หน้าหลัก ธรรมะปฏิบัติ การรักษาศีล
Search:
หน้าแรก : หมวดธรรมะปฏิบัติ

“อานนท์ ! พุทธบริษัททั้งสี่ คือภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ทำสักการะบูชาด้วยเครื่องบูชาสักการะทั้งหลายอันเป็นอามิส เช่น ดอกไม้ ธูป เทียน เป็นต้น หาชื่อว่าบูชาตถาคตด้วยการบูชาอันยิ่งไม่ อานนท์เอย ! ผู้ใดปฏิบัติตามธรรมปฏิบัติอันชอบยิ่ง ปฏิบัติธรรมอันเหมาะสม ผู้นั้นแลชื่อว่าสักการะบูชาