หน้าหลัก ธรรมะปฏิบัติ การรักษาศีล จำแนกตามประเภทบุคคล : ศีล ๒๒๗
Search:
หน้าแรก : หมวดธรรมะปฏิบัติ

“อานนท์ ! พุทธบริษัททั้งสี่ คือภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ทำสักการะบูชาด้วยเครื่องบูชาสักการะทั้งหลายอันเป็นอามิส เช่น ดอกไม้ ธูป เทียน เป็นต้น หาชื่อว่าบูชาตถาคตด้วยการบูชาอันยิ่งไม่ อานนท์เอย ! ผู้ใดปฏิบัติตามธรรมปฏิบัติอันชอบยิ่ง ปฏิบัติธรรมอันเหมาะสม ผู้นั้นแลชื่อว่าสักการะบูชาเราด้วยการบูชาอันยอดเยี่ยม”

พุทธโอวาทก่อนปรินิพพาน
อาจารย์วศิน อินทสระ

"ดูก่อนอานนท์ ธรรมหนึ่งคือ..
อานาปานสติสมาธิ
ภิกษุเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมยังสติปัฏฐาน ๔ ให้บริบูรณ์,
สติปัฏฐาน ๔ อันภิกษุเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมยังโพชฌงค์ ๗ ให้บริบูรณ์,
โพชฌงค์ ๗
อันภิกษุเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมยังวิชชาและ วิมุติให้บริบูรณ์"

“..ดูก่อนภิกษุทั้งหลายธรรม ๒ อย่าง เป็นไปในส่วนแห่งวิชชา ธรรม ๒ อย่างเป็นไฉน
คือ สมถะ ๑ วิปัสสนา ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
   สมถะ ที่ภิกษุเจริญแล้ว... ย่อมอบรมจิต จิตที่อบรมดีแล้ว... ย่อมละราคะได้
   วิปัสสนา ที่อบรมดีแล้ว.. ย่อมอบรมปัญญา ปัญญาที่อบรมดีแล้ว.. ย่อมละอวิชชาได้"

"ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะสำรอกราคะได้ จึงชื่อว่าเจโตวิมุติ เพราะสำรอกอวิชชาได้ ชื่อว่าปัญญาวิมุติ"

หนังสือ พระพุทธศาสนาจากพระโอษฐ์
รองศาสตราจารย์แสง จันทร์งาม

การรักษาศีล
จำแนกตามประเภทบุคคล
๑. ศีล ๕ สำหรับทุกคน ๔. ศีล ๒๒๗ ศีลสำหรับพระภิกษุ
๒. ศีล ๘ อุโบสถศีล ๕. ศีล ๓๑๑ ศีลสำหรับพระภิกษุณี
๓. ศีล ๑๐ สำหรับสามเณร  
 
ศีล ๒๒๗ : สำหรับภิกษุ

ศีล ๒๒๗ ข้อ : ศีลสำหรับพระภิกษุ มีในภิกขุปาฏิโมกข์, เป็นวินัยของสงฆ์ ทำผิดถือว่าเป็นอาบัติ สามารถแบ่งออกได้เป็นลำดับขั้น ตั้งแต่ขั้นรุนแรงจนกระทั่งเบาที่สุด ดังนี้

๑. ปาราชิก ............................. ๔ ข้อ ๗. เสขิยะ ๗๕ ข้อ โดยแบ่งเป็น ๔ หมวด คือ
๒. สังฆาทิเสส ....................... ๑๓ ข้อ       สารูป ........................... ๒๖ ข้อ
๓. อนิยต ................................ ๒ ข้อ       โภชนปฏิสังยุตต์ ............. ๓๐ ข้อ
๔. นิสสัคคิยปาจิตตีย์ .............. ๓๐ ข้อ       ธัมมเทสนาปฏิสังยุตต์ ...... ๑๖ ข้อ
๕. ปาจิตตีย์ .......................... ๙๒ ข้อ       ปกิณณกะ ....................... ๓ ข้อ
๖. ปาฏิเทสนียะ ....................... ๔ ข้อ ๘. อธิกรณสมถะ ...................... ๗ ข้อ

รวมทั้งหมดแล้ว ๒๒๗ ข้อ
      .: อาบัติปาราชิก ภิกษุต้องเข้าแล้วขาดจากความเป็นภิกษุอย่างเดียว
      .: อาบัติสังฆาทิเสส ภิกษุต้องเข้าแล้ว ต้องอยู่กรรมจึงพ้นได้
      .: อาบัตินอกนั้น ภิกษุต้องเข้าแล้ว ต้องแสดงต่อหน้าสงฆ์หรือคณะหรือภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง จึงพ้นได้.
 
