๑.ห้ามฉันกระเทียม |
๘๔. ห้ามใช้ร่มใช้รองเท้า เว้นแต่จะไม่สบาย |
๒.ห้ามนำขนในที่แคบออก ที่แคบได้แก่ ขนรักแร่ และช่องให้กำเนิด |
๘๕. ห้ามไปด้วยยาน เว้นแต่ไม่สบาย
(หมายเหตุ : ทั้งสองสิกขาบทนี้ เห็นได้ว่าเพื่อมิให้ถูกติว่า เลียนแบบคฤหัสถ์ เป็นการบัญญัติตามกาลเทศะ และสิ่งแวดล้อม. ตกมาถึงสมัยนี้ ความรังเกียจคงเปลี่ยนแปลงไป. สิกขาบทเหล่านี้ จึงคงอยู่ในประเภทที่ทรงอนุญาตไว้ก่อนปรินิพพานว่า ถ้าจะถอนสิกขาบทเล็กน้อยก็ถอนได้ เป็นการเปิดทางให้กาลเทศะ แต่พระสาวกสมัยสังคายนาเห็นว่า ถ้าปล่อยให้ถอนกันตามชอบใจ จะยุ่งกันใหญ่ คืออาจจะไปถอนสิกขาบทที่สำคัญเข้า แต่เห็นเป็นไม่สำคัญ ฉะนั้น ท่านจึงสวดประกาศห้ามถอน เป็นการใช้อำนาจสงฆ์สั่งการ เช่นนั้น). |
๓.ห้ามใช้ฝ่ามือตบกันด้วยความกำหนัด |
๘๖.ห้ามใช้ผ้าหยักรั้ง |
๔.ห้ามใช้สิ่งที่ทำด้วยยางไม้(คำว่า ยางไม้ กินความถึงไม้, แป้ง, ดินเหนียว โดยที่สุด แม้ใบบัว) ใส่ในช่องให้กำเนิด |
๘๗.ห้ามใช้เครื่องประดับกายสำหรับหญิง |
๕.ห้ามชำระ(ช่องให้กำเนิด)ลึกเกิน ๒ ข้อนิ้ว |
๘๘. ห้ามอาบน้ำหอมและน้ำมีสี |
๖.ห้ามเข้าไปยืนถือน้ำและพัดในขณะที่ภิกษุกำลังฉัน |
๘๙. ห้ามอาบน้ำด้วยแป้งงาอบ |
๗.ห้ามทำการหลายอย่างกับข้าวเปลือกดิบ (นางภิกษุณีผู้ขอเอง, ใช้ให้ขอ, ฝัดเอง, ใช้ให้ฝัด, ตำเอง, ใช้ให้ตำ ซึ่งข้าวเปลือกดิบ. หุงต้มเอง ใช้ให้หุงต้ม ฉันข้าวนั้น หรือการฉันข้าวที่ตนทำเองต้องอาบัติ) |
๙๐. ห้ามให้นางภิกษุณีทาน้ำมันหรือนวด |
๘.ห้ามทิ้งของนอกฝานอกกำแพง |
๙๑. ห้ามให้นางสิกขามานาทาน้ำมันหรือนวด |
๙.ห้ามทิ้งของเช่นนั้นลงบนของเขียวสด |
๙๒. ห้ามให้สามเณรีทาน้ำมันหรือนวด |
๑๐.ห้ามไปดูฟ้อนรำขับร้อง |
๙๓.ห้ามให้นางคหินีทาน้ำมันหรือนวด |
๑๑.ห้ามยืนหรือสนทนาสองต่อสองกับบุรุษในที่มืด |
๙๔.ห้ามนั่งหน้าภิกษุโดยไม่บอกก่อน |
๑๒.ห้ามยืนหรือสนทนาสองต่อสองกับบุรุษในที่ลับ |
๙๕.ห้ามถามปัญหาภิกษุโดยไม่ขอโอกาส |
๑๓.ห้ามยืนหรือสนทนาสองต่อสองกับบุรุษในที่แจ้ง |
