หน้าหลัก ศาสนพิธี พิธีกรรมทางศาสนา ปกิณณกพิธี
Search:

"พิธีกรรมทางศาสนานั้น เปรียบเสมือนเปลือกของต้นไม้ ต้นไม้ที่ปราศจากเปลือกห่อหุ้ม ย่ิอมไม่สามารถยืนต้นอยู่ได้"


หน้าแรก : หมวดศาสนพิธี
พิธีกรรมทางศาสนา
พิธีกรรมทางพุทธศาสนาแยกไว้เป็น ๔ หมวด คือ
๑. หมวดกุศลพิธี : ว่าด้วยพิธีบำเพ็ญกุศล ๓. หมวดทานพิธี : ว่าด้วยพิธีถวายทาน
๒. หมวดบุญพิธี : ว่าด้วยพิธีทำบุญ ๔. หมวดปกิณณกะ : ว่าด้วยพิธีเบ็ดเตล็ด

หมวดนี้ว่าด้วยเรื่องเบ็ดเตล็ด เกี่ยวกับวิธีปฏิบัติบางประการ ในการประกอบพิธีต่าง ๆ ในหมวดต้น ๆ เพื่อเติมอีก ๕ เรื่อง คือ :-
     ๑. วิธีแสดงความเคารพพระ
     ๒. วิธีประเคนของพระ
     ๓. วิธีทำหนังสืออาราธนา และทำใบปวารณาถวายจตุปัจจัย
     ๔. วิธีอาราธนาศีล - อาราธนาพระปริตร
     ๕. วิธีกรวดน้ำ

วิธีแสดงความเคารพพระ
พระที่เคารพในศาสนพิธีนี้ มี ๒ อย่าง คือ :-
      ๑. พระพุทธรูป หมายถึงปูชนียวัตถุที่เป็นเครื่องระลึกถึงพระพุทธเจ้าทุกอย่าง เช่นพระเจดีย์.
      ๒. พระภิกษุ หมายถึงพระภิกษุ และสามเณร ในพระพุทธศาสนา ซึ่งทรงเพศสูงกว่าตน.

การแสดงความเคารพพระดังกล่าวนี้ มี ๓ วิธี คือ :-
      ๑. ประนมมือ ในบาลีเรียกว่า "ทำอัญชลี" คือประกบฝ่ามือ ให้นิ้วแนบชิดติดตรงกัน ประคองไว้ตรงระหว่างอก ปลายนิ้วเชิดขึ้นศอกแนบชิดชายโครง. ในเวลาสวดมนต์ ฟังสวด ฟังเทศน์ รับศีล และเวลาพูดกับพระผู้ใหญ่ เป็นต้น.

      ๒. ไหว้ ในบาลีเรียกว่า "นมัสการ" คือยกมือประนม ก้มศีรษะลงเล็กน้อย หัวแม่มือจดระหว่างคิ้ว นิ้วชี้จดส่วนบนหน้าผาก. ในเวลาพระนั่งเก้าอี้ หรือยืน เดินอยู่ในที่อันไม่ควรกราบ.

      ๓. กราบ ในบาลีเรียกว่า "อภิวาท" คือกราบลงด้วยองค์ ๕ เรียกว่า "เบญจางคประดิษฐ์" องค์ ๕ คือ หน้าผาก ๑ ฝ่ามือตลอดถึงข้อศอก ๒ เข่า ๒ จดพื้น.
      การกราบ : ผู้ชายนั่ง "ท่าพรหม" คือคุกเข้า ฝ่าเท้ายันพื้นกับกัน,
                     : ผู้หญิงนั่ง "ท่านเทพธิดา" คือคุกเข่า ฝ่าเท้าเหยียดออกไปรองกัน.
                     กราบในเวลาทำวัตร และเวลาแสดงคารวะอย่างสูง.

[กลับขึ้นบน]
วิธีประเคนของพระ
      การประเคนของพระ คือการถวายของให้ถึงมือพระ.
      ถ้าผู้หญิงประเคน ต้องวางบนผ้าหรือภาชนะ เช่นบาตร เป็นต้น ที่พระถืออยู่.

      ของที่ประเคน ต้องไม่เป็น วัตถุอนามาส หรือของที่พระไม่ควรจับ เช่น เงิน ทองคำ และไม่เป็นของที่หนักถึงกับต้องหาม. แม้อาหารทุกชนิด ถ้าเลยเที่ยงแล้ว ก็ไม่ต้องประเคน.

      ผู้ประเคน พึงเข้าใกล้พระประมาณ ๑ ศอก ไม่เกินศอกคืบ จะนั่งหรือยืน แล้วแต่สถานที่. จับของสองมือ (บางอย่างต้องจับมือเดียว เช่น ช้อนตักของใส่บาตร) ยกขึ้น น้อมถวาย เสร็จแล้วไหว้หรือกราบแล้วแต่กรณี.

      มารยาทของผู้ประเคน ต้องแสดงออกด้วยความเคารพ ไม่ใช่เสือกไสให้ ทิ้งให้ โดยไม่เคารพ. ไม่ควรสูบบุรี่ ปากคาบ หรือนิ้วหนีบบุหรี่ขณะประเคน. คนที่มืนเมา ก็ไม่ควรเข้าประเคน.

[กลับขึ้นบน]
วิธีทำหนังสืออาราธนา และทำใบปวารณาถวายจตุปัจจัย
      การนิมนต์ หรืออาราธนา (ก็คือการเชิญ) พระ ไปประกอบพิธี ต้องระบุจำนวนพระ ระบุงาน ระบุสถานที่ ระบุวัน เดือน พ.ศ.เวลา ระบุการไป - กลับ. ตัวอย่างดังต่อไปนี้

      ขออาราธนาพระคุณเจ้า (พร้อมด้วยสงฆ์รวมทั้งหมด. . .รูป)
      เจริญพระพุทธมนต์ในงานทำบุญวันเกิดของ . . . .
      ที่บ้านเลขที่ . . . .หมู่ที่. . .. .ตำบล. .. . .อำเภอ. . . . ณ วันที่ . . . . เดือน. . .. . พ. ศ. . . . . เวลา . . . .

      มีผู้รับ - ส่ง. (ถ้าไม่มี ก็บอกว่า "ไม่มีผู้รับ - ส่ง ")
      ถ้ามีการเลี้ยงเช้า หรือเพลด้วย หรือต้องการบาตร - ปิ่นโตด้วย ก็บอกไว้ในหนังสืออาราธนา.

      (ใบปวารณาถวายจตุปัจจัย)
      ขอถวายจตุปัจจัยอันควรแก่สมณบริโภค แด่พระคุณเจ้า เป็นมูลค่า. . . . . บาท . . . . . สตางค์ หากพระคุณเจ้าประสงค์สิ่งใด อันควรแก่สมณบริโภคแล้ว ขอได้โปรดเรียกร้องจากกัปปิยการกผู้ปฏิบัติของพระคุณเจ้า เทอญ.

ใบปวารณานี้ถวายรวมกับไทยธรรมในงานมงคล.
ถ้างานอวมงคล มีผ้าทอดบังสุกุล ก็กลัดติดกับผ้าที่ทอด.
ส่วนเงินค่าจตุปัจจัยมอบให้ไปกับศิษย์พระ. อย่ารวมในซองปวารณา.

[กลับขึ้นบน]
วิธีอาราธนาศีล - อาราธนาพระปริตร
      การอาราธนาศีล นิยมในพิธี ต่อไปนี้
          ๑. ในพิธีถวายทาน
          ๒. ในพิธีสวดมนต์
          ๓. ในพิธีเลี้ยงพระ
          ๔. ในพิธีเทศน์ (ถ้าเทศน์ต่อจากสวดมนต์ ตอนสวดมนต์ไม่ต้องอาราธนาศีล)
          ๕. ในพิธีแสดงพุทธมามกะ.

ผู้อาราธนาศีล ถ้าพระสงฆ์นั่งบนอาสนะยกสูง เจ้าภาพและแขกนั่งเก้าอี้ ต้องยืนไหว้พระพุทธ แล้วไหว้พระสงฆ์ แล้วอาราธนาศีล. ถ้าพระสงฆ์นั่งอาสนะต่ำ ต้องนั่งกราบพระพุทธ ๓ ครั้ง แล้วหันหน้าไปทางพระสงฆ์องค์ประธาน ประนมมือตั้งตัวตรง อาราธนาศีล.

การอาราธนาพระปริตร นิยมในพิธีสวดพระพุทธมนต์ ต่อจากรับศีลส่วนมาก. ถ้าสวดมนต์ก่อนเทศน์ ก็อาราธนาพระปริตรก่อน,สวดจบ ก็อาราธนาศีล. รับศีลจบ ก็อาราธนาธรรม.

