หน้าหลัก พระสงฆ์ ตำแหน่งเอตทัคคะ สูรอัมพัฏฐอุบาสก
Search:

“ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการ ...
สัมมาทิฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ สัมมาญาณะ สัมมาวิมุตติ
..ย่อมเป็นผู้ควรของคำนับ เป็นผู้ควรของต้อนรับ ผู้ควรแก่ทักษิณา เป็นผู้ควรอัญชลีกรรม เป็นนาบุญของโลก

หนังสือ พระพุทธศาสนาจากพระโอษฐ์
รองศาสตราจารย์แสง จันทร์งาม

หน้าแรก : หมวดพระสงฆ์
๘. สูรอัมพัฏฐอุบาสก เอตทัคคะในฝ่ายผู้มีศรัทธาไม่หวั่นไหว

สูรอัมพัฏฐะ เกิดในตระกูลเศรษฐี บิดามารดามีศรัทธาเลื่อมใส นักบวชอัญเดียรถีย์ ตนเองเมื่อเจริญวัยขึ้นมาอยู่ในฆราวาสวิสัย ก็มีใจศรัทธาเลื่อมใสให้การบำรุงอุปัฏฐาก อัญเดียรถีย์ ตามบิดามารดาด้วยเช่นกัน

ความคิดมีเหตุผล
ในเวลาใกล้รุ่งสว่างของราตรีหนึ่ง พระบรมศาสดา ทรงตรวจดูอุปนิสัยของสัตว์โลก ได้ ทอดพระเนตรเห็น เหตุแห่งอุปนิสัยโสดาปัตติมรรค ของสูรอัมพัฏฐะ ครั้นรุ่งสางแล้ว จึงทรงถือ บาตรเสด็จไปประทับยืนที่ประตูบ้านของเขา

เมื่อเขาแลเห็นพระผู้มีพระภาค แล้วคิดว่า “การที่พระสมณโคดม ผู้เสด็จอุบัติในตระกูล กษัตริย์ ผู้ยิ่งใหญ่ แล้วเสด็จออกบรรพชา โดยมิได้มีความห่วงอาลัย ในราชสมบัติ ทรงบำเพ็ญ เพียรจนได้ตรัสรู้เป็นพระสัพพัญญูเจ้า เที่ยวสั่งสอนมหาชน ให้บรรลุมรรคผลตามอำนาจ วาสนาบารมี เป็นที่รู้จักเคารพนับถือ ของชาวโลกทั้งหลาย พระองค์เสด็จมาถึงประตูเรือนของ เราแล้ว ถ้าเรานิ่งเฉยอยู่ ก็จะเป็นการไม่สมควรเป็นอย่างยิ่ง”

เมื่อคิดดังนี้แล้ว ก็รีบลุกขึ้นไป เข้าไปกราบแทบพระยุคลบาท รับบาตรจากพระหัตถ์ แล้ว กราบทูลอาราธนาให้เสด็จเข้าไปประทับภายในเรือน แล้วถวายภัตตาหารอันประณีต แด่พระพุทธองค์

ครั้นเสด็จภัตกิจแล้ว พระบรมศาสดา ทรงแสดงพระธรรมเทศนาตามอนุรูป แก่ อุปนิสัยจริยาของเขา เมื่อจบพระธรรมเทศนาแล้ว เขาก็ได้บรรลุโสดาปัตตผล ดำรงอยู่ใน อริยภูมิในพระพุทธศาสนา ส่วนพระบรมศาสดา ก็เสด็จกลับพระเชตวันมหาวิหาร

มารแปลงร่างเป็นพุทธเจ้า
ขณะนั้น มารตนหนึ่งคิดว่า “สูรอัมพัฏฐะนี้ เป็นสมบัติของเรา แต่วันนี้พระสมณโคดม เสด็จมา ทำให้เขาดำรงอยู่ในอริยภูมิเสียแล้ว สมควรที่เราจะรู้ว่า เขาพ้นจากวิสัยของเราแล้วหรือ ยัง” จึงเนรมิตรูปร่าง ให้ละม้ายคล้ายกับพระทศพล พร้อมทั้งทรงบาตร และจีวร มีสีสันฐานดุจ เดียวกัน แสดงท่าเสด็จพระราชดำเนิน ด้วยอากัปกิริยาของพระพุทธองค์ ทรงด้วยพระลักษณะ ๓๒ ประการ มาประทับยืนที่ประตูบ้านของสูรอัมพัฏฐะ