๙๖.ห้ามเข้าบ้านโดยไม่ใช้ผ้ารัดหรือผ้าโอบ |
๑๔.ห้ามทำเช่นนั้นในที่อื่นอีก (ทำเช่นนั้น คือ ภิกษุณี กับบุรุษสองต่อสอง ยืนอยู่บ้าง สนทนากันบ้าง กระซิบที่หูกันบ้าง ส่งนางภิกษุณีที่เป็นเพื่อนไปเสียบ้าง ในถนนรกบ้าง ในถนนตันบ้าง (ถนนเช่นนี้ เข้าทางไหนต้องออกทางนั้น) ในทางแยกบ้าง) |
๙๗.ห้ามพูดปด |
๑๕. ห้ามเข้าบ้านผู้อื่นแล้วเวลากลับไม่บอกลา |
๙๘.ห้ามด่า |
๑๖. ห้ามนั่งนอนบนอาสนะโดยไม่บอกเจ้าของบ้านก่อน |
๙๙.ห้ามพูดส่อเสียด |
๑๗. ห้ามปูลาดที่นอนในบ้านโดยไม่บอกเจ้าของบ้าน |
๑๐๐.ห้ามกล่าวธรรมพร้อมกับผู้ไม่ได้บวชในขณะสอน |
๑๘. ห้ามติเตียนผู้อื่นไม่ตรงกับที่ฟังมา |
๑๐๑.ห้ามนอนร่วมกับอนุปสัมบัน(ผู้ไม่ใช้ภิกษุณี)เกิน ๓ คืน |
๑๙. ห้ามสาปแช่งด้วยเรื่องนรกหรือพรหมจรรย์ |
๑๐๒.ห้ามนอนร่วมกับผู้หญิง |
๒๐. ห้ามทำร้ายตัวเองแล้วร้องไห้ |
๑๐๓.ห้ามแสดงธรรมสองต่อสองกับผู้หญิง |
๒๑. ห้ามเปลือยกายอาบน้ำ |
๑๐๔.ห้ามบอกคุณวิเศษที่มีจริงแก่ผู้มิได้บวช |
๒๒. ห้ามทำผ้าอาบน้ำยาวใหญ่เกินประมาณ |
๑๐๕.ห้ามบอกอาบัติชั่วหยาบของภิกษุแก่ผู้มิได้บวช |
๒๓. ห้ามพูดแล้วไม่ทำ |
๑๐๖.ห้ามขุดดินหรือใช้ให้ขุด |
๒๔. ห้ามเว้นการใช้ผ้าซ้อนนอกเกิน ๕ วัน(หมายเหตุ : ตามธรรมดานางภิกษุณีมีผ้าสำหรับใช้ประจำ ๕ ผืน คือ ๑. สังฆาฏิ (ผ้าซ้อนนอก สำหรับใช้เมื่อหนาว) ๒. อุตตราสงค์ (ผ้าห่ม) ๓. อันตรวาสก (ผ้านุ่ง) ๔. สังกัจฉิกะ (ผ้ารัดหรือผ้าโอบ) ๕. อุทกสาฏิกา (ผ้าอาบน้ำ). พิจารณาดูตามสิกขาบทนี้ เป็นเชิงห้าม เว้นการใช้ผ้าซ้อนนอก คือสังฆาฏิอย่างเดียว แต่ในคำอธิบายท้ายสิกขาบท ขยายความเป็นว่า เว้นผืนใดผืนหนึ่งใน ๕ ผืน เกิน ๕ วันไม่ได้ คำว่า เว้น คือไม่นุ่งไม่ห่มหรือไม่ตากแดด). |
๑๐๗.ห้ามทำลายต้นไม้ |
๒๕. ห้ามใช้จีวรสับกับของผู้อื่น |
๑๐๘.ห้ามพูดเฉไฉเมื่อถูกสอบสวน |
๒๖. ห้ามทำอันตรายลาภจีวรของสงฆ์ |
๑๐๙.ห้ามติเตียนภิกษุผู้ทำการสงฆ์โดยชอบ |
๒๗. ห้ามยับยั้งการแบ่งจีวรอันเป็นธรรม |
๑๑๐.ห้ามทิ้งเตียงตั่งของสงฆ์ไว้กลางแจ้ง |
