หน้าหลัก พระสงฆ์ พระอสีติมหาสาวก พระกังขาเรวตเถระ
Search:

“ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการ ...
สัมมาทิฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ สัมมาญาณะ สัมมาวิมุตติ
..ย่อมเป็นผู้ควรของคำนับ เป็นผู้ควรของต้อนรับ ผู้ควรแก่ทักษิณา เป็นผู้ควรอัญชลีกรรม เป็นนาบุญของโลก

หนังสือ พระพุทธศาสนาจากพระโอษฐ์
รองศาสตราจารย์แสง จันทร์งาม

หน้าแรก : หมวดพระสงฆ์
ประวัติ พระกังขาเรวตเถระ
 
บุพกรรมในอดีต
ท่านพระกังขาเรวตเถระ เป็นคนมีศรัทธาในพระศาสนา เนื่องจากได้สั่งสมบารมีไว้แต่อดีตชาติ คือ ย้อนหลังไปตั้งแต่ เมื่อครั้งพระพุทธเจ้าพระนามว่า ปทุมุตตระ พระเถระไปวิหารกับมหาชน ยืนฟังธรรมอยู่ท้ายบริษัท เห็นพระศาสดา ทรงสถาปนาภิกษุรูปหนึ่ง ไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะ เป็นยอดของเหล่าภิกษุผู้ยินดีในฌาน จึงคิดว่าอยากเป็นอย่างนั้นในอนาคตบ้าง

จบเทศนาจึงนิมนต์พระศาสดา ถวายเครื่องสักการะใหญ่ ๗ วัน กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า พระเจ้าข้า ข้าพระองค์มิได้ปรารถนาสมบัติอื่น ด้วยกรรม คือการกระทำกุศลอันยิ่งนี้ แต่ว่าข้าพระองค์ พึงเป็นยอดของเหล่าภิกษุ ผู้ได้ฌานในศาสนา ของพระพุทธเจ้าพระองค์หนึ่ง ในอนาคต เหมือนอย่างภิกษุ ที่พระองค์ทรงสถาปนาไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะ เป็นยอดของเหล่าภิกษุผู้ได้ฌาน

พระศาสดาตรงตรวจดูอนาคต ทรงเห็นความสำเร็จจึงพยากรณ์ว่า ในอนาคต ในที่สุดแห่งแสนกัป พระพุทธเจ้าพระนามว่า โคตมะ จักอุบัติ ท่านจักเป็นยอดของเหล่าภิกษุผู้ได้ฌาน ในศาสนาของพระองค์ ดังนี้แล้วเสด็จกลับ

สมัยพุทธกาล
ในพุทธุปบาทกาลนี้ ท่านพระเรวตะ มาเกิดในตระกูลที่มีสมบัติมาก ในกรุงสาวัตถี ชื่อว่า เรวตะ

วันหนึ่ง ช่วงหลังจากรับประทานอาหารแล้ว ประชาชนชวนกันไปสู่วัดพระเชตวัน เพื่อจะฟังพระธรรมเทศนา เรวตะนั้น ก็ได้ไปกับประชาชนเหล่านั้นด้วย ครั้นถึงแล้ว ได้นั่งอยู่ท้ายสุดของพุทธบริษัท

ฟังอนุบุพพีกถา เกิดศรัทธาและขอบวช
เมื่อพระบรมศาสดาตรัสเทศนาอนุบุพพีกถา พรรณนาถึง 1.ทานกถา กล่าวถึงการให้ 2. สีลกถา กล่าวถึงความประพฤติที่ถูกต้องดีงาม 3. สัคคกถา กล่าวถึงสวรรค์ 4. กามาทีนวกถา กล่าวถึงโทษแห่งกาม 4. เนกขัมมานิสังสกถา กล่าวถึงอานิสงส์ของความออกจากกาม

เกิดศรัทธาอย่างแรงกล้า และขออุปสมบทในพระธรรมวินัย ครั้นได้อุปสมบทเป็นภิกษุดังความประสงค์แล้ว ท่านอุตส่าห์เรียนพระกรรมฐานในสำนักของพระศาสดา

ท่านไม่ประมาท อุตส่าห์บำเพ็ญเพียร ในกรรมฐานได้สำเร็จโลกิยฌาน กระทำฌานที่ตนได้แล้วนั้น ให้เป็นพื้นฐาน เจริญวิปัสสนากรรมฐานสืบไป จนได้สำเร็จพระอรหัตผล

มักมีความสงสัยในกัปปิยวัตถุ
ท่านพระเรวตะนั้น มักบังเกิดความสงสัยในกัปปิยวัตถุ คือ สิ่งของที่ถูกต้องตามพระพุทธบัญญัติ ว่าเป็นของควรแก่บรรพชิต พึงบริโภคใช้สอยหรือไม่ เมื่อท่านได้กัปปิยวัตถุอันใดมาแล้ว ก็ให้คิดสงสัยอยู่ตลอดเวลา ต่อเมื่อพิจารณาเห็นว่าเป็นกัปปิยวัตถุโดยถ่องแท้แล้ว จึงบริโภคใช้สอยกัปปิยวัตถุนั้น ด้วยเหตุนี้คำว่า “กังขา” ซึ่งแปลว่า “ความสงสัย” จึงได้นำหน้าชื่อของท่านเป็น “กังขาเรวตะ

เอตทัคคะในทางผู้เพ่งด้วยฌาณ
พระกังขาเรวตะนี้ เป็นผู้ชำนาญในฌานสมาบัติอันเป็นโลกิยะและโลกุตตระ เข้าสู่ฌานสมาบัติอันเป็นพุทธวิสัยได้เกือบทั้งหมด ทั้งกลางวันทั้งกลางคืน ฌานสมาบัติอันเป็นพุทธวิสัยที่ท่านละเว้น ไม่ได้เข้ามีน้อยมาก

ด้วยเหตุนี้พระบรมศาสดาจึงทรงยกย่องสรรเสริญท่านว่า เป็นผู้เลิศกว่าภิกษุทั้งหลายผู้ได้ฌาน (ฌายีนํ).

