หน้าหลัก ศาสนพิธี พิธีกรรมทางศาสนา กุศลพิธี
Search:

"พิธีกรรมทางศาสนานั้น เปรียบเสมือนเปลือกของต้นไม้ ต้นไม้ที่ปราศจากเปลือกห่อหุ้ม ย่ิอมไม่สามารถยืนต้นอยู่ได้"


หน้าแรก : หมวดศาสนพิธี
พิธีกรรมทางศาสนา
พิธีกรรมทางพุทธศาสนาแยกไว้เป็น ๔ หมวด คือ
๑. หมวดกุศลพิธี : ว่าด้วยพิธีบำเพ็ญกุศล ๓. หมวดทานพิธี : ว่าด้วยพิธีถวายทาน
๒. หมวดบุญพิธี : ว่าด้วยพิธีทำบุญ ๔. หมวดปกิณณกะ : ว่าด้วยพิธีเบ็ดเตล็ด

กุศลพิธี หมายถึง การทำพิธีให้เกิดความฉลาดยิ่ง ๆ ขึ้น จนสามารถตัดความชั่วหรือบาปมัวหมองให้หมดไปโดยลำดับ. เฉพาะที่พึงปฏิบัติในเบื้องต้น มี ๓ เรื่อง คือ :-
     ก. พิธีแสดงตนเป็นพุทธมามกะ
     ข. พิธีรักษาอุโบสถ
     ค. พิธีเวียนเทียนในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา.

พิธีแสดงตนเป็นพุทธมามกะ
     การทำพิธีแสดงตนเป็นพุทธมามกะ หมายความว่า ประกาศตนว่า เป็นผู้รับนับถือพระพุทธเจ้า กล่าวคือ เป็นผู้ถือพระพุทธศาสนา. (พุทธ แปลว่า ผู้รู้ ผู้ฉลาด พุทธศาสนา แปลว่า คำสอนของท่านผู้รู้, ผู้ถือ พุทธศาสนา ปฏิบัติถูกต้องก็ย่อมฉลาดยิ่ง ๆ ขึ้น สามารถตัดความชั่วความโง่ได้)

     การทำพิธีแสดงตนเป็นพุทธมามกะนี้ มีมาตั้งแต่สมัยพระพุทธเจ้าตลอดมาจนถึงบัดนี้ รวมเป็น ๔ วิธี คือ :-
      ๑. มีผู้มาทูลขอบวช พระพุทธเจ้าทรงให้บวชด้วยพระวาจาว่า "มาเถิดภิกษุ จงประพฤติพรหมจรรย์เถิด" ดังนี้เป็นต้น. ผู้นั้นถือเพศ คือ โกนผม นุ่งห่มสบงจีวร เป็นเสร็จพิธี.
      ๒. ขอบวชต่อพระสาวก ต้องปลงผม นุ่งห่มสบงจีวรก่อน แล้วลั่นวาจาถึงพระรัตนตรัยเป็นสรณะคือเป็นที่พึ่งที่ระลึก ๓ หน เป็นเสร็จพิธี.
      ๓. ผู้มีอายุไม่ครบ ๒๐ ปีบริบูรณ์ ขอบวช ก็บวชด้วยวิธีที่ ๒ สำเร็จเป็นสามเณร.
      ๔. คฤหัสถ์ผู้ไม่ต้องการบวช ลั่นวาจาถึงพระพุทธ - พระธรรม -พระสงฆ์ ว่าเป็นสรณะ ถ้าอายุเกิน ๑๕ ปี ผู้ชาย เรียกว่า "อุบาสก" หญิง เรียกว่า "อุบาสิกา" ถ้าอายุ ๑๕ ลงมา ๑๒ ขึ้นไป เรียกว่า "พุทธมามกะ" หรือ "พุทธมามิกา" ตามเพศชาย - หญิง.

      การปฏิญาณตนเป็นผู้นับถือพระพุทธศาสนา คนหนึ่งจะปฏิญาณหลายครั้ง ตามความเลื่อมใสศรัทธาก็ได้.

      ประเพณีนิยมแสดงตนเป็นพุทธมามกะในประเทศไทย ในปัจจุบันมีสรุปได้ ๔ คราว คือ :-
      ๑. คราวที่บุตร - หลาน มีอายุพ้นเขตทารก คือระหว่างอายุ ๑๒-๑๕ ปี เพื่อให้เด็กสืบความเป็นชาวพุทธตามตระกูลวงศ์.
      ๒. คราวส่งบุตร - หลาน ที่เป็นชาวพุทธอยู่แล้ว ไปอยู่ในถิ่นศาสนาอื่นนานแรมปี เพื่อให้เด็กระลึกอยู่เสมอว่า ตนเป็นพุทธศาสนิกชน. หรือเมื่อเข้าโรงเรียนต่างศาสนา.
      ๓. คราวที่เด็กเข้าศึกษาในโรงเรียนที่สอนวิชาทั้งสามัญศึกษาและวิสามัญศึกษา เพื่อให้นักเรียนเห็นความสำคัญในการที่ตนเป็นชาวพุทธอยู่ร่วมกัน.
      ๔. คราวที่บุคคลต่างศาสนาเกิดเลื่อมใสในพุทธศาสนา ก็ทำพิธี ประกาศตนเป็นชาวพุทธ เพื่อให้ผู้อื่นทราบว่าตนถือพระพุทธศาสนาแล้ว.

ระเบียบพิธี

      ๑. มอบตัว คือ
      ก. เข้าไปหาพระที่ตนเคารพนับถือ ควรมีผู้ปกครองนำไป ถ้าเป็นโรงเรียน ก็มีตัวแทนของโรงเรียนนำไป พร้อมด้วยตัวแทนนักเรียน ถวายดอกไม้ธูปเทียม กราบ แจ้งความประสงค์.
      ข. ฝึกหัดอบรมผู้จะแสดงตนให้รู้จักกราบไหว้ ท่องคำบูชา คำนมัสการคำปฏิญาณ คำอาราธนาศีล ๕ คำสมาทานศีล ๕.

      ๒. เตรียมการ คือ
      ก. ฝ่ายพระสงฆ์ นิมนต์พระผู้ใหญ่หรือผู้น้อยที่สมควร ให้ครบ ๔ รูป เป็นองค์สงฆ์ จัดสถานที่ ควรจัดในโบสถ์หรือวิหาร ศาลาการเปรียญ มีโต๊ะตั้งพระพุทธรูป และเครื่องบูชาพร้อม
      ข. ฝ่ายผู้แสดงตน นุ่งห่มผ้าขาว มีผ้าห่มเฉวียงบ่า ไม่ใส่หมวก-รองเท้า, ถ้านักเรียนก็แต่งเครื่องแบบ แต่ต้องถอดหมวก - รองเท้า. เตรียมดอกไม้ ธูป เทียน บูชาพระรัตนตรัย ๑ ชุด ถวายพระอาจารย์ในพิธีอีก ๑ ชุด. จะมีไทยธรรมถวายด้วยก็แล้วแต่ศรัทธา.

      ๓. พิธีการ
      ก. ผู้แสดงตนเตรียมแต่งตัว และเครื่องบูชาพร้อมแล้ว เข้าในบริเวณพิธี นั่งประจำที่ รอเวลา.
      ข. ถึงเวลา พระสงฆ์เข้าประจำที่.
      ค. ผู้แสดงตน จุดธูป เทียน วางดอกไม้บูชาพระ ระลึกถึงคุณพระรัตนตรัย เปล่งวาจาว่า
          อิมินา สกฺกาเรน, พุทฺธ ปูเชมิ. ข้าเจ้าขอบูชาพระพุทธเจ้า ด้วยเครื่องสักการะนี้. (กราบ)
          อิมินา สกฺกาเรน, ธมฺม ปูเชมิ. ข้าพเจ้าขอบูชาพระธรรม ด้วยเครื่องสักการะนี้. (กราบ)
          อิมินา สกฺกาเรน, สงฺฆ ปูเชมิ. ข้าพเจ้าขอบูชาพระสงฆ์ ด้วยเครื่องสักการะนี้. (กราบ)
      ถวายพานเครื่องสักการะแก่พระอาจารย์ กราบ ๓ ครั้ง กล่าวคำนมัสการพรพุทธเจ้าว่า
          นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส (๓ จบ)
      กล่าวคำปฏิญาณตนว่า เอสาห ภนฺเต สุจิรปรินิพฺพุตมฺปิ, ต ภควนฺต สรณ คจฺฉามิ,
          ธมฺมญฺจ สงฺฆญฺจ พุทธมามโกติ ม สงฺโฆ ธาเรตุ.