ฝ่ายสูรอัมพัฏฐะ ได้ทราบว่าพระผู้มีพระภาคเสด็จมาอีก ก็คิดว่า “ธรรมดาการเสด็จไป ในที่ไหน ๆ แบบไม่แน่นอน ของพระพุทธเจ้าทั้งหลายนั้น ไม่มีเลย เหตุไฉนหนอ พระพุทธองค์ เพิ่งจะเสด็จกลับไปได้ไม่นาน จึงเสด็จกลับมาประทับยืนดังเดิมอีก” เมื่อคิดดังนี้แล้ว ก็รีบออก ไปถวายการต้อนรับ กราบถวายบังคมแล้วยืน ณ ที่อันสมควรแก่ตน พลางกราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระองค์ทรงกระทำภัตกิจในเรื่องของข้าพระองค์แล้ว เพราะ เหตุไรพระองค์จึงเสด็จมาอีกพระเจ้าข้า ?”

มารในรูปของพระพุทธองค์ กล่าวว่า
“ดูก่อนสุรอัมพัฏฐะ เรากล่าวธรรมแก่ท่าน ไม่ทันได้พิจารณา โดยได้กล่าวไปว่า ปัญจขันธ์ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา หมายถึงทุกอย่างนั้น แต่ความเป็นจริง ไม่ได้เป็น อย่างนั้นทั้งหมด เพราะว่า ขันธ์บางอย่างบางพวก ที่เป็นของเที่ยง มั่นคง ยั่งยืน ก็มีอยู่”

มารร้ายพ่ายพระ
สูรอัมพัฏฐะ ได้ฟังดังนั้นแล้ว คิดว่า “เรื่องนี้ เป็นเรื่องหนักอย่างยิ่ง ด้วยว่าพระพุทธเจ้า ทั้งหลาย ย่อมไม่ตรัสคำที่เป็นสอง” จึงคิดต่อไปอีกว่า “ขึ้นชื่อว่ามารทั้งหลาย ย่อมเป็นข้าศึกต่อ พระพุทธองค์ ท่านผู้นี้ คงจะต้องเป็นมารแน่” จึงกล่าวถามไปตรง ๆ ว่า “ท่านเป็นมารหรือ ?”

ด้วยถ้อยคำ ของพระอริยสาวกกล่าวเพียงเท่านั้น ประหนึ่งว่าเอาขวานฟันลงบนศีรษะ มารนั้น จนไม่สามารถจะดำรงภาวะของตนได้ จึงกล่าวรับว่า “ใช่แล้ว เราเป็นมาร” สูรอัมพัฏฐะ จึงชี้หน้าว่ากล่าวสำทับไปว่า “แม้มารตั้งร้อยตั้งพัน ก็ไม่สามารถทำ ศรัทธาของเราให้หวั่นไหวได้ พระพุทธองค์ เมื่อทรงแสดงธรรมแก่เรา ก็ทรงแสดงปลุกเราให้ ตื่นจากอวิชชาว่า สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และเป็นอนัตตา ดังนั้น ท่านจงอย่ามายืน ใกล้ประตูเรือนของเรา จงออกไปในบัดนี้”

มารได้ฟังคำของอุบาสกแล้ว ไม่สามารถดำรงอยู่ได้ รีบถอยกรูด ๆ ออกไปโดยไม่พูด จา อันตรธานหายไปจากที่นั้นในทันที

เย็นวันนั้น สูรอัมพัฏฐอุบาสก ได้ไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค กราบทูลเนื้อความให้ทราบ โดยตลอดแล้ว พระพุทธองค์ทรงปรารภเหตุนั้น และได้ประกาศยกย่อง สถาปนาสูรอัมพัฏฐ อุบาสก ไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะเป็นผู้เลิศกว่าอุบาสิกาทั้งหลาย ในฝ่ายผู้ให้ของเจริญจิต คือ ผู้ มีศรัทธาไม่หวั่นไหว

อ่านข้อมูลเพิ่มเติม :
- +++ 


ย้อนกลับ ที่มา : พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ โดย พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต)
และ http://www.84000.org

ฟังธรรมะบรรยาย
(มากกว่า ๔,๐๐๐ ไฟล์)

อ่านพระไตรปิฎก
(คัมภีร์สำคัญทางพุทธศาสนา)
อ่านหนังสือธรรมะออนไลน์
(โดยพระเกจิอาจารย์ชื่อดัง)
วิธีปฏิบัติธรรม
(ธรรมะภาคปฏิบัติ)
 