อ่านข้อมูลเพิ่มเติม
พระกังขาเรวตเถระ เอตทัคคะในทางผู้เพ่งด้วยฌาณ


ย้อนกลับ เนื้อหา : จาก อสีติมหาสาวก : พลเรือตรี รองศาสตราจารย์ ทองใบ ธีรานันทางกูร
(http://gold58-disciplesofthebuddha.blogspot.com)

ฟังธรรมะบรรยาย
(มากกว่า ๔,๐๐๐ ไฟล์)

อ่านพระไตรปิฎก
(คัมภีร์สำคัญทางพุทธศาสนา)
อ่านหนังสือธรรมะออนไลน์
(โดยพระเกจิอาจารย์ชื่อดัง)
วิธีปฏิบัติธรรม
(ธรรมะภาคปฏิบัติ)
 

จุดมุ่งหมายสูงสุดของพระพุทธศาสนา
     จุดหมายสูงสุด ของพระพุทธศาสนา พึงบรรลุได้ด้วยความสุขหรือด้วยข้อปฏิบัติที่มีความสุข มิใช่บรรลุด้วยความทุกข์ หรือด้วยข้อปฏิบัติที่เป็นทุกข์
      ผู้ปฏิบัติจะต้องไม่ติดใจหลงไหลในความสุขที่เกิดขึ้นแก่ตน ไม่ปล่อยให้ความสุขที่เกิดขึ้นนั้น ครอบงำ
        จิตใจของตน ยังมีจิตใจเป็นอิสระ สามารถก้าวหน้าไปในธรรมเบื้องสูง ต่อๆ ไป จนบรรลุความเป็นอิสระ
        หลุดพ้นโดยบริบูรณ์
      ซึ่งเมื่อบรรลุจุดหมายนั้นแล้ว ก็สามารถเสวยความสุขที่เคยเสวยมาแล้ว โดยที่ความสุขนั้น ไม่มีโอกาส
        ครอบงำจิตใจ ทำให้ติดพันหลงไหลได้เลย
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต)

หลักแห่งพระพุทธศาสนาโดยสรุป
     พุทธศาสนาคือวิชาและระเบียบปฏิบัติ เพื่อให้รู้สิ่งทั้งปวงถูกต้องตามที่เป็นจริงว่าอะไรเป็นอะไร สิ่งทั้งปวง มีสภาพตามที่เป็นจริง คือ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่ใช่ตัวหรือของตัว ; แต่สัตว์ทั้งหลายยังหลงรัก หลงยึดติดสิ่งทั้งปวง เพราะอำนาจของการยึดมั่นที่ผิด ในพุทธศาสนามีวิธี ปฏิบัติเรียกว่า ศีล สมาธิ ปัญญา เพื่อใช้เป็นเครื่องมือ ตัดการติดการยึดมั่นนั้นเสีย อุปาทาน การยึดมั่นนั้นมีสิ่งที่ลงเกาะหรือจับยึด คือ ขันธ์ทั้งห้า คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
      เมื่อรู้จักขันธ์ทั้งห้า ตามที่เป็นจริง ก็จะสามารถเข้าใจสิ่งทั้งปวงจนถึงกับเบื่อหน่ายคลายความอยาก ไม่ยึดอะไร ติดอะไร และเราควรจะมีชีวิตอยู่อย่างที่เรียกว่า "เป็นอยู่ชอบ" คือให้ วันคืนเต็มไปด้วยความปีติ ปราโมทย์ อันเกิดมาจากการกระทำที่ดีที่งามที่ถูกต้องอยู่เป็นประจำ แล้วระงับความฟุ้งซ่าน เกิดสมาธิ เกิดความเห็นแจ้งได้เรื่อยๆ ไป จนกระทั่งเกิดความเบื่อหน่าย ความคลายออก ความหลุดพ้น และนิพพานได้ตามความเหมาะสมของสิ่งแวดล้อม
      ถ้าเราจะรีบเร่งทำให้ได้ผลเร็วขึ้น ก็มีแนวปฏิบัติที่เรียกว่า วิปัสสนาธุระ เริ่มตั้งแต่มี ความประพฤติบริสุทธิ์ มีใจบริสุทธิ์ มีความเห็นบริสุทธิ์ เรื่อยขึ้นไปจนถึงมีปัญญา คือความเห็นแจ้งบริสุทธิ์ ในที่สุดก็จะตัดกิเลสที่ผูกมัดคนให้ติดอยู่กับวิสัยโลกออกเสียได้ เรียกว่า การบรรลุมรรคผล
ท่านพุทธทาสภิกขุ : คู่มือมนุษย์



สงวนลิขสิทธิ์โดย ธรรมะพีเดีย.คอม
เว็บไซต์นี้จัดทำขึ้นเพื่อเผยแผ่พุทธศาสนา โดยไม่มุ่งหวังผลทางพาณิชย์
อนุญาตให้นำไปเผยแผ่เพื่อสืบต่อพุทธศาสนาได้ตามกุศลเจตนา

www.thammapedia.com
( ศูนย์เผยแผ่พระพุทธธรรม )
Copyright © 2008 ALL RIGHTS RESERVED
 
 
หน้าหลัก