หมายเหตุ :-
      ชายหลายคนว่า เอเต มย ภนฺเต. . . คจฺฉาม. . . พุทฺธมามกาติ โน. . .
      หญิงคนเดียวว่า เอสาห ภนฺเต. . .คจฺฉามิ. . . พุทฺธมามิกาติ ม. . .
      หญิงหลายคนว่า เอตา มย ภนฺเต. . .คจฺแาม. . . พุทฺธมามิกาติ โน. . .

      เมื่อกล่าวคำปฏิญาณจบแล้ว พระสงฆ์รับว่า "สาธุ" พร้อมกัน.
      ต่อจากนั้นผู้ปฏิญาณนั่งราบคอยฟังโอวาท ประนมมือฟัง. พระอาจารย์ให้โอวาทเกี่ยวกับหัวใจพระพุทธศาสนา ๓ ข้อ เป็นต้น.
เมื่อฟังโอวาทจบ รับว่า "สาธุ" แล้วนั่งคุกเข่า กล่าวคำอาราธนาศีล ๕ ว่า

คำอาราธนาเบญจศีล (ศีล ๕)

      อห ภนฺเต วิสุ วิสุ รกฺขณตฺถาย ติสรเณน สห ปญฺจ สีลานิ ยาจามิ.
      ทุติยมฺปิ อห ภนฺเต วิสุ วิสุ รกฺขณตฺถาย ติสรเณน สห ปญฺจ สีลานิ ยาจามิ.
      ตติยมฺปิ อห ภนฺเต วิสุ วิสุ รกฺขณตฺถาย ติสรเณน สห ปญฺจ สีลานิ ยาจามิ.

หมายเหตุ :-
      ถ้าหลายคน อห เปลี่ยนเป็น มย. ยาจามิเปลี่ยนเป็น ยาจาม.

คำสมาทานเบญจศีล

พระอาจารย์เป็นผู้บอก ผู้ปฏิญาณว่าตาม.
          นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส (๓ จบ)
          พุทฺธ สรณ คจฺฉามิ.
          ธมฺม สรณ คจฺฉามิ.
          สงฺฆ สรณ คจฺฉามิ.
          ทุติยมฺปิ พุทฺธ สรณ คจฺฉามิ.
          ทุติยมฺปิ ธมฺม สรณ คจฺฉามิ.
          ทุติยมฺปิ สงฺฆ สรณ คจฺฉามิ.
          ตติยมฺปิ พุทฺธ สรณ คจฺฉามิ.
          ตติยมฺปิ ธมฺม สรณ คจฺฉามิ.
          ตติยมฺปิ สงฺฆ สรณ คจฺฉามิ.
      (พระอาจารย์ว่า "ติสรณคมน นิฏฺิต" ผู้ปฏิญาณรับว่า "อาม ภนฺเต")
      พระอาจารย์บอกต่อไป ผู้ปฏิญาณว่าตามต่อไปว่า
          ปาณาติปาตา เวรมณี สิกฺขาปท สมาทิยามิ.
          อทินฺนาทานา เวรมณี สิกฺขาปท สมาทิยามิ.
          กาเมสุ มิจฺฉาจารา เวรมณี สิกฺขาปท สมาทิยามิ.
          มุสาวาทา เวรมณี สิกฺขาปท สมาทิยามิ.
          สุราเมรยมชฺชปมาทฏฺานา เวรมณี สิกฺขาปท สมาทิยามิ.
          อิมานิ ปญฺจ สิกฺขาปทานิ สมาทิยามิ. (บรรทัดนี้ อาจารย์ว่า ๑ จบ. ผู้ปฏิญาณว่า ๓ จบ)
      พระอาจารย์ว่า
          สีเลน สุคตึ ยนฺติ สีเลน โภคสมฺปทา
          สีเลน นิพฺพุตึ ยนฺติ ตสฺมา สีล วิโสธเย.
          (ผู้ปฏิญาณไม่ต้องว่าตาม)
      ผู้ปฏิญาณกราบ ๓ ครั้ง. ถ้ามีไทยธรรมก็ถวายแก่พระสงฆ์ แล้วเตรียมกรวดน้ำ.
      พระสงฆ์อนุโมทนาด้วยบท ดังนี้ ๑. ยถา. . .๒. สพฺพีติโย. . . ๓. โส อตฺถลทฺโธ. . . หรือ สา อตฺถลทฺธา. . . หรือ เต อตฺถลทฺธา. . .๔. ภวตุ สพฺพ. . .

หมายเหตุ :-
      ขณะพระว่าองค์เดียว ว่า ยถา. . . ผู้ปฏิญาณ พึงกรวดน้ำ รินน้ำพร้อมกับว่าคำกรวดน้ำ ตามแบบ.
      พอพระว่าพร้อมกันทุกองค์ว่า สพฺพีติโย. . . ก็รินน้ำให้หมด แล้วประนมมือรับพร. เมื่อรพระสวดจบ ก็คุกเข่ากราบพระสงฆ์ ๓ ครั้ง เป็นอันเสร็จพิธี.

[กลับขึ้นบน]
พิธีรักษาอุโบสถ
      อุโบสถ หมายความว่า การจำศีล คือการรักษาศีล ๘ เพื่อขันเกลากิเลสหยาบ ๆ ให้เบาบาง มี ๒ อย่าง คือ :-
      ๑. ปกติอุโบสถ เดือนละ ๔ วัน คือ ขึ้น ๘ ค่ำ, ขึ้น ๑๕ ค่ำ, แรม ๘ ค่ำ, แรม ๑๔ ค่ำ ในเดือนเลขคี่ หรือแรม ๑๕ ค่ำ ในเดือนเลขคู่. (เดือนเลขคี่ เช่นเดือน ๗, เดือนเลขคู่ เช่นเดือน ๘)

      ๒. ปฏิชาครอุโบสถ คือ เพิ่มข้างหน้า ๑ วัน ข้างหลัง ๑ วัน รวมเป็นคราวละ ๓ วัน เดือนละ ๔ คราว, จึงเป็นเดือนละ ๑๒ วัน. เช่น ปกติอุโบสถมีในวัน ๘ ค่ำ เพิ่ม ๗ ค่ำ และ ๙ ค่ำ เข้ามา ก็เป็นปฏิชาครอุโบสถ.

      การรักษาศีล ๘ ข้อในวันที่กำหนดนี้ ชื่อว่า "รักษาอุโบสถ" การรักษาอุโบสถนี้ มีพิธีต่อไปนี้ :-

ระเบียบพิธี

      ๑. พึงตื่นนอนแต่ก่อนอรุณขึ้น เตรียมตัวให้สะอาดเรียบร้อย บูชาพระตั้งแต่รุ่งอรุณ เปล่งวาจาด้วยตนเองก่อนว่า อิม อฏฺงฺคสมนฺนาคต พุทฺธปญฺตฺต อุโปสถ, อิมญฺจ รตฺตึ อิมญฺจ ทิวส สมฺมเทว อภิรกฺขิตุ สมาทิยามิ.

      ๒. ไปวัด เข้าสู่โบสถ์ หรือวิหาร หรือศาลา เป็นต้น ซึ่งทางวัดจัดเตรียมไว้. ได้เวลาประมาณ ๙.๐๐ น. พระก็ลงโบสถ์ ทำวัตรเช้าจบแล้ว อุบาสก - อุบาสิกา ก็ทำวัตรเช้า.

      ๓. ทำวัตรจบแล้ว หัวหน้าอุบาสก นั่งคุกเข่า ประนมมือ ประกาศองค์อุโบสถ.

คำประกาศองค์อุโบสถ

      อชฺช โภนฺโต ปกฺขสฺส อฏฺมีทิวโส เอวรูโป โข โภนฺโต
      ทิวโส, ฯ เป ฯ มา นิรตฺถก โหตุ. (ว่าคำแปลด้วย)

หมายเหตุ :-
      ถ้าวัน ๑๔ ค่ำ ว่า "จาตุทฺทสีทิวโส" ถ้าเป็นวัน ๑๕ ค่ำ ว่า "ปณฺณรสีทิวโส" แทนคำว่า อฏฺมีทิวโส ซึ่งเป็นวัน ๘ ค่ำ.