      คำอาราธนาศีล ๕
      (ดูในพิธีแสดงตนเป็นพุทธมามกะ)

      คำอาราธนาพระปริตร
      วิปตฺติปฏิพาหาย สพฺพสมฺปตฺติสิทฺธิยา,
      สพฺพทุกฺขวินาสาย ปริตฺต พฺรูถ มงฺคล.
      วิปตฺติปฏิพาหาย สพฺพสมฺปตฺติสิทฺธิยา,
      สพฺพภยวินาสาย ปริตฺต พฺรูถ มงฺคล.
      วิปตฺติปฏิพาหาย สพฺพสมฺปตฺติสิทฺธิยา,
      สพฺพโรควินาสาย ปริตฺต พฺรูถ มงฺคล.

      คำอาราธนาธรรม
      (ดูในพิธีรักษาอุโบสถ)

[กลับขึ้นบน]
วิธีกรวดน้ำ
      ขั้นตอนและวิธีการกรวดน้ำ
      เตรียมภาชนะที่สะอาด เช่นคนที่ ขวดเล็ก แก้วน้ำ ใส่น้ำที่สะอาด, มีภาชนะรับน้ำเวลากรวดด้วย.
พอพระเริ่มว่า ยถา . . .ก็เริ่มกรวด ตั้งใจอุทิศส่วนบุญ ค่อย ๆ รินน้ำลงในภาชนะใบที่สำหรับรับ(อย่าใช้นิ้วรับน้ำ) ถ้าจะกรวดลงที่ดินก็เลือกดินที่สะอาด. น้ำที่กรวดในภาชนะรอง ก็ต้องเอาเทลงที่พื้นดินสะอาด.
พอพระว่า สพฺพีติโย. . .ก็ริน้ำกรวมให้หมด แล้วประนมมือ ตั้งใจรับพร.

      คำกรวดน้ำแบบสั้น
      ๑. อิท เม าตีน โหตุ.
      ขอให้ผลบุญนี้ จงมีแก่ญาติของข้าพเจ้า. (ว่า ๓ จบ)

      ๒. อิท เม าตีน โหตุ, สุขิตา โหนฺตุ าตโย.
      ขอให้ผลบุญนี้ จงมีแก่ญาติของข้าพเจ้า, ขอให้พวกญาติ จงมีความสุขเถิด.

      ๓. สพฺเพ สตฺตา สทา โหนฺตุ อเวรา สุขชีวิโน
      ขอปวงสัตว์ทั้งหลาย จงเป็นผู้ไม่มีเวรต่อกัน, จงเป็นผู้ดำรงชีพอยู่เป็นสุขทุกเมื่อเถิด.

      กต ปุญฺผล มยฺห สพฺเพ ภาคี ภวนฺตุ เต.
      ขอสัตว์ทั้งสิ้นนั้น, จงเป็นผู้มีส่วนได้เสวยผลบุญ, อันข้าพเจ้าบำเพ็ญแล้วนั้นเถิด.

[กลับขึ้นบน]


      แบบประกอบนักธรรมตรี - ศาสนพิธี เล่ม ๑ : หลักสูตรศึกษา นักธรรมชั้นตรี
      แบบประกอบนักธรรมตรี - ศาสนพิธีสังเขป : หลักสูตรศึกษา นักธรรมชั้นตรี
      แบบประกอบนักธรรมโท - ศาสนพิธี เล่ม ๒ : หลักสูตรศึกษา นักธรรมชั้นโท


   โดย พระพรหมมังคลาจารย์ (ปัญญานันทภิกขุ)
การบวชและพิธีกรรมทางศาสนา คลิกฟัง
   โดย พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต)
พุทธศาสนาเกิดขึ้นมา มิใช่ว่าพิธีกรรมจะไร้ความหมาย คลิกฟัง
ถ้าไม่ถือแบบงมงาย ก็อาจใช้พิธีกรรมมาสื่อธรรมให้ถึงคน คลิกฟัง
   โดย พระอาจารย์รูปอื่น ๆ
 

ฟังธรรมะบรรยาย
(มากกว่า ๔,๐๐๐ ไฟล์)

อ่านพระไตรปิฎก
(คัมภีร์สำคัญทางพุทธศาสนา)
อ่านหนังสือธรรมะออนไลน์
(โดยพระเกจิอาจารย์ชื่อดัง)
วิธีปฏิบัติธรรม
(ธรรมะภาคปฏิบัติ)
 