๑. ปาราชิก มี ๔ ข้อ
๑. เสพเมถุน แม้กับสัตว์เดรัจฉานตัวเมีย (ร่วมสังวาสกับคนหรือสัตว์)
๒. ถือเอาทรัพย์ที่เจ้าของไม่ได้ให้มาเป็นของตน จากบ้านก็ดี จากป่าก็ดี (ขโมย)
๓. พรากกายมนุษย์จากชีวิต (ฆ่าคน)หรือแสวงหาศาสตราอันจะนำไปสู่ความตายแก่ร่างกายมนุษย์
๔. กล่าวอวดอุตตริมนุสสธัมม์ อันเป็นความเห็นอย่างประเสริฐ อย่างสามารถ น้อมเข้าในตัวว่า ข้าพเจ้ารู้อย่างนี้ ข้าพเจ้าเห็นอย่างนี้ (ไม่รู้จริง แต่โอ้อวดความสามารถของตัวเอง)

๒. สังฆาทิเสส มี ๑๓ ข้อ
๑. ปล่อยน้ำอสุจิด้วยความจงใจ เว้นไว้แต่ฝัน
๒. เคล้าคลึง จับมือ จับช้องผม ลูบคลำ จับต้องอวัยวะอันใดก็ตามของสตรีเพศ
๓. พูดจาหยาบคาย เกาะแกะสตรีเพศ เกี้ยวพาราสี
๔. การกล่าวถึงคุณในการบำเรอตนด้วยกาม หรือถอยคำพาดพิงเมถุน
๕. ทำตัวเป็นสื่อรัก บอกความต้องการของอีกฝ่ายให้กับหญิงหรือชาย แม้สามีกับภรรยา หรือแม้แต่หญิงขายบริการ
๖. สร้างกุฏิด้วยการขอ
๗. สร้างวิหารใหญ่ โดยพระสงฆ์มิได้กำหนดที่ รุกรานคนอื่น
๘. แกล้งใส่ความว่าปาราชิกโดยไม่มีมูล
๙. แกล้งสมมุติแล้วใส่ความว่าปาราชิกโดยไม่มีมูล
๑๐. ยุยงสงฆ์ให้แตกกัน
๑๑. เป็นพวกของผู้ที่ทำสงฆ์ให้แตกกัน
๑๒. เป็นผู้ว่ายากสอนยาก และต้องโดนเตือนถึง 3 ครั้ง
๑๓. ทำตัวเป็นเหมือนคนรับใช้ ประจบคฤหัสถ์
[กลับขึ้นด้านบน]
๓. อนิยต มี ๒ ข้อ ( อาบัติที่ไม่แน่ว่าจะปรับข้อไหน)
๑. การนั่งในที่ลับตา มีอาสนะกำบังอยู่กับสตรีเพศ และมีผู้มาเห็นเป็นผู้ที่เชื่อถือได้พูดขึ้นด้วยธรรม ๓ ประการอันใดอันหนึ่งกล่าวแก่ภิกษุนั้นได้แก่ ปาราชิกก็ดี สังฆาทิเสสก็ดี หรือปาจิตตีย์ก็ดี ภิกษุนั้นถือว่ามีความผิดตามที่อุบาสกผู้นั้นกล่าว
๒. ในสถานที่ที่ไม่เป็นที่ลับตาเสียทีเดียว แต่เป็นที่ที่จะพูดจาค่อนแคะสตรีเพศได้สองต่อสองกับภิกษุผู้เดียว และมีผู้มาเห็นเป็นผู้ที่เชื่อถือได้พูดขึ้นด้วยธรรม 2 ประการอันใดอันหนึ่งกล่าวแก่ภิกษุนั้นได้แก่ สังฆาทิเสสก็ดี หรือปาจิตตีย์ก็ดี ภิกษุนั้นถือว่ามีความผิดตามที่อุบาสกผู้นั้นกล่าว
[กลับขึ้นด้านบน]
๔. นิสสัคคิยปาจิตตีย์ ๓๐ ข้อ (อาบัติที่ต้องสละสิ่งของว่าด้วยเรื่องจีวร ไหม บาตร อย่างละ ๑๐ ข้อ)
๑. เก็บจีวรที่เกินความจำเป็นไว้เกิน ๑๐ วัน
๒. อยู่โดยปราศจากจีวรแม้แต่คืนเดียว
๓. เก็บผ้าที่จะทำจีวรไว้เกินกำหนด ๑ เดือน
๔. ใช้ให้ภิกษุณีซักผ้า
๕. รับจีวรจากมือของภิกษุณี
๖. ขอจีวรจากคฤหัสถ์ที่ไม่ใช่ญาติ เว้นแต่จีวรหายหรือถูกขโมย
๗. รับจีวรเกินกว่าที่ใช้นุ่ง เมื่อจีวรถูกชิงหรือหายไป
๘. พูดทำนองขอจีวรดีๆ กว่าที่เขากำหนดจะถวายไว้แต่เดิม
๙. พูดให้เขารวมกันซื้อจีวรดีๆ มาถวาย
๑๐. ทวงจีวรจากคนที่รับอาสาเพื่อซื้อจีวรถวายเกินกว่า ๓ ครั้ง
๑๑. หล่อเครื่องปูนั่งที่เจือด้วยไหม
๑๒. หล่อเครื่องปูนั่งด้วยขนเจียม (ขนแพะ แกะ) ดำล้วน
๑๓. ใช้ขนเจียมดำเกิน ๒ ส่วนใน ๔ ส่วน หล่อเครื่องปูนั่ง
๑๔. หล่อเครื่องปูนั่งใหม่ เมื่อของเดิมยังใช้ไม่ถึง ๖ ปี
๑๕. เมื่อหล่อเครื่องปูนั่งใหม่ ให้เอาของเก่าเจือปนลงไปด้วย
๑๖. นำขนเจียมไปด้วยตนเองเกิน ๓ โยชน์ เว้นแต่มีผู้นำไปให้
๑๗. ใช้ภิกษุณีที่ไม่ใช้ญาติทำความสะอาดขนเจียม
๑๘. รับเงินทอง
๑๙. ซื้อขายด้วยเงินทอง
๒๐. ซื้อขายโดยใช้ของแลก
๒๑. เก็บบาตรที่มีใช้เกินความจำเป็นไว้เกิน ๑๐ วัน
๒๒. ขอบาตร เมื่อบาตรเป็นแผลไม่เกิน ๕ แห่ง
๒๓. เก็บเภสัช ๕ (เนยใส เนยข้น น้ำมัน น้ำผึ้ง น้ำอ้อย)ไว้เกิน ๗ วัน
๒๔. แสวงและทำผ้าอาบน้ำฝนไว้เกินกำหนด ๑ เดือนก่อนหน้าฝน
๒๕. ให้จีวรภิกษุอื่นแล้วชิงคืนในภายหลัง
๒๖. ขอด้ายเอามาทอเป็นจีวร
๒๗. กำหนดให้ช่างทอทำให้ดีขึ้น
๒๘. เก็บผ้าจำนำพรรษา (ผ้าที่ถวายภิกษุเพื่ออยู่พรรษา) เกินกำหนด
๒๙. อยู่ป่าแล้วเก็บจีวรไว้ในบ้านเกิน ๖ คืน
๓๐. น้อมลาภสงฆ์มาเพื่อให้เขาถวายตน
[กลับขึ้นด้านบน]
๕. ปาจิตตีย์ มี ๙๒ ข้อ (ว่าด้วยอาบัติที่ไม่ต้องสละสิ่งของ)
๑.ห้ามพูดปด ๔๗.ห้ามขอของเกินกำหนดเวลาที่เขาอนุญาตไว้
๒.ห้ามด่า ๔๘.ห้ามไปดูกองทัพที่ยกไป
๓.ห้ามพูดส่อเสียด ๔๙.ห้ามพักอยู่ในกองทัพเกิน ๓ คืน
๔.ห้ามกล่าวธรรมพร้อมกับผู้ไม่ได้บวชในขณะสอน ๕๐.ห้ามดูเขารบกันเป็นต้น เมื่อไปในกองทัพ
๕.ห้ามนอนร่วมกับอนุปสัมบัน(ผู้ไม่ใช้ภิกษุ)เกิน ๓ คืน ๕๑.ห้ามดื่มสุราเมรัย
๖.ห้ามนอนร่วมกับผู้หญิง ๕๒.ห้ามจี้ภิกษุ
๗.ห้ามแสดงธรรมสองต่อสองกับผู้หญิง ๕๓.ห้ามว่ายน้ำเล่น
๘.ห้ามบอกคุณวิเศษที่มีจริงแก่ผู้มิได้บวช ๕๔.ห้ามแสดงความไม่เอื้อเฟื้อในวินัย
๙.ห้ามบอกอาบัติชั่วหยาบของภิกษุแก่ผู้มิได้บวช ๕๕.ห้ามหลอกภิกษุให้กลัว
๑๐.ห้ามขุดดินหรือใช้ให้ขุด ๕๖.ห้ามติดไฟเพื่อผิง
๑๑.ห้ามทำลายต้นไม้ ๕๗.ห้ามอาบน้ำบ่อยๆเว้นแต่มีเหตุ
๑๒.ห้ามพูดเฉไฉเมื่อถูกสอบสวน ๕๘.ให้ทำเครื่องหมายเครื่องนุ่งห่ม