      ๔. เมื่อประกาศใกล้จบ พระผู้แสดงธรรม ขึ้นนั่งบนธรรมาสน์, อุบาสก - อุบาสิกาทุกคน คุกเข่ากราบ ๓ ครั้ง แล้วกล่าวคำอาราธนา(ขอ) อุโบสถศีล.

คำขออุโบสถศีล

      มย ภนฺเต ติสรเณน สห อฏฺงฺคสมนฺนาคต, อุโปสถ ยาจาม. (ว่า ๓ จบ)

      ๕. รับศีลอุโบสถ ว่าตามพระ เหมือนรับศีล ๕ เพียงแต่เปลี่ยนข้อ ๓ ว่า อพฺรหฺมจริยา . . . และเพิ่มข้อ ๖ ว่า วิกาลโภชนา. . .ข้อ ๗ ว่า นจฺจคีต วาทิต วิสูกทสฺสนา, มาลาคนฺธวิเลปน ธารณมณฺฑน วิภูสนฏฺานา. . . ข้อ ๘ ว่า อุจฺจาสยน มาหสยนา เวรมณี สิกฺขาปท สมาทิยามิ.
      อิม อฏฺงฺคสมนฺนาคต. . . (เหมือนข้อ ๑ ของระเบียบพิธีนี้ หน้า ๘)

      พระผู้เทศก์ ผู้ให้ศีลว่า อิมานิ อฏฺ สิกฺขาปทานิ อุปสถวเสน สาธุก รกฺขิตพฺพานิ.
      อุบาสก - อุบาสิกา รับพร้อมกันว่า อาม ภนฺเต.
      พระว่าต่อไปว่า สีเลน สุคตึ ยนฺติ ฯ เป ฯ ตสฺมา สีล วิโสธเย.
      อุบาสก - อุบาสิกากราบ ๓ ครั้ง นั่งราบ ประนมมือฟังธรรมต่อไป.

      ๖. เมื่อพระแสดงธรรมจบ ทุกคนให้สาธุการ และสวดประกาศตนพร้อมกัน ว่า สาธุ สาธุ สาธุ
          อห พุทฺธญฺจ ธมฺมญฺจ สงฺฆญฺจ สรณ คโต
          อุปาสกตฺต เทเสสึ ภิกฺขุสงฺฆสฺส สมฺมุขา
          เอต เม สรณ เขม เอต สรณมุตฺตม
          เอต สรณมาคมฺม สพฺพทุกฺขา ปมุจฺจเย
          ยถาพล จเรยฺยาห สมฺมาสมฺพุทฺธสาสน
          ทุกฺขนิสฺสรณสฺเสว ภาคี อสฺส๓ อนาคเต.

หมายเหตุ :-
     ชายว่า คโต หญิงว่า คตา.
     ชายว่า อุปาสกตฺต หญิงว่า อุปาสิกตฺต.
     ชายว่า ภาคี อสฺส หญิงว่า ภาคินิสฺส.
     (เสร็จพิธีตอนเช้าเพียงนี้)

      ๗. ถวายภัตตาหายเพลแก่พระสงฆ์ ตนเองก็รับประทานอาหารให้เสร็จก่อนเที่ยง.
      ครั้นถึงเวลาบ่าย หรือเย็น (ประมาณ ๑๕.๐๐ น.) หรือสุดแล้วแต่จะนัดกัน" ประชุมกันทำวัตรค่ำ.
      ถ้ามีพระมาเทศน์โปรด หัวหน้าอุบาสก คุกเข่ากราบพระ ๓ ครั้ง กล่าวคำอาราธนาพิเศษ หรือ ธรรมดา.

คำอาราธนาธรรม (พิเศษ)

      จาตุทฺทสี ปณฺณรสี ยา จ ปกฺขสฺส อฏฺมี
      กาลา พุทฺเธน ปญฺตฺตา สทฺธมฺมสฺสวนสฺสิเม
      อฏฺมี โข อยนฺทานิ สมฺปติตา อภิลกฺขิตา
      เตนาย ปริสา ธมฺม โสตุ อิธ สมาคตา

      สาธุ อยฺโย ภิกฺขุสงฺโฆ กโรตุ ธมฺมเทสน
      อยญฺจ ปริสา สพฺพา อฏฺิกตฺวา สุณาตุ ตนฺติ.