๒๘. ห้ามให้สมณจีวรแก่คฤหัสถ์หรือนักบวช |
๑๑๑.ห้ามปล่อยที่นอนไว้ ไม่เก็บงำ |
๒๙. ห้ามทำให้กิจการชะงักด้วยความหวังลอย ๆ |
๑๑๒.ห้ามนอนแทรกภิกษุผู้เข้าไปอยู่ก่อน |
๓๐. ห้ามคัดค้านการเพิกถอนกฐินที่ถูกธรรม |
๑๑๓.ห้ามฉุดคร่าภิกษุออกจากวิหารของสงฆ์ |
๓๑. ห้ามนอนบนเตียงเดียวกันสองรูป |
๑๑๔.ห้ามนั่งนอนทับเตียงหรือตั่งที่อยู่ชั้นบน |
๓๒. ห้ามใช้เครื่องปูลาดและผ้าห่มร่วมกันสองรูป |
๑๑๕.ห้ามพอกหลังคาวิหารเกิน ๓ ชั้น |
๓๓. ห้ามแกล้งก่อความรำคาญแก่นางภิกษุณี |
๑๑๖.ห้ามเอาน้ำมีสัตว์รดหญ้าหรือดิน |
๓๔. ห้ามเพิกเฉยเมื่อศิษย์ไม่สบาย |
๑๑๗.ห้ามฉันอาหารในโรงพักเดินทางเกิน ๓ มื้อ |
๓๕. ห้ามฉุดคร่านางภิกษุณีออกจากที่อยู่ |
๑๑๘.ห้ามฉันอาหารรวมกลุ่ม |
๓๖. ห้ามคลุกคลีกับคฤหบดีหรือบุตรคฤหบดี |
๑๑๙.ห้ามรับบิณฑบาตเกิน ๓ บาตร |
๓๗. ห้ามเดินทางเปลี่ยวตามลำพัง |
๑๒๐.ห้ามฉันอาหารในเวลาวิกาล |
๓๘. ห้ามเดินทางเช่นนั้นนอกแว่นแคว้น |
๑๒๑.ห้ามฉันอาหารที่เก็บไว้ค้างคืน |
๓๙. ห้ามเดินทางภายในพรรษา |
๑๒๒.ห้ามฉันอาหารที่มิได้รับประเคน |
๔๐. ห้ามอยู่ประจำที่เมื่อจำพรรษาแล้ว |
๑๒๓.ห้ามชวนภิกษุไปบิณฑบาตด้วยแล้วไล่กลับ |
๔๑. ห้ามไปดูพระราชวังและอาคารอันวิจิตร เป็นต้น |
๑๒๔.ห้ามเข้าไปแทรกแซงในสกุลที่มีคน ๒ คน |
๔๒. ห้ามใช้อาสันทิและบัลลังก์ |
๑๒๕.ห้ามนั่งในที่ลับมีที่กำบังกับมาตุคาม (ผู้หญิง) |
๔๓. ห้ามกรอด้าย |
๑๒๖.ห้ามนั่งในที่ลับ (หู) สองต่อสองกับมาตุคาม |
๔๔. ห้ามรับใช้คฤหัสถ์ |
๑๒๗.ห้ามรับนิมนต์แล้วไปที่อื่นไม่บอกลา |
๔๕. ห้ามรับปากแล้วไม่ระงับอธิกรณ์ |
๑๒๘.ห้ามขอของเกินกำหนดเวลาที่เขาอนุญาตไว้ |
๔๖. ห้ามให้ของกินแก่คฤหัสถ์ เป็นต้น ด้วยมือ |
๑๒๙.ห้ามไปดูกองทัพที่ยกไป |
๔๗. ห้ามใช้ผ้านุ่งสำหรับผู้มีประจำเดือนเกิน ๓ วัน |
๑๓๐.ห้ามพักอยู่ในกองทัพเกิน ๓ คืน |
๔๘. ห้ามครอบครองที่อยู่เป็นการประจำ |
๑๓๑.ห้ามดูเขารบกันเป็นต้น เมื่อไปในกองทัพ |
๔๙. ห้ามเรียนติรัจฉานวิชชา |
๑๓๒.ห้ามดื่มสุราเมรัย |
๕๐. ห้ามสอนติรัจฉานวิชชา |
๑๓๓.ห้ามจี้ภิกษุ |
๕๑. ห้ามเข้าไปในวัดที่มีภิกษุโดยไม่บอกล่วงหน้า |
๑๓๔.ห้ามว่ายน้ำเล่น |
๕๒. ห้ามด่าหรือบริภาษภิกษุ |
๑๓๕.ห้ามแสดงความไม่เอื้อเฟื้อในวินัย |
๕๓. ห้ามบริภาษภิกษุณีสงฆ์ |
๑๓๖.ห้ามหลอกภิกษุให้กลัว |
๕๔. ห้ามฉันอีกเมื่อรับนิมนต์หรือเลิกฉันแล้ว |
๑๓๗.ห้ามติดไฟเพื่อผิง |
๕๕. ห้ามพูดกีดกันภิกษุณีอื่น |
๑๓๘.ห้ามอาบน้ำบ่อยๆ เว้นแต่มีเหตุ |
๕๖. ห้ามจำพรรษาในอาวาสที่ไม่มีภิกษุ |
๑๓๙.ให้ทำเครื่องหมายเครื่องนุ่งห่ม |
๕๗. ห้ามการขาดปวารณาในสงฆ์สองฝ่าย |
๑๔๐.วิกัปจีวรไว้แล้ว (ทำให้เป็นสองเจ้าของ-ให้ยืมใช้) จะใช้ต้องถอนก่อน |
๕๘. ห้ามการขาดรับโอวาทและการขาดการอยู่ร่วม |
๑๔๑.ห้ามเล่นซ่อนบริขารของภิกษุอื่น |
๕๙. ห้ามการขาดถามอุโบสถและการไปรับโอวาท |
๑๔๒.ห้ามฆ่าสัตว์ |
๖๐. ห้ามให้บุรุษบีบฝี ผ่าฝี เป็นต้น |
๑๔๓.ห้ามใช้น้ำมีตัวสัตว์ |
๖๑. ห้ามให้บวชแก่หญิงมีครรภ์ |
๑๔๔.ห้ามรื้อฟื้นอธิกรณ์ (คดีความ-ข้อโต้เถียง) ที่ชำระเป็นธรรมแล้ว |
๖๒. ห้ามให้บวชแก่หญิงที่ยังมีเด็กดื่มนม |
๑๔๕.ห้ามชวนพ่อค้าผู้หนีภาษีเดินทางร่วมกัน |
๖๓. ห้ามให้บวชแก่นางสิกขมานาซึ่งศึกษายังไม่ครบ ๒ ปี |
๑๔๖.ห้ามกล่าวตู่พระธรรมวินัย (ภิกษุอื่นห้ามและสวดประกาศเกิน ๓ ครั้ง) |
๖๔. ห้ามให้บวชแก่นางสิกขมานาที่สงฆ์ยังมิได้สวดสมมติ |
๑๔๗.ห้ามคบภิกษุผู้กล่าวตู่พระธรรมวินัย |
๖๕. ห้ามให้บวชแก่หญิงที่มีสามีแล้ว แต่อายุยังไม่ถึง ๑๒ |
๑๔๘.ห้ามคบสามเณรผู้กล่าวตู่พระธรรมวินัย |
๖๖. ห้ามให้บวชแก่หญิงเช่นนั้นอายุครบ ๑๒ แล้ว (หมายความถึงตามข้อ 65) แต่ยังมิได้ศึกษา ๒ ปี |
๑๔๙.ห้ามพูดไถลเมื่อทำผิดแล้ว |
๖๗. ห้ามให้บวชแก่หญิงเช่นนั้นที่ศึกษา ๒ ปีแล้ว(หมายความถึงตามข้อ 65) แต่สงฆ์ยังมิได้สวดสมมติ |
๑๕๐.ห้ามกล่าวติเตียนสิกขาบท |
๖๘. ห้ามเพิกเฉยไม่อนุเคราะห์ศิษย์ที่บวชแล้ว |
๑๕๑.ห้ามพูดแก้ตัวว่า เพิ่งรู้ว่ามีในปาฏิโมกข์ |
๖๙. ห้ามนางภิกษุณีแยกจากอุปัชฌายะ คือไม่ติดตามครบ ๒ ปี |