จุดมุ่งหมายสูงสุดของพระพุทธศาสนา
     จุดหมายสูงสุด ของพระพุทธศาสนา พึงบรรลุได้ด้วยความสุขหรือด้วยข้อปฏิบัติที่มีความสุข มิใช่บรรลุด้วยความทุกข์ หรือด้วยข้อปฏิบัติที่เป็นทุกข์
      ผู้ปฏิบัติจะต้องไม่ติดใจหลงไหลในความสุขที่เกิดขึ้นแก่ตน ไม่ปล่อยให้ความสุขที่เกิดขึ้นนั้น ครอบงำ
        จิตใจของตน ยังมีจิตใจเป็นอิสระ สามารถก้าวหน้าไปในธรรมเบื้องสูง ต่อๆ ไป จนบรรลุความเป็นอิสระ
        หลุดพ้นโดยบริบูรณ์
      ซึ่งเมื่อบรรลุจุดหมายนั้นแล้ว ก็สามารถเสวยความสุขที่เคยเสวยมาแล้ว โดยที่ความสุขนั้น ไม่มีโอกาส
        ครอบงำจิตใจ ทำให้ติดพันหลงไหลได้เลย
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต)

หลักแห่งพระพุทธศาสนาโดยสรุป
     พุทธศาสนาคือวิชาและระเบียบปฏิบัติ เพื่อให้รู้สิ่งทั้งปวงถูกต้องตามที่เป็นจริงว่าอะไรเป็นอะไร สิ่งทั้งปวง มีสภาพตามที่เป็นจริง คือ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่ใช่ตัวหรือของตัว ; แต่สัตว์ทั้งหลายยังหลงรัก หลงยึดติดสิ่งทั้งปวง เพราะอำนาจของการยึดมั่นที่ผิด ในพุทธศาสนามีวิธี ปฏิบัติเรียกว่า ศีล สมาธิ ปัญญา เพื่อใช้เป็นเครื่องมือ ตัดการติดการยึดมั่นนั้นเสีย อุปาทาน การยึดมั่นนั้นมีสิ่งที่ลงเกาะหรือจับยึด คือ ขันธ์ทั้งห้า คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
      เมื่อรู้จักขันธ์ทั้งห้า ตามที่เป็นจริง ก็จะสามารถเข้าใจสิ่งทั้งปวงจนถึงกับเบื่อหน่ายคลายความอยาก ไม่ยึดอะไร ติดอะไร และเราควรจะมีชีวิตอยู่อย่างที่เรียกว่า "เป็นอยู่ชอบ" คือให้ วันคืนเต็มไปด้วยความปีติ ปราโมทย์ อันเกิดมาจากการกระทำที่ดีที่งามที่ถูกต้องอยู่เป็นประจำ แล้วระงับความฟุ้งซ่าน เกิดสมาธิ เกิดความเห็นแจ้งได้เรื่อยๆ ไป จนกระทั่งเกิดความเบื่อหน่าย ความคลายออก ความหลุดพ้น และนิพพานได้ตามความเหมาะสมของสิ่งแวดล้อม
      ถ้าเราจะรีบเร่งทำให้ได้ผลเร็วขึ้น ก็มีแนวปฏิบัติที่เรียกว่า วิปัสสนาธุระ เริ่มตั้งแต่มี ความประพฤติบริสุทธิ์ มีใจบริสุทธิ์ มีความเห็นบริสุทธิ์ เรื่อยขึ้นไปจนถึงมีปัญญา คือความเห็นแจ้งบริสุทธิ์ ในที่สุดก็จะตัดกิเลสที่ผูกมัดคนให้ติดอยู่กับวิสัยโลกออกเสียได้ เรียกว่า การบรรลุมรรคผล
ท่านพุทธทาสภิกขุ : คู่มือมนุษย์



สงวนลิขสิทธิ์โดย ธรรมะพีเดีย.คอม
เว็บไซต์นี้จัดทำขึ้นเพื่อเผยแผ่พุทธศาสนา โดยไม่มุ่งหวังผลทางพาณิชย์
อนุญาตให้นำไปเผยแผ่เพื่อสืบต่อพุทธศาสนาได้ตามกุศลเจตนา

www.thammapedia.com
( ศูนย์เผยแผ่พระพุทธธรรม )
Copyright © 2008 ALL RIGHTS RESERVED
 
 
หน้าหลัก