หมายเหตุ :-
      วัน ๘ ค่ำ ว่า อฏฺมี โข. . . วัน ๑๔ ค่ำว่า จาตุทฺทสี. . . วัน ๑๕ ค่ำ ว่า ปณฺณรสี . .

คำอาราธนาธรรม (ธรรมดา)

      พฺพหฺมา จ โลกาธิปตี สหมฺปติ
      กตฺอญฺชลี อนฺธิวร อยาจถ
      สนฺตีธ สตฺตาปฺปรชกฺขชาติกา
      เทเสตุ ธมฺม อนุกมฺปิม ปช.


      ๘. เมื่อพระเทศน์จบ ทุกคนพึงให้สาธุการ และสวดประกาศตนเหมือนภาคเช้า และสวดคำขอขมาพระรัตนตรัยว่า
      กาเยน วาจาย ว เจตสา วา . . . เหมือนตอนปลายทำวัตรค่ำ.

      ๙. เมื่อเสร็จพิธี ภาคเช้า หรือภาคค่ำแล้ว ก่อนจะกลับบ้าน พึงกล่าวคำลาต่อพระผู้เทศก์ว่า
      หนฺททานิ มย ภนฺเต อาปุจฺฉาม, พหุกิจฺจา มย พหุกรณียา.

      พระผู้เทศก์ ถ้ามีพรรษาสูงสุดกว่าองค์อื่น ๆ ในที่ประชุมนั้น พึงกล่าวคำอนุญาต. แต่ถ้ามีพรรษาน้อย ก็ต้องให้พระองค์ที่มีพรรษาสูงสูเป็นผู้กล่าวคำอนุญาตว่า
      ยสฺสทานิ ตุมฺเห กาล มญฺถ.
      ผู้ลาพึงรับว่า สาธุ ภนฺเต. แล้ว กราบ ๓ ครั้ง เป็นอันเสร็จพิธีบริบูรณ์.

[กลับขึ้นบน]
พิธีเวียนเทียนในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา
      วันสำคัญทางพระพุทธศาสนา ที่นิยมประกอบพิธีเวียนเทียน มี ๔ วัน คือ :-
      ๑. วันวิสาขบูชา
          ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖ (หรือเดือน ๗ ปีที่มีเดือน ๘ สองหน) สำคัญคือ คล้ายกับวันประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพาน ของพระพุทธเจ้า.
      ๒. วันอัฏฐมีบูชา
          แรม ๘ ค่ำ เดือน ๖ (หรือเดือน ๗ ปีที่มีเดือน ๘ สองหน) สำคัญคือ คล้ายกับวันถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระ (เผาศพพระพุทธเจ้า).
      ๓. วันมาฆบูชา
          ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๓ (หรือเดือน ๔ ปีที่มีเดือน ๘ สองหน) สำคัญคือ คล้ายวันที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงพระโอวาทปาติโมกข์ อันเป็นหัวใจ หลักการ ของพระพุทธศาสนา ใน " จาตุรงคสันนิบาต" ที่ประชุมประกอบด้วยองค์ ๔ คือ
         ก. พระอรหันต์ ๑,๒๕๐ องค์
         ข. ท่านเหล่านั้น ล้วนแต่เป็นเอหิภิกขุ
         ค. ท่านเหล่านั้นมาประชุมกันโดยมิได้นัด
         ง. ประชุมกันในวันเพ็ญเดือน ๓

      ๔. วันอาสาฬหบูชา
          ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๘ (หรือเดือน ๘ หลัง ในปีที่มีเดือน ๘ สองหน) สำคัญคือ คล้ายวันที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมกัณฑ์แรก ชื่อว่า "ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร" แก่พระเบญจวัคคีย์ ได้ผลดีคือ พระโกณฑัญญะ หัวหน้าพระเบญจวัคคีย์ ได้เป็นพระอริยสาวกสงฆ์องค์แรก.

ระเบียบพิธี

      ๑. ถึงเวลากำหนด บ่าย หรือเย็น หรือค่ำ ทางวัดตีระฆังสัญญาณ ภิกษุ สามเณร อุบาสก อุบาสิกา ประชุมที่หน้าอุโบสถ หรือลานพระเจดีย์ ที่เป็นหลักสำคัญของวัด หรือที่ปูชนียสถานทางพระพุทธศาสนาบางแห่ง. ทุกคนถือดอกไม้ ธูป เทียน ชนิดที่มีไส้ใหญ่.