๑๓.ห้ามติเตียนภิกษุผู้ทำการสงฆ์โดยชอบ ๕๙.วิกัปจีวรไว้แล้ว (ทำให้เป็นสองเจ้าของ-ให้ยืมใช้) จะใช้ต้องถอนก่อน
๑๔.ห้ามทิ้งเตียงตั่งของสงฆ์ไว้กลางแจ้ง ๖๐.ห้ามเล่นซ่อนบริขารของภิกษุอื่น
๑๕.ห้ามปล่อยที่นอนไว้ ไม่เก็บงำ ๖๑.ห้ามฆ่าสัตว์
๑๖.ห้ามนอนแทรกภิกษุผู้เข้าไปอยู่ก่อน ๖๒.ห้ามใช้น้ำมีตัวสัตว์
๑๗.ห้ามฉุดคร่าภิกษุออกจากวิหารของสงฆ์ ๖๓.ห้ามรื้อฟื้นอธิกรณ์ (คดีความ-ข้อโต้เถียง) ที่ชำระเป็นธรรมแล้ว
๑๘.ห้ามนั่งนอนทับเตียงหรือตั่งที่อยู่ชั้นบน ๖๔.ห้ามปกปิดอาบัติชั่วหยาบของภิกษุอื่น
๑๙.ห้ามพอกหลังคาวิหารเกิน ๓ ชั้น ๖๕.ห้ามบวชบุคคลอายุไม่ถึง ๒๐ ปี
๒๐.ห้ามเอาน้ำมีสัตว์รดหญ้าหรือดิน ๖๖.ห้ามชวนพ่อค้าผู้หนีภาษีเดินทางร่วมกัน
๒๑.ห้ามสอนนางภิกษุณีเมื่อมิได้รับมอบหมาย ๖๗.ห้ามชวนผู้หญิงเดินทางร่วมกัน
๒๒.ห้ามสอนนางภิกษุณีตั้งแต่อาทิตย์ตกแล้ว ๖๘.ห้ามกล่าวตู่พระธรรมวินัย (ภิกษุอื่นห้ามและสวดประกาศเกิน ๓ ครั้ง)
๒๓.ห้ามไปสอนนางภิกษุณีถึงที่อยู่ ๖๙.ห้ามคบภิกษุผู้กล่าวตู่พระธรรมวินัย
๒๔.ห้ามติเตียนภิกษุอื่นว่าสอนนางภิกษุณีเพราะเห็นแก่ลาภ ๗๐.ห้ามคบสามเณรผู้กล่าวตู่พระธรรมวินัย
๒๕.ห้ามให้จีวรแก่นางภิกษุณีผู้มิใช่ญาติ ๗๑.ห้ามพูดไถลเมื่อทำผิดแล้ว
๒๖.ห้ามเย็บจีวรให้นางภิกษุณีผู้มิใช่ญาติ ๗๒.ห้ามกล่าวติเตียนสิกขาบท
๒๗.ห้ามเดินทางไกลร่วมกับนางภิกษุณี ๗๓.ห้ามพูดแก้ตัวว่า เพิ่งรู้ว่ามีในปาฏิโมกข์
๒๘.ห้ามชวนนางภิกษุณีเดินทางเรือร่วมกัน ๗๔.ห้ามทำร้ายร่างกายภิกษุ
๒๙.ห้ามฉันอาหารที่นางภิกษุณีไปแนะให้เขาถวาย ๗๕.ห้ามเงื้อมือจะทำร้ายภิกษุ
๓๐.ห้ามนั่งในที่ลับสองต่อสองกับภิกษุณี ๗๖.ห้ามโจทภิกษุด้วยอาบัติสังฆาทิเสสที่ไม่มีมูล
๓๑.ห้ามฉันอาหารในโรงพักเดินทางเกิน ๓ มื้อ ๗๗.ห้ามก่อความรำคาญแก่ภิกษุอื่น
๓๒.ห้ามฉันอาหารรวมกลุ่ม ๗๘.ห้ามแอบฟังความของภิกษุผู้ทะเลาะกัน
๓๓.ห้ามรับนิมนต์แล้วไปฉันอาหารที่อื่น ๗๙.ให้ฉันทะแล้วห้ามพูดติเตียน
๓๔.ห้ามรับบิณฑบาตเกิน ๓ บาตร ๘๐.ขณะกำลังประชุมสงฆ์ ห้ามลุกไปโดยไม่ให้ฉันทะ
๓๕.ห้ามฉันอีกเมื่อฉันในที่นิมนต์เสร็จแล้ว ๘๑.ร่วมกับสงฆ์ให้จีวรแก่ภิกษุแล้ว ห้ามติเตียนภายหลัง
๓๖.ห้ามพูดให้ภิกษุที่ฉันแล้วฉันอีกเพื่อจับผิด ๘๒.ห้ามน้อมลาภสงฆ์มาเพื่อบุคคล
๓๗.ห้ามฉันอาหารในเวลาวิกาล ๘๓.ห้ามเข้าไปในตำหนักของพระราชา
๓๘.ห้ามฉันอาหารที่เก็บไว้ค้างคืน ๘๔.ห้ามเก็บของมีค่าที่ตกอยู่
๓๙.ห้ามขออาหารประณีตมาเพื่อฉันเอง ๘๕.เมื่อจะเข้าบ้านในเวลาวิกาล ต้องบอกลาภิกษุก่อน
๔๐.ห้ามฉันอาหารที่มิได้รับประเคน ๘๖.ห้ามทำกล่องเข็มด้วยกระดูก งา หรือเขาสัตว์
๔๑.ห้ามยื่นอาหารด้วยมือให้ชีเปลือยและนักบวชอื่นๆ ๘๗.ห้ามทำเตียง ตั่งมีเท้าสูงกว่าประมาณ
๔๒.ห้ามชวนภิกษุไปบิณฑบาตด้วยแล้วไล่กลับ ๘๘.ห้ามทำเตียง ตั่งที่หุ้มด้วยนุ่น
๔๓.ห้ามเข้าไปแทรกแซงในสกุลที่มีคน ๒ คน ๘๙.ห้ามทำผ้าปูนั่งมีขนาดเกินประมาณ
๔๔.ห้ามนั่งในที่ลับมีที่กำบังกับมาตุคาม (ผู้หญิง) ๙๐.ห้ามทำผ้าปิดฝีมีขนาดเกินประมาณ
๔๕.ห้ามนั่งในที่ลับ (หู) สองต่อสองกับมาตุคาม ๙๑.ห้ามทำผ้าอาบน้ำฝนมีขนาดเกินประมาณ
๔๖.ห้ามรับนิมนต์แล้วไปที่อื่นไม่บอกลา ๙๒.ห้ามทำจีวรมีขนาดเกินประมาณ
  [กลับขึ้นด้านบน]
๖. ปาฏิเทสนียะ มี ๔ ข้อ (ว่าด้วยอาบัติที่พึงแสดงคืน)
๑. ห้ามรับของคบเคี้ยว ของฉันจากมือภิกษุณีมาฉัน
๒. ให้ไล่นางภิกษุณีที่มายุ่งให้เขาถวายอาหาร
๓. ห้ามรับอาหารในสกุลที่สงฆ์สมมุติว่าเป็นเสขะ (อริยบุคคล แต่ยังไม่ได้บรรลุเป็นอรหันต์)
๔. ห้ามรับอาหารที่เขาไม่ได้จัดเตรียมไว้ก่อนมาฉันเมื่ออยู่ป่า
[กลับขึ้นด้านบน]
๗. เสขิยะ : ข้อที่ภิกษุพึงศึกษาเรื่องมารยาท ๗๕ ข้อ แบ่งเป็น ๔ หมวดคือ
หมวดที่ ๑ : สารูป (ความเหมาะสมในการเป็นสมณะ) มี ๒๖ ข้อ
๑.นุ่งให้เป็นปริมณฑล
(ล่างปิดเข่า บนปิดสะดือไม่ห้อยหน้าห้อยหลัง)
๑๔.ไม่พูดเสียงดังนั่งในบ้าน
๒.ห่มให้เป็นนปริมณฑล (ให้ชายผ้าเสมอกัน) ๑๕.ไม่โคลงกายไปในบ้าน
๓.ปกปิดกายด้วยดีไปในบ้าน ๑๖.ไม่โคลงกายนั่งในบ้าน
๔.ปกปิดกายด้วยดีนั่งในบ้าน ๑๗.ไม่ไกวแขนไปในบ้าน
๕.สำรวมด้วยดีไปในบ้าน ๑๘.ไม่ไกวแขนนั่งในบ้าน
๖.สำรวมด้วยดีนั่งในบ้าน ๑๙.ไม่สั่นศีรษะไปในบ้าน
๗.มีสายตาทอดลงไปในบ้าน (ตาไม่มองโน่นมองนี่) ๒๐.ไม่สั่นศีรษะนั่งในบ้าน
๘.มีสายตาทอดลงนั่งในบ้าน ๒๑.ไม่เอามือค้ำกายไปในบ้าน
๙.ไม่เวิกผ้าไปในบ้าน ๒๒.ไม่เอามือค้ำกายนั่งในบ้าน
๑๐.ไม่เวิกผ้านั่งในบ้าน ๒๓.ไม่เอาผ้าคลุมศีรษะไปในบ้าน
๑๑.ไม่หัวเราะดังไปในบ้าน ๒๔.ไม่เอาผ้าคลุมศีรษะนั่งในบ้าน
๑๒.ไม่หัวเราะดังนั่งในบ้าน ๒๕.ไม่เดินกระโหย่งเท้า ไปในบ้าน
๑๓.ไม่พูดเสียงดังไปในบ้าน ๒๖.ไม่นั่งรัดเข่าในบ้าน
  [กลับขึ้นด้านบน]

