หน้าหลัก พระพุทธศาสนา
Search:

วิมุติ คือ ความหลุดพ้นจากอาสวะกิเลส ทั้งปวง เป็นแก่นของพระพุทธศาสนา วิธีปฏิบัติธรรมเพื่อให้บรรลุถึงวิมุติ เป็นดังนี้
...โพชฌงค์ ๗ ประการ ..ทำให้มากแล้ว ย่อมยัง วิชชาและวิมุติให้บริบูรณ์
...สติปัฎฐาน ๔ ..ทำให้มากแล้ว ย่อมยังโพชฌงค์ ๗ ให้บริบูรณ์
...สุจริต ๓ ประการ ..ทำให้มากแล้ว ย่อมยังสติปัฎฐาน ๔ ให้บริบูรณ์
...อินทรีย์สังวร ...ทำให้มากแล้ว ย่ิอมยังสุจริต ๓ ให้บริบูรณ์”

หนังสือ พระพุทธศาสนาจากพระโอษฐ์
รองศาสตราจารย์แสง จันทร์งาม
สัจธรรม :
“สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้น สิ่งนั้นย่อมมีการดับไปเป็นธรรมดา สิ่งทั้งหลายทั้งปวง เกิดขึ้นเพราะมีเหตุ สิ่งนั้นย่อมดับได้ สิ่งทั้งหลายเกิดขึ้นในเบื้องต้น ตั้งอยู่ในท่ามกลาง และดับไปในที่สุด”
พุทธโอวาทก่อนปรินิพพาน
อาจารย์วศิน อินทสระ
หน้าแรก : หมวดพระพุทธศาสนา

      ลักษณะแห่งพุทธศาสนา โดย พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต)
      ขั้นตอนการศึกษาพระพุทธศาสนาโดยละเอียด (ก ข ก กา ของการศึกษาพุทธศาสนา)
         โดย พระพุทธโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ)
      คู่มือการศึกษาพุทธศาสนา โดย พระพุทธโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ)
      ประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา ภาค ๑ (จาก.. โปรแกรมเรียนพระไตรปิฎก)
      ประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา ภาค ๒ (จาก.. โปรแกรมเรียนพระไตรปิฎก)
      ประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา ภาค ๓ (จาก.. โปรแกรมเรียนพระไตรปิฎก)


   โดย พระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ)
ธรรมะบรรยาย : เรียงตามชื่อเรื่อง (ก-ฮ) คลิกฟัง
เค้าโครงของพุทธศาสนา คลิกฟัง
พุทธศาสนาทั้งกลม (ทั้งหมดครบถ้วน) คลิกฟัง
ก ข ก กา สำหรับพุทธศาสนา ตอนที่ ๑ คลิกฟัง
ก ข ก กา สำหรับพุทธศาสนา ตอนที่ ๒ คลิกฟัง
มารู้จักพระพุทธศาสนากันให้ยิ่งกว่าที่แล้วมา ข้อที่ ๑-๒๐ คลิกฟัง
มารู้จักพระพุทธศาสนากันให้ยิ่งกว่าที่แล้วมา ข้อที่ ๒๑-๔๐ คลิกฟัง
มารู้จักพระพุทธศาสนากันให้ยิ่งกว่าที่แล้วมา ข้อที่ ๔๑-๖๐ คลิกฟัง
มารู้จักพระพุทธศาสนากันให้ยิ่งกว่าที่แล้วมา ข้อที่ ๖๑-๘๐ คลิกฟัง
การทำความเข้าใจในพุทธศาสนาให้แจ่มแจ้ง คลิกฟัง
คู่มือมนุษย์ ตอนที่ ๑ : ท่านชอบพุทธศาสนาในเหลี่ยมไหน คลิกฟัง
คู่มือมนุษย์ ตอนที่ ๒ : พุทธศาสนามุ่งชี้อะไรเป็นอะไร คลิกฟัง
คู่มือมนุษย์ ตอนที่ ๓ : ไตรลักษณ คลิกฟัง
คู่มือมนุษย์ ตอนที่ ๔ : อุปาทาน-อำนาจของความยึดติด คลิกฟัง
คู่มือมนุษย์ ตอนที่ ๕ : ไตรสิกขา-ขั้นตอนการปฎิบัติศาสนา คลิกฟัง
คู่มือมนุษย์ ตอนที่ ๖ : เบญจขันธ์-คนเรายึดติดอะไร คลิกฟัง
คู่มือมนุษย์ ตอนที่ ๗ : การทำให้รู้แจ้งตามธรรมชาต คลิกฟัง
คู่มือมนุษย์ ตอนที่ ๘ : การทำให้รู้แจ้งตามหลักวิชา คลิกฟัง
คู่มือมนุษย์ ตอนที่ ๙ : ลำดับแห่งการหลุดพ้น คลิกฟัง