      ๒. ถ้ามีพระบรรยายให้ทุกคนทราบความสำคัญของวันนั้น (คือ วันวิสาขบูชาเป็นต้น ที่กำลังจะเวียนเทียนอยู่) ก่อนสัก ๕ นาที ก็จะเป็นการสมควร.

      ๓. หัวหน้าสงฆ์ จุดเทียน - ธูป ทุกคนจุดตาม หันหน้าเข้าหาปูชนียสถานที่จะเวียนเทียน
          กล่าว นโม. . . พุทฺธสฺส พร้อมกัน ๓ จบ.
          หัวหน้านำกล่าวคำถวายดอกไม้ ธูป เทียน บูชาพระรัตนตรัยตามแบบที่กำหนดไว้สำหรับวันนั้น เป็นคำ ๆ เฉพาะบาลี หรือแปลด้วยก็ได้ ทุกคนว่าตามจนจบ.

      ๔. หัวหน้าสงฆ์เดินนำแถว เรียง ๑ แถว หรือ ๒-๓ ก็ได้ พระ-สามเณร เดินหน้า อุบาสก-อุบาสิกา เดินหลัง
          เดินเวียนขวา คือให้แขนขวาเข้าหาปูชนียสถานที่เดินเวียน. เวียน ๓ รอบ.
          รอบที่ ๑ ภาวนาบทสวดสรรเสริญพระพุทธคุณ ว่า อิติปิ โส ภควา อรห. . .
          รอบที่ ๒ ภาวนาบทสวดสรรเสริญพระธรรมคุณ ว่า สฺวากฺขาโต ภควตา ธมฺโม, สนฺทิฏฺิโก. . .
          รอบที่ ๓ ภาวนาบทสวดสรรเสริญพระสังฆคุณ ว่า สุปฏิปนฺโน ภควโต สาวกสงฺโฆ, อุชุ. . .

          ครั้นเวียนครบ ๓ รอบแล้ว ก็นำดอกไม้ ธูป เทียน ปักไว้ในที่ ซึ่งได้เตรียมไว้.

      ๕. เข้าโบสถ์ หรือวิหาร ศาลาการเปรียญ ที่กำหนดไว้ ทำวัตรค่ำ สวดมนต์ แสดงธรรม ฟังธรรม ๑ กัณฑ์ หรือ ๒-๓ กัณฑ์ หรือหลายกัณฑ์ตลอดคืน ตามศรัทธาและสามารถ.

      เป็นอันเสร็จพิธี.
[กลับขึ้นบน]


      แบบประกอบนักธรรมตรี - ศาสนพิธี เล่ม ๑ : หลักสูตรศึกษา นักธรรมชั้นตรี
      แบบประกอบนักธรรมตรี - ศาสนพิธีสังเขป : หลักสูตรศึกษา นักธรรมชั้นตรี
      แบบประกอบนักธรรมโท - ศาสนพิธี เล่ม ๒ : หลักสูตรศึกษา นักธรรมชั้นโท


   โดย พระพรหมมังคลาจารย์ (ปัญญานันทภิกขุ)
การบวชและพิธีกรรมทางศาสนา คลิกฟัง
   โดย พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต)
พุทธศาสนาเกิดขึ้นมา มิใช่ว่าพิธีกรรมจะไร้ความหมาย คลิกฟัง
ถ้าไม่ถือแบบงมงาย ก็อาจใช้พิธีกรรมมาสื่อธรรมให้ถึงคน คลิกฟัง
   โดย พระอาจารย์รูปอื่น ๆ
 

ฟังธรรมะบรรยาย
(มากกว่า ๔,๐๐๐ ไฟล์)

อ่านพระไตรปิฎก
(คัมภีร์สำคัญทางพุทธศาสนา)
อ่านหนังสือธรรมะออนไลน์
(โดยพระเกจิอาจารย์ชื่อดัง)
วิธีปฏิบัติธรรม
(ธรรมะภาคปฏิบัติ)
 