หมวดที่ ๒ : โภชนปฏิสังยุตต์ (ว่าด้วยการฉันอาหาร) มี ๓๐ ข้อ
๑.รับบิณฑบาตด้วยความเคารพ ๑๖.ไม่เอามือทั้งมือใส่ปากในขณะฉัน
๒.ในขณะบิณฑบาต จะแลดูแต่ในบาตร ๑๗.ไม่พูดในขณะที่มีคำข้าวอยู่ในปาก
๓.รับบิณฑบาตพอสมส่วนกับแกง (ไม่รับแกงมากเกินไป) ๑๘.ไม่ฉันโดยการโยนคำข้าวเข้าปาก
๔.รับบิณฑบาตแค่พอเสมอขอบปากบาตร ๑๙.ไม่ฉันกัดคำข้าว
๕.ฉันบิณฑบาตโดยความเคารพ ๒๐.ไม่ฉันทำกระพุ้งแก้มให้ตุ่ย
๖.ในขณะฉันบิณฑบาต และดูแต่ในบาตร ๒๑.ไม่ฉันพลางสะบัดมือพลาง
๗.ฉันบิณฑบาตไปตามลำดับ (ไม่ขุดให้แหว่ง) ๒๒.ไม่ฉันโปรยเมล็ดข้าว
๘.ฉันบิณฑบาตพอสมส่วนกับแกง ไม่ฉันแกงมากเกินไป ๒๓.ไม่ฉันแลบลิ้น
๙.ฉันบิณฑบาตไม่ขยุ้มแต่ยอดลงไป ๒๔.ไม่ฉันดังจับๆ
๑๐.ไม่เอาข้าวสุกปิดแกงและกับด้วยหวังจะได้มาก ๒๕.ไม่ฉันดังซูด ๆ
๑๑.ไม่ขอเอาแกงหรือข้าวสุกเพื่อประโยชน์แก่ตนมาฉัน หากไม่เจ็บไข้ ๒๖.ไม่ฉันเลียมือ
๑๒.ไม่มองดูบาตรของผู้อื่นด้วยคิดจะยกโทษ ๒๗.ไม่ฉันเลียบาตร
๑๓.ไม่ทำคำข้าวให้ใหญ่เกินไป ๒๘.ไม่ฉันเลียริมฝีปาก
๑๔.ทำคำข้าวให้กลมกล่อม ๒๙.ไม่เอามือเปื้อนจับภาชนะน้ำ
๑๕.ไม่อ้าปากเมื่อคำข้าวยังมาไม่ถึง ๓๐.ไม่เอาน้ำล้างบาตรมีเมล็ดข้าวเทลงในบ้าน
  [กลับขึ้นด้านบน]