ฟังธรรมะบรรยาย
(มากกว่า ๔,๐๐๐ ไฟล์)

อ่านพระไตรปิฎก
(คัมภีร์สำคัญทางพุทธศาสนา)
อ่านหนังสือธรรมะออนไลน์
(โดยพระเกจิอาจารย์ชื่อดัง)
วิธีปฏิบัติธรรม
(ธรรมะภาคปฏิบัติ)
 

จุดมุ่งหมายสูงสุดของพระพุทธศาสนา
     จุดหมายสูงสุด ของพระพุทธศาสนา พึงบรรลุได้ด้วยความสุขหรือด้วยข้อปฏิบัติที่มีความสุข มิใช่บรรลุด้วยความทุกข์ หรือด้วยข้อปฏิบัติที่เป็นทุกข์
      ผู้ปฏิบัติจะต้องไม่ติดใจหลงไหลในความสุขที่เกิดขึ้นแก่ตน ไม่ปล่อยให้ความสุขที่เกิดขึ้นนั้น ครอบงำ
        จิตใจของตน ยังมีจิตใจเป็นอิสระ สามารถก้าวหน้าไปในธรรมเบื้องสูง ต่อๆ ไป จนบรรลุความเป็นอิสระ
        หลุดพ้นโดยบริบูรณ์
      ซึ่งเมื่อบรรลุจุดหมายนั้นแล้ว ก็สามารถเสวยความสุขที่เคยเสวยมาแล้ว โดยที่ความสุขนั้น ไม่มีโอกาส
        ครอบงำจิตใจ ทำให้ติดพันหลงไหลได้เลย
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต)

หลักแห่งพระพุทธศาสนาโดยสรุป
     พุทธศาสนาคือวิชาและระเบียบปฏิบัติ เพื่อให้รู้สิ่งทั้งปวงถูกต้องตามที่เป็นจริงว่าอะไรเป็นอะไร สิ่งทั้งปวง มีสภาพตามที่เป็นจริง คือ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่ใช่ตัวหรือของตัว ; แต่สัตว์ทั้งหลายยังหลงรัก หลงยึดติดสิ่งทั้งปวง เพราะอำนาจของการยึดมั่นที่ผิด ในพุทธศาสนามีวิธี ปฏิบัติเรียกว่า ศีล สมาธิ ปัญญา เพื่อใช้เป็นเครื่องมือ ตัดการติดการยึดมั่นนั้นเสีย อุปาทาน การยึดมั่นนั้นมีสิ่งที่ลงเกาะหรือจับยึด คือ ขันธ์ทั้งห้า คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
      เมื่อรู้จักขันธ์ทั้งห้า ตามที่เป็นจริง ก็จะสามารถเข้าใจสิ่งทั้งปวงจนถึงกับเบื่อหน่ายคลายความอยาก ไม่ยึดอะไร ติดอะไร และเราควรจะมีชีวิตอยู่อย่างที่เรียกว่า "เป็นอยู่ชอบ" คือให้ วันคืนเต็มไปด้วยความปีติ ปราโมทย์ อันเกิดมาจากการกระทำที่ดีที่งามที่ถูกต้องอยู่เป็นประจำ แล้วระงับความฟุ้งซ่าน เกิดสมาธิ เกิดความเห็นแจ้งได้เรื่อยๆ ไป จนกระทั่งเกิดความเบื่อหน่าย ความคลายออก ความหลุดพ้น และนิพพานได้ตามความเหมาะสมของสิ่งแวดล้อม
      ถ้าเราจะรีบเร่งทำให้ได้ผลเร็วขึ้น ก็มีแนวปฏิบัติที่เรียกว่า วิปัสสนาธุระ เริ่มตั้งแต่มี ความประพฤติบริสุทธิ์ มีใจบริสุทธิ์ มีความเห็นบริสุทธิ์ เรื่อยขึ้นไปจนถึงมีปัญญา คือความเห็นแจ้งบริสุทธิ์ ในที่สุดก็จะตัดกิเลสที่ผูกมัดคนให้ติดอยู่กับวิสัยโลกออกเสียได้ เรียกว่า การบรรลุมรรคผล
ท่านพุทธทาสภิกขุ : คู่มือมนุษย์



สงวนลิขสิทธิ์โดย ธรรมะพีเดีย.คอม
เว็บไซต์นี้จัดทำขึ้นเพื่อเผยแผ่พุทธศาสนา โดยไม่มุ่งหวังผลทางพาณิชย์
อนุญาตให้นำไปเผยแผ่เพื่อสืบต่อพุทธศาสนาได้ตามกุศลเจตนา

www.thammapedia.com
( ศูนย์เผยแผ่พระพุทธธรรม )
Copyright © 2008 ALL RIGHTS RESERVED
 
 
หน้าหลัก