จุดมุ่งหมายสูงสุดของพระพุทธศาสนา
     จุดหมายสูงสุด ของพระพุทธศาสนา พึงบรรลุได้ด้วยความสุขหรือด้วยข้อปฏิบัติที่มีความสุข มิใช่บรรลุด้วยความทุกข์ หรือด้วยข้อปฏิบัติที่เป็นทุกข์
      ผู้ปฏิบัติจะต้องไม่ติดใจหลงไหลในความสุขที่เกิดขึ้นแก่ตน ไม่ปล่อยให้ความสุขที่เกิดขึ้นนั้น ครอบงำ
        จิตใจของตน ยังมีจิตใจเป็นอิสระ สามารถก้าวหน้าไปในธรรมเบื้องสูง ต่อๆ ไป จนบรรลุความเป็นอิสระ
        หลุดพ้นโดยบริบูรณ์
      ซึ่งเมื่อบรรลุจุดหมายนั้นแล้ว ก็สามารถเสวยความสุขที่เคยเสวยมาแล้ว โดยที่ความสุขนั้น ไม่มีโอกาส
        ครอบงำจิตใจ ทำให้ติดพันหลงไหลได้เลย
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต)

หลักแห่งพระพุทธศาสนาโดยสรุป
     พุทธศาสนาคือวิชาและระเบียบปฏิบัติ เพื่อให้รู้สิ่งทั้งปวงถูกต้องตามที่เป็นจริงว่าอะไรเป็นอะไร สิ่งทั้งปวง มีสภาพตามที่เป็นจริง คือ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่ใช่ตัวหรือของตัว ; แต่สัตว์ทั้งหลายยังหลงรัก หลงยึดติดสิ่งทั้งปวง เพราะอำนาจของการยึดมั่นที่ผิด ในพุทธศาสนามีวิธี ปฏิบัติเรียกว่า ศีล สมาธิ ปัญญา เพื่อใช้เป็นเครื่องมือ ตัดการติดการยึดมั่นนั้นเสีย อุปาทาน การยึดมั่นนั้นมีสิ่งที่ลงเกาะหรือจับยึด คือ ขันธ์ทั้งห้า คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
      เมื่อรู้จักขันธ์ทั้งห้า ตามที่เป็นจริง ก็จะสามารถเข้าใจสิ่งทั้งปวงจนถึงกับเบื่อหน่ายคลายความอยาก ไม่ยึดอะไร ติดอะไร และเราควรจะมีชีวิตอยู่อย่างที่เรียกว่า "เป็นอยู่ชอบ" คือให้ วันคืนเต็มไปด้วยความปีติ ปราโมทย์ อันเกิดมาจากการกระทำที่ดีที่งามที่ถูกต้องอยู่เป็นประจำ แล้วระงับความฟุ้งซ่าน เกิดสมาธิ เกิดความเห็นแจ้งได้เรื่อยๆ ไป จนกระทั่งเกิดความเบื่อหน่าย ความคลายออก ความหลุดพ้น และนิพพานได้ตามความเหมาะสมของสิ่งแวดล้อม
      ถ้าเราจะรีบเร่งทำให้ได้ผลเร็วขึ้น ก็มีแนวปฏิบัติที่เรียกว่า วิปัสสนาธุระ เริ่มตั้งแต่มี ความประพฤติบริสุทธิ์ มีใจบริสุทธิ์ มีความเห็นบริสุทธิ์ เรื่อยขึ้นไปจนถึงมีปัญญา คือความเห็นแจ้งบริสุทธิ์ ในที่สุดก็จะตัดกิเลสที่ผูกมัดคนให้ติดอยู่กับวิสัยโลกออกเสียได้ เรียกว่า การบรรลุมรรคผล
ท่านพุทธทาสภิกขุ : คู่มือมนุษย์



สงวนลิขสิทธิ์โดย ธรรมะพีเดีย.คอม
เว็บไซต์นี้จัดทำขึ้นเพื่อเผยแผ่พุทธศาสนา โดยไม่มุ่งหวังผลทางพาณิชย์
อนุญาตให้นำไปเผยแผ่เพื่อสืบต่อพุทธศาสนาได้ตามกุศลเจตนา

www.thammapedia.com
( ศูนย์เผยแผ่พระพุทธธรรม )
Copyright © 2008 ALL RIGHTS RESERVED
 
 
หน้าหลัก