หมวดที่ ๓ : ธัมมเทสนาปฏิสังยุตต์ (ว่าด้วยการแสดงธรรม) มี ๑๖ ข้อ
๑.ไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่มีร่มในมือ ๙.ไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่นั่งรัดเข่า
๒.ไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่มีไม้พลองในมือ ๑๐.ไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่โพกศีรษะ
๓.ไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่มีของมีคมในมือ ๑๑.ไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่คลุมศีรษะ
๔.ไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่มีอาวุธในมือ ๑๒.ไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่อยู่บนอาสนะ (หรือเครื่องปูนั่ง) โดยภิกษุอยู่บนแผ่นดิน
๕.ไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่สวมเขียงเท่า (รองเท้าไม้) ๑๓.ไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่นั่งบนอาสนะสูงกว่าภิกษุ
๖.ไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่สวมรองเท้า ๑๔.ไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่นั่งอยู่ แต่ภิกษุยืน
๗.ไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่ไปในยาน ๑๕.ภิกษุเดินไปข้างหลัง ไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่เดินไปข้างหน้า
๘.ไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่อยู่บนที่นอน ๑๖.ภิกษุเดินไปนอกทาง ไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่ไปในทาง
  [กลับขึ้นด้านบน]

หมวดที่ ๔ : ปกิณณกะ (เบ็ดเตล็ด) มี ๓ ข้อ
๑. ภิกษุไม่เป็นไข้ไม่ยืนถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ
๒. ภิกษุไม่เป็นไข้ไม่ถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ หรือบ้วนน้ำลายลงในของเขียว (พันธุ์ไม้ใบหญ้าต่างๆ)
๓. ภิกษุไม่เป็นไข้ไม่ถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ หรือบ้วนน้ำลายลงในน้ำ
[กลับขึ้นด้านบน]
๘. อธิกรณสมถะ มี ๗ ข้อ (ธรรมสำหรับระงับอธิกรณ์)
๑. ระงับอธิกรณ์ (คดีความ หรือความที่ตกลงกันไม่ได้) ในที่พร้อมหน้า (บุคคล วัตถุ ธรรม)
๒. ระงับอธิกรณ์ (คดีความ หรือความที่ตกลงกันไม่ได้) ด้วยการยกให้ว่าพระอรหันต์เป็นผู้มีสติ
๓. ระงับอธิกรณ์ (คดีความ หรือความที่ตกลงกันไม่ได้) ด้วยยกประโยชน์ให้ในขณะเป็นบ้า
๔. ระงับอธิกรณ์ (คดีความ หรือความที่ตกลงกันไม่ได้) ด้วยถือตามคำรับของจำเลย
๕. ระงับอธิกรณ์ (คดีความ หรือความที่ตกลงกันไม่ได้) ด้วยถือเสียงข้างมากเป็นประมาณ
๖. ระงับอธิกรณ์ (คดีความ หรือความที่ตกลงกันไม่ได้) ด้วยการลงโทษแก่ผู้ผิด
๗. ระงับอธิกรณ์ (คดีความ หรือความที่ตกลงกันไม่ได้) ด้วยให้ประนีประนอมหรือเลิกแล้วกันไป
[กลับขึ้นด้านบน]

      ...

   ธรรมะบรรยายเกี่ยวกับการรักษาศีล
อริยสัจ ๔ และปฏิบัติศีลวัตร โดย สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชฯ คลิกฟัง
มีศีลมีปัญญา โดย พระโพธิญาณเถร (ชา สุภทฺโท) คลิกฟัง
ให้ศีลรักษาเรา โดย พระโพธิญาณเถร (ชา สุภทฺโท) คลิกฟัง
ศีลวิสุทธิ โดย พระญาณสิทธาจารย์ (หลวงปู่สิม พุทธาจาโร) คลิกฟัง
อย่าละเมิดศีล โดย พระญาณสิทธาจารย์ (หลวงปู่สิม พุทธาจาโร) คลิกฟัง
กลิ่นของศีล โดย พระโพธิธรรมาจารย์เถระ (หลวงปู่สุวัจน์ สุวโจ) คลิกฟัง
ศีลานุสติ โดย พระโพธิธรรมาจารย์เถระ (หลวงปู่สุวัจน์ สุวโจ) คลิกฟัง
เจริญอสุภะชำระจิตด้วยศีล โดย พระสุธรรมคณาจารย์ (หลวงปู่เหรียญ วรลาโภ) คลิกฟัง
ศีลสังวร โดย พระสุธรรมคณาจารย์ (หลวงปู่เหรียญ วรลาโภ) คลิกฟัง
ให้เคารพศีล วินัย เสียสละ โดย พระสุธรรมคณาจารย์ (หลวงปู่เหรียญ วรลาโภ) คลิกฟัง
ศีลบารมี โดย พระสุธรรมคณาจารย์ (หลวงปู่เหรียญ วรลาโภ) คลิกฟัง
เมื่อศีลบริสุทธิ์ โดย พระสุธรรมคณาจารย์ (หลวงปู่เหรียญ วรลาโภ) คลิกฟัง

ฟังธรรมะบรรยาย
(มากกว่า ๔,๐๐๐ ไฟล์)

อ่านพระไตรปิฎก
(คัมภีร์สำคัญทางพุทธศาสนา)
อ่านหนังสือธรรมะออนไลน์
(โดยพระเกจิอาจารย์ชื่อดัง)
วิธีปฏิบัติธรรม
(ธรรมะภาคปฏิบัติ)
 

จุดมุ่งหมายสูงสุดของพระพุทธศาสนา
     จุดหมายสูงสุด ของพระพุทธศาสนา พึงบรรลุได้ด้วยความสุขหรือด้วยข้อปฏิบัติที่มีความสุข มิใช่บรรลุด้วยความทุกข์ หรือด้วยข้อปฏิบัติที่เป็นทุกข์
      ผู้ปฏิบัติจะต้องไม่ติดใจหลงไหลในความสุขที่เกิดขึ้นแก่ตน ไม่ปล่อยให้ความสุขที่เกิดขึ้นนั้น ครอบงำ
        จิตใจของตน ยังมีจิตใจเป็นอิสระ สามารถก้าวหน้าไปในธรรมเบื้องสูง ต่อๆ ไป จนบรรลุความเป็นอิสระ
        หลุดพ้นโดยบริบูรณ์
      ซึ่งเมื่อบรรลุจุดหมายนั้นแล้ว ก็สามารถเสวยความสุขที่เคยเสวยมาแล้ว โดยที่ความสุขนั้น ไม่มีโอกาส
        ครอบงำจิตใจ ทำให้ติดพันหลงไหลได้เลย
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต)

หลักแห่งพระพุทธศาสนาโดยสรุป
     พุทธศาสนาคือวิชาและระเบียบปฏิบัติ เพื่อให้รู้สิ่งทั้งปวงถูกต้องตามที่เป็นจริงว่าอะไรเป็นอะไร สิ่งทั้งปวง มีสภาพตามที่เป็นจริง คือ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่ใช่ตัวหรือของตัว ; แต่สัตว์ทั้งหลายยังหลงรัก หลงยึดติดสิ่งทั้งปวง เพราะอำนาจของการยึดมั่นที่ผิด ในพุทธศาสนามีวิธี ปฏิบัติเรียกว่า ศีล สมาธิ ปัญญา เพื่อใช้เป็นเครื่องมือ ตัดการติดการยึดมั่นนั้นเสีย อุปาทาน การยึดมั่นนั้นมีสิ่งที่ลงเกาะหรือจับยึด คือ ขันธ์ทั้งห้า คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
      เมื่อรู้จักขันธ์ทั้งห้า ตามที่เป็นจริง ก็จะสามารถเข้าใจสิ่งทั้งปวงจนถึงกับเบื่อหน่ายคลายความอยาก ไม่ยึดอะไร ติดอะไร และเราควรจะมีชีวิตอยู่อย่างที่เรียกว่า "เป็นอยู่ชอบ" คือให้ วันคืนเต็มไปด้วยความปีติ ปราโมทย์ อันเกิดมาจากการกระทำที่ดีที่งามที่ถูกต้องอยู่เป็นประจำ แล้วระงับความฟุ้งซ่าน เกิดสมาธิ เกิดความเห็นแจ้งได้เรื่อยๆ ไป จนกระทั่งเกิดความเบื่อหน่าย ความคลายออก ความหลุดพ้น และนิพพานได้ตามความเหมาะสมของสิ่งแวดล้อม
      ถ้าเราจะรีบเร่งทำให้ได้ผลเร็วขึ้น ก็มีแนวปฏิบัติที่เรียกว่า วิปัสสนาธุระ เริ่มตั้งแต่มี ความประพฤติบริสุทธิ์ มีใจบริสุทธิ์ มีความเห็นบริสุทธิ์ เรื่อยขึ้นไปจนถึงมีปัญญา คือความเห็นแจ้งบริสุทธิ์ ในที่สุดก็จะตัดกิเลสที่ผูกมัดคนให้ติดอยู่กับวิสัยโลกออกเสียได้ เรียกว่า การบรรลุมรรคผล
ท่านพุทธทาสภิกขุ : คู่มือมนุษย์



สงวนลิขสิทธิ์โดย ธรรมะพีเดีย.คอม
เว็บไซต์นี้จัดทำขึ้นเพื่อเผยแผ่พุทธศาสนา โดยไม่มุ่งหวังผลทางพาณิชย์
อนุญาตให้นำไปเผยแผ่เพื่อสืบต่อพุทธศาสนาได้ตามกุศลเจตนา

www.thammapedia.com
( ศูนย์เผยแผ่พระพุทธธรรม )
Copyright © 2008 ALL RIGHTS RESERVED
 
 
หน้าหลัก