๑๕๒.ห้ามทำร้ายร่างกายภิกษุ |
๗๐. ห้ามเพิกเฉยไม่พาศิษย์ไปที่อื่น |
๑๕๓.ห้ามเงื้อมือจะทำร้ายภิกษุ |
๗๑. ห้ามให้บวชแก่หญิงสาวที่อายุไม่ครบ ๒๐ ปี (หมายเหตุ : พึงสังเกตว่า หญิงที่มีสามีแล้ว อายุครบ ๑๒ จะบวชเป็นนางภิกษุณี ต้องเป็นนางสิกขมานาศึกษาอยู่อีก ๒ ปี จนอายุครบ ๑๔ ปีบริบูรณ์แล้ว จึงบวชเป็นนางภิกษุณีได้ แต่ถ้ายังมิได้สามี ต้องอายุครบ ๒๐ จึงบวชได้. แต่ก่อนจะบวชเป็นนางภิกษุณี จะต้องเป็นนางสิกขมานา ๒ ปี ทุกรายไป. ฉะนั้น หญิงที่ประสงค์จะบวชเป็นนางภิกษุณี เมื่ออายุครบ ๒๐ ปีบริบูรณ์ จะต้องบวชเป็นสามเณรี และเป็นนางสิกขมานาก่อนอายุครบ เพื่อไม่ต้องยึดเวลาเป็นนางสิกขมานาเมื่ออายุครบแล้ว) |
๑๕๔.ห้ามโจทภิกษุด้วยอาบัติสังฆาทิเสสที่ไม่มีมูล |
๗๒. ห้ามบวชหญิงที่อายุครบ แต่ยังมิได้ศึกษาครบ ๒ ปี |
๑๕๕.ห้ามก่อความรำคาญแก่ภิกษุอื่น |
๗๓. ห้ามบวชหญิงที่ศึกษาครบ ๒ ปีแล้ว แต่สงฆ์ยังมิได้สมมติ |
๑๕๖.ห้ามแอบฟังความของภิกษุผู้ทะเลาะกัน |
๗๔. ห้ามเป็นอุปัชฌาย์เมื่อพรรษาไม่ครบ ๑๒ |
๑๕๗.ให้ฉันทะแล้วห้ามพูดติเตียน |
๗๕. ห้ามเป็นอุปัชฌาย์โดยที่สงฆ์มิได้สมมติ |
๑๕๘.ขณะกำลังประชุมสงฆ์ ห้ามลุกไปโดยไม่ให้ฉันทะ |
๗๖. ห้ามรับรู้แล้วติเตียนในภายหลัง |
๑๕๙.ร่วมกับสงฆ์ให้จีวรแก่ภิกษุแล้ว ห้ามติเตียนภายหลัง |
๗๗. ห้ามรับปากว่าจะบวชให้ แล้วกลับไม่บวชให้ |
๑๖๐.ห้ามน้อมลาภสงฆ์มาเพื่อบุคคล |
๗๘. ห้ามรับปากแล้วไม่บวชให้ในกรณีอื่น |
๑๖๑.ห้ามเก็บของมีค่าที่ตกอยู่ |
๗๙. ห้ามบวชให้นางสิกขมานาที่ประพฤติไม่ดี |
๑๖๒.ห้ามทำกล่องเข็มด้วยกระดูก งา หรือเขาสัตว์ |
๘๐. ห้ามบวชให้นางสิกขมานา ที่มารดาบิดาหรือสามีไม่อนุญาต |
๑๖๓.ห้ามทำเตียง ตั่งมีเท้าสูงกว่าประมาณ |
๘๑. ห้ามทำกลับกลอกในการบวช |
๑๖๔.ห้ามทำเตียง ตั่งที่หุ้มด้วยนุ่น |
๘๒. ห้ามบวชให้คนทุกปี |
๑๖๕.ห้ามทำผ้าปิดฝีมีขนาดเกินประมาณ |
๘๓. ห้ามบวชให้ปีละ ๒ คน |
๑๖๖.ห้ามทำจีวรมีขนาดเกินประมาณ |
|
[กลับขึ้นด้านบน] |