จุดมุ่งหมายสูงสุดของพระพุทธศาสนา
     จุดหมายสูงสุด ของพระพุทธศาสนา พึงบรรลุได้ด้วยความสุขหรือด้วยข้อปฏิบัติที่มีความสุข มิใช่บรรลุด้วยความทุกข์ หรือด้วยข้อปฏิบัติที่เป็นทุกข์
      ผู้ปฏิบัติจะต้องไม่ติดใจหลงไหลในความสุขที่เกิดขึ้นแก่ตน ไม่ปล่อยให้ความสุขที่เกิดขึ้นนั้น ครอบงำ
        จิตใจของตน ยังมีจิตใจเป็นอิสระ สามารถก้าวหน้าไปในธรรมเบื้องสูง ต่อๆ ไป จนบรรลุความเป็นอิสระ
        หลุดพ้นโดยบริบูรณ์
      ซึ่งเมื่อบรรลุจุดหมายนั้นแล้ว ก็สามารถเสวยความสุขที่เคยเสวยมาแล้ว โดยที่ความสุขนั้น ไม่มีโอกาส
        ครอบงำจิตใจ ทำให้ติดพันหลงไหลได้เลย
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต)

หลักแห่งพระพุทธศาสนาโดยสรุป
     พุทธศาสนาคือวิชาและระเบียบปฏิบัติ เพื่อให้รู้สิ่งทั้งปวงถูกต้องตามที่เป็นจริงว่าอะไรเป็นอะไร สิ่งทั้งปวง มีสภาพตามที่เป็นจริง คือ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่ใช่ตัวหรือของตัว ; แต่สัตว์ทั้งหลายยังหลงรัก หลงยึดติดสิ่งทั้งปวง เพราะอำนาจของการยึดมั่นที่ผิด ในพุทธศาสนามีวิธี ปฏิบัติเรียกว่า ศีล สมาธิ ปัญญา เพื่อใช้เป็นเครื่องมือ ตัดการติดการยึดมั่นนั้นเสีย อุปาทาน การยึดมั่นนั้นมีสิ่งที่ลงเกาะหรือจับยึด คือ ขันธ์ทั้งห้า คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
      เมื่อรู้จักขันธ์ทั้งห้า ตามที่เป็นจริง ก็จะสามารถเข้าใจสิ่งทั้งปวงจนถึงกับเบื่อหน่ายคลายความอยาก ไม่ยึดอะไร ติดอะไร และเราควรจะมีชีวิตอยู่อย่างที่เรียกว่า "เป็นอยู่ชอบ" คือให้ วันคืนเต็มไปด้วยความปีติ ปราโมทย์ อันเกิดมาจากการกระทำที่ดีที่งามที่ถูกต้องอยู่เป็นประจำ แล้วระงับความฟุ้งซ่าน เกิดสมาธิ เกิดความเห็นแจ้งได้เรื่อยๆ ไป จนกระทั่งเกิดความเบื่อหน่าย ความคลายออก ความหลุดพ้น และนิพพานได้ตามความเหมาะสมของสิ่งแวดล้อม
      ถ้าเราจะรีบเร่งทำให้ได้ผลเร็วขึ้น ก็มีแนวปฏิบัติที่เรียกว่า วิปัสสนาธุระ เริ่มตั้งแต่มี ความประพฤติบริสุทธิ์ มีใจบริสุทธิ์ มีความเห็นบริสุทธิ์ เรื่อยขึ้นไปจนถึงมีปัญญา คือความเห็นแจ้งบริสุทธิ์ ในที่สุดก็จะตัดกิเลสที่ผูกมัดคนให้ติดอยู่กับวิสัยโลกออกเสียได้ เรียกว่า การบรรลุมรรคผล
ท่านพุทธทาสภิกขุ : คู่มือมนุษย์



สงวนลิขสิทธิ์โดย ธรรมะพีเดีย.คอม
เว็บไซต์นี้จัดทำขึ้นเพื่อเผยแผ่พุทธศาสนา โดยไม่มุ่งหวังผลทางพาณิชย์
อนุญาตให้นำไปเผยแผ่เพื่อสืบต่อพุทธศาสนาได้ตามกุศลเจตนา

www.thammapedia.com
( ศูนย์เผยแผ่พระพุทธธรรม )
Copyright © 2008 ALL RIGHTS RESERVED
 
 
หน้าหลัก