asalha Puja)
       เป็นวันที่สมเด็จพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าได้แสดง พระปฐมเทศนา หรือการแสดงพระธรรมครั้งแรก หลังจากที่ตรัสรู้ได้ ๒ เดือน เป็นวันที่เริ่มประดิษฐานพระพุทธศาสนา เนื่องจากมีองค์ประกอบของพระรัตนตรัยครบถ้วน คือ พระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นก่อนพุทธศักราช ๔๕ ปี ในวันเพ็ญ (ขึ้น ๑๕ ค่ำ) เดือน ๘ ดวงจันทร์ เสวยมาฆฤกษ์

การแสดงพระปฐมเทศนา
       ได้ทรงแสดงแก่ปัญจวัคคีย์ ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน แขวงเมืองพาราณสี ปัจจุบันคือสารนาถ เมืองพาราณสี พระธรรมที่แสดงคือ ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร เมื่อเทศนาจบ พระโกณฑัญญะ หนึ่งในปัญจวัคคีย์ ผู้ประกอบด้วย พระโกณฑัญญะ พระวัปปะ พระภัททิยะ พระมหานาม และพระอัสสชิ ก็ได้ดวงตาเห็นธรรม มีความเห็นแจ้งชัดว่า

             ยํ กิญฺจิ สมุทยธมฺมํ สพฺพนฺตํ นิโรธธมฺมนฺติ
             สิ่งใดสิ่งหนึ่งเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งใดสิ่งนั้นย่อมดับไปเป็นธรรมดา

เมื่อได้ดวงตาเห็นธรรมแล้ว จึงขออุปสมบทเป็นพระภิกษุในพระพุทธศาสนา พระพุทธเจ้าก็ประทานอุปสมบทให้ ด้วยวิธีที่เรียกว่า เอหิภิกขุอุปสัมปทา โดยกล่าวคำว่า เธอจงเป็นภิกษุมาเกิด พระโกณฑัญญะจึงเป็นพระอริยสงฆ์องค์แรก

คำว่าธัมมจักกัปปวัตตนสูตร
       แปลว่า สูตรของการหมุนวงล้อแห่งพระธรรมให้เป็นไป มีความโดยย่อว่า ที่สุด ๒ อย่างที่บรรพชิตไม่ควรประพฤติปฏิบัติคือ
       ๑. การประกอบตนให้อยู่ในความสุขด้วยกาม ซึ่งเป็นธรรมอันเลวเป็นของชาวบ้าน เป็นของปุถุชน ไม่ใช่ของพระอริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์
       ๒. การประกอบการทรมานตนให้เกิดความลำบาก ไม่ใช่ของพระอริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์

การดำเนินตามทางสายกลาง
       คือ ไม่เข้าไปใกล้ที่สุดทั้งสองอย่างนั้น เป็นเรื่องที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสรู้ ด้วยปัญญาอันยิ่ง ทำดวงตาและญาณให้เกิด เป็นไปเพื่อความสงบระงับ ความรู้ยิ่ง ความตรัสรู้ และนิพพาน

ทางสายกลาง ได้แก่ อริยมรรคมีองค์แปด คือ ปัญญาอันเห็นชอบ ดำริห์ชอบ เจรจาชอบ การงานชอบ เลี้ยงชีพชอบ พยายามชอบ ระลึกชอบ และตั้งใจชอบ

อริยสัจสี่ คือความจริงอันประเสริฐที่พระองค์ค้นพบ มี ๔ ประการ ได้แก่
       ๑. ความทุกข์
           ได้แก่ ความเกิด ความแก่ ความตาย ความได้พบกับสิ่งที่ไม่เป็นที่รัก ความพลัดพรากจากสิ่งอันเป็นที่รัก ปรารถนาสิ่งใดแล้วไม่ได้สิ่งนั้น ว่าโดยย่อ อุปาทานในขันธ์ 5 เป็นทุกข์

       ๒. สาเหตุแห่งทุกข์
           ได้แก่ ตัณหาความทะยานอยาก อันทำให้เกิดอีกความกำหนัด เพลิดเพลินในอารมณ์ คือกามตัณหา ความทะยานอยากในกาม ภวตัณหา ความทะยานในภพ วิภวตัณหา ความทะยานอยากในความไม่มีภพ

       ๓. ความดับทุกข์
          
โดยการดับตัณหาด้วยอริยมรรค คือ วิราคะ สละ ดับ ปล่อยไป ไม่พัวพัน

       ๔. หนทางปฏิบัติเพื่อดับทุกข์
          
ได้แก่ อริยมรรคมีองค์ ๘ คือ ความเห็นชอบ ความดำริชอบ การเจรจาชอบ การกระทำชอบ การเลี้ยงชีพชอบ ความพยายามชอบ การระลึกชอบ และการตั้งจิตมั่นชอบ

ดวงตา ญาณ ปัญญา วิชชา แสงสว่าง ได้เกิดขึ้นแก่พระองค์ว่า
       - นี้เป็นทุกข์ อันควรกำหนดรู้ และพระองค์ ได้กำหนดรู้แล้ว
       - นี้เป็นสาเหตุแห่งทุกข์ อันควรละ และพระองค์ ได้ละแล้ว
       - นี้เป็นความดับทุกข์ อันควรทำให้แจ้ง และพระองค์ ได้ทำให้แจ้งแล้ว
       - นี้เป็นหนทางดับทุกข์ อันควรเจริญ และพระองค์ ได้เจริญแล้ว


สรุปได้ว่า ปัญญาอันรู้เห็นแจ้งชัดตามความเป็นจริงในอริยสัจ ๔ มีรอบ ๓ มีอาการ ๑๒ คือ
       ขั้นแรก รู้ว่า อริยสัจแต่ละอย่างนั้นเป็นอย่างไร
       ขั้นที่สอง รู้ว่าควรจะทำอย่างไรในอริยสัจแต่ละประการนั้น
       ขั้นที่สาม พระองค์ได้กระทำตามนั้นสำเร็จเสร็จแล้ว

พระองค์ทรงเน้นว่า จากการที่พระองค์ทรงค้นพบ คือตรัสรู้อริยสัจ ๔ ประการนี้ การที่พระองค์ทรงกล้าปฏิญญาว่า เป็นผู้ตรัสรู้พระอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณ เพราะพระองค์ได้รู้เห็นแจ้งชัดตามความเป็นจริง ในอริยสัจ ๔ มี รอบ ๓ มีอาการ ๑๒ อย่างหมดจดดีแล้ว

เมื่อพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงประกาศพระธรรมจักร ให้เป็นไปแล้ว ได้มีการบันลือต่อ ๆ กันไปให้ทราบทั่วกันว่า พระธรรมอันยอดเยี่ยมที่พระองค์ทรงประกาศให้เป็นไปแล้ว ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน เขตเมืองพาราณสี อันใคร ๆ ในโลกจะปฏิวัติไม่ได้

วันอาสาฬหบูชา มีเหตุการณ์สำคัญในทางพระพุทธศาสนาอยู่ 3 ประการคือ
       ๑. เป็นวันแรกที่พระพุทธเจ้าทรงประกาศพระศาสนา โดยทางแสดงพระปฐมเทศนา คือ ธรรมจักกัปปวัตนสูตร ประกาศสัจธรรมอันเป็นองค์แห่งพระอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณที่พระองค์ตรัสรู้ ให้เป็นที่ประจักษ์แก่ สรรพสัตว์ทั้งหลาย

       ๒. เป็นวันแรกที่บังเกิดพระอริยสงฆ์สาวกขึ้นในโลก คือ พระโกณฑัญญะ เมื่อได้ฟังพระปฐมเทศนาจบ ได้ดวงตาเห็นธรรม ได้ทูลขออุปสมบท และพระพุทธเจ้าได้ประทานอุปสมบทให้ด้วยวิธีเอหิภิกษุอุปสัมปทา ในวันนั้น

       ๓. เป็นวันแรกที่บังเกิดพระรัตนตรัย คือ พระพุทธรัตนะ พระธรรมรัตน และพระสังฆรัตนะ ขึ้นในโลกอย่างสมบูรณ์บริบูรณ์

ในวันนี้พุทธศาสนิกชนต่างพากันมาน้อมระลึกถึงพระรัตนตรัย ด้วยการไปชุมนุมตามพระอารามต่าง ๆ เพื่อกระทำการบูชาปูชนียวัตถุได้แก่พระธาตุเจดีย์ หรือพระพุทธปฏิมาที่เป็นพระประธานในพระอุโบสถ อย่างใดอย่างหนึ่ง ด้วยดอกไม้ ธูป เทียน เริ่มด้วยการสรรเสริญคุณพระรัตนตรัย เวียนเทียน และฟังพระธรรมเทศนา เช่นเดียวกับที่ปฏิบัติในวันวิสาขบูชา การแสดงธรรมในวันนี้จะเทศน์ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร

วันอาสาฬหบูชาจึงเป็นวันที่พุทธศาสนิกชนจะได้ร่วมกันน้อมระลึกถึงคุณพระรัตนตรัย ศึกษาพระธรรมวินัย อันเป็นแก่นแท้ของพระพุทธศาสนา ให้เข้าใจอย่างถูกต้องตรงทางแล้ว นำไปประพฤติปฏิบัติ เพื่อประโยชน์ตนและประโยชน์ผู้อื่นต่อไปชั่วกาลนาน

 

      แบบประกอบนักธรรมตรี - ศาสนพิธี เล่ม ๑ : หลักสูตรศึกษา นักธรรมชั้นตรี
      แบบประกอบนักธรรมตรี - ศาสนพิธีสังเขป : หลักสูตรศึกษา นักธรรมชั้นตรี
      แบบประกอบนักธรรมโท - ศาสนพิธี เล่ม ๒ : หลักสูตรศึกษา นักธรรมชั้นโท


   โดย พระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ)
อาสาฬหบูชาเทศนา -:เพราะความไม่ยึดมั่นถือมั่นย่อมหลุดพ้น คลิกฟัง
อาสาฬหบูชาเทศนา กัณฑ์ ๑ -: โลกเราจะได้อะไรในวันอาสาฬหบูชา คลิกฟัง
อาสาฬหบูชาเทศนา กัณฑ์ ๒ -: พระรัตนตรัยนั่นแหละคือตัวพุทธศาสน... คลิกฟัง
อาสาฬหบูชาเทศนา กัณฑ์ ๓ -: หลักการปฏิบัติเกี่ยวกับอิทัปปัจยต... คลิกฟัง
อาสาฬหบูชาเทศนา กัณฑ์ ๑ -: สิ่งทั้งหลายเป็นไปตามเหตุปัจจัย คลิกฟัง
อาสาฬหบูชาเทศนา กัณฑ์ ๒ -: การเกิดขึ้นของอุปาทานคือการเกิดขึ้... คลิกฟัง
อาสาฬหบูชาเทศนา กัณฑ์ ๓ -:การดับลงของอุปาทานคือการดับลงแห่งค... คลิกฟัง
อาสาฬหบูชาเทศนา กัณฑ์ ๔ -:การดับลงของอุปาทานคือการดับลงแห่งค... คลิกฟัง
อาสาฬหบูชาเทศนา กัณฑ์ ๑ -:วันแห่งพระธรรม ความถูกต้อง ทางสายก... คลิกฟัง
อาสาฬหบูชาเทศนา กัณฑ์ ๒ -: ลักษณะของธรรมชีวี คลิกฟัง
อาสาฬหบูชาเทศนา กัณฑ์ ๓ -:การปฏิบัติต่อธรรมชีวี คลิกฟัง
อาสาฬหบูชาเทศนา กัณฑ์ ๔ -: จุดหมายปลายทางของธรรมชีวี คลิกฟัง
อาสาฬหบูชาเทศนา พ.ศ. ๒๕๒๗ กัณฑ์ ๔ -: นิพพานเกี่ยวกับความตาย... คลิกฟัง
อาสาฬหบูชาเทศนา พ.ศ. ๒๕๒๘ กัณฑ์ ๑ -: พระธรรมในทุกแง่ทุกมุม ๑ คลิกฟัง
อาสาฬหบูชาเทศนา พ.ศ. ๒๕๒๘ กัณฑ์ ๒ -: พระธรรมในทุกแง่ทุกมุม ๒ คลิกฟัง
อาสาฬหบูชาเทศนา พ.ศ. ๒๕๒๙ กัณฑ์ ๑ -: มัชฌิมาปฏิปทา คลิกฟัง
อาสาฬหบูชาเทศนา พ.ศ. ๒๕๒๙ กัณฑ์ ๒ -: อริยสัจจ์ คลิกฟัง
อาสาฬหบูชาเทศนา พ.ศ. ๒๕๒๙ กัณฑ์ ๓ -: ความทุกข์ คลิกฟัง
อาสาฬหบูชาเทศนา พ.ศ. ๒๕๓๐ กัณฑ์ ๑,๒ -: ความเห็นแก่ตัว,การทำล... คลิกฟัง
อาสาฬหบูชาเทศนา พ.ศ. ๒๕๓๑ กัณฑ์ที่ ๑ -: อตัมมยตากับอริยสัจจส... คลิกฟัง
อาสาฬหบูชาเทศนา พ.ศ. ๒๕๓๑ กัณฑ์ที่ ๒ -: อตัมมยตากับธรรมจักร คลิกฟัง
อาสาฬหบูชาเทศนา พ.ศ. ๒๕๓๒ กัณฑ์ที่ ๑ -: พระธรรมจักรซึ่งไม่มี... คลิกฟัง
อาสาฬหบูชาเทศนา พ.ศ. ๒๕๓๒ กัณฑ์ที่ ๒ -: พระพุทธเจ้ามีอยู่ในท... คลิกฟัง
อาสาฬหบูชาเทศนา พ.ศ. ๒๕๓๓ กัณฑ์ที่ ๑ : ธรรมจักรคืออะไร และทำ... คลิกฟัง
อาสาฬหบูชาเทศนา พ.ศ. ๒๕๓๓ กัณฑ์ที่ ๒ : ธรรมจักรมีประโยชน์อย่... คลิกฟัง
อาสาฬหบูชาเทศนา พ.ศ. ๒๕๓๔ กัณฑ์ที่ ๑ : หัวใจและความลับของพระ... คลิกฟัง
อาสาฬหบูชาเทศนา พ.ศ. ๒๕๓๔ กัณฑ์ที่ ๒ : พระธรรมที่เกี่ยวกับพร... คลิกฟัง
   โดย พระพรหมมังคลาจารย์ (ปัญญานันทภิกขุ)
อาสาฬหบูชาเทศนา (เข้า) คลิกฟัง
อาสาฬหบูชาเทศนา (เย็น) คลิกฟัง
วันอาสาฬหบูชา ๑ คลิกฟัง
วันอาสาฬหบูชา ๒ คลิกฟัง
วันอาสาฬหบูชา ๓ คลิกฟัง
วันอาสาฬหบูชา ๔ คลิกฟัง
วันอาสาฬหบูชา ๕ คลิกฟัง
   โดย พระโพธิธรรมาจารย์เถระ (หลวงปู่สุวัจน์ สุวโจ)
วันอาสาฬหบูชา-ธรรมจักรกัปปะวัตตะนะสูตร คลิกฟัง
วันอาสาฬหบูชา คลิกฟัง

ฟังธรรมะบรรยาย
(มากกว่า ๔,๐๐๐ ไฟล์)

อ่านพระไตรปิฎก
(คัมภีร์สำคัญทางพุทธศาสนา)
อ่านหนังสือธรรมะออนไลน์
(โดยพระเกจิอาจารย์ชื่อดัง)
วิธีปฏิบัติธรรม
(ธรรมะภาคปฏิบัติ)
 

จุดมุ่งหมายสูงสุดของพระพุทธศาสนา
     จุดหมายสูงสุด ของพระพุทธศาสนา พึงบรรลุได้ด้วยความสุขหรือด้วยข้อปฏิบัติที่มีความสุข มิใช่บรรลุด้วยความทุกข์ หรือด้วยข้อปฏิบัติที่เป็นทุกข์
      ผู้ปฏิบัติจะต้องไม่ติดใจหลงไหลในความสุขที่เกิดขึ้นแก่ตน ไม่ปล่อยให้ความสุขที่เกิดขึ้นนั้น ครอบงำ
        จิตใจของตน ยังมีจิตใจเป็นอิสระ สามารถก้าวหน้าไปในธรรมเบื้องสูง ต่อๆ ไป จนบรรลุความเป็นอิสระ
        หลุดพ้นโดยบริบูรณ์
      ซึ่งเมื่อบรรลุจุดหมายนั้นแล้ว ก็สามารถเสวยความสุขที่เคยเสวยมาแล้ว โดยที่ความสุขนั้น ไม่มีโอกาส
        ครอบงำจิตใจ ทำให้ติดพันหลงไหลได้เลย
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต)

หลักแห่งพระพุทธศาสนาโดยสรุป
     พุทธศาสนาคือวิชาและระเบียบปฏิบัติ เพื่อให้รู้สิ่งทั้งปวงถูกต้องตามที่เป็นจริงว่าอะไรเป็นอะไร สิ่งทั้งปวง มีสภาพตามที่เป็นจริง คือ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่ใช่ตัวหรือของตัว ; แต่สัตว์ทั้งหลายยังหลงรัก หลงยึดติดสิ่งทั้งปวง เพราะอำนาจของการยึดมั่นที่ผิด ในพุทธศาสนามีวิธี ปฏิบัติเรียกว่า ศีล สมาธิ ปัญญา เพื่อใช้เป็นเครื่องมือ ตัดการติดการยึดมั่นนั้นเสีย อุปาทาน การยึดมั่นนั้นมีสิ่งที่ลงเกาะหรือจับยึด คือ ขันธ์ทั้งห้า คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
      เมื่อรู้จักขันธ์ทั้งห้า ตามที่เป็นจริง ก็จะสามารถเข้าใจสิ่งทั้งปวงจนถึงกับเบื่อหน่ายคลายความอยาก ไม่ยึดอะไร ติดอะไร และเราควรจะมีชีวิตอยู่อย่างที่เรียกว่า "เป็นอยู่ชอบ" คือให้ วันคืนเต็มไปด้วยความปีติ ปราโมทย์ อันเกิดมาจากการกระทำที่ดีที่งามที่ถูกต้องอยู่เป็นประจำ แล้วระงับความฟุ้งซ่าน เกิดสมาธิ เกิดความเห็นแจ้งได้เรื่อยๆ ไป จนกระทั่งเกิดความเบื่อหน่าย ความคลายออก ความหลุดพ้น และนิพพานได้ตามความเหมาะสมของสิ่งแวดล้อม
      ถ้าเราจะรีบเร่งทำให้ได้ผลเร็วขึ้น ก็มีแนวปฏิบัติที่เรียกว่า วิปัสสนาธุระ เริ่มตั้งแต่มี ความประพฤติบริสุทธิ์ มีใจบริสุทธิ์ มีความเห็นบริสุทธิ์ เรื่อยขึ้นไปจนถึงมีปัญญา คือความเห็นแจ้งบริสุทธิ์ ในที่สุดก็จะตัดกิเลสที่ผูกมัดคนให้ติดอยู่กับวิสัยโลกออกเสียได้ เรียกว่า การบรรลุมรรคผล
ท่านพุทธทาสภิกขุ : คู่มือมนุษย์



สงวนลิขสิทธิ์โดย ธรรมะพีเดีย.คอม
เว็บไซต์นี้จัดทำขึ้นเพื่อเผยแผ่พุทธศาสนา โดยไม่มุ่งหวังผลทางพาณิชย์
อนุญาตให้นำไปเผยแผ่เพื่อสืบต่อพุทธศาสนาได้ตามกุศลเจตนา

www.thammapedia.com
( ศูนย์เผยแผ่พระพุทธธรรม )
Copyright © 2008 ALL RIGHTS RESERVED
 
 
หน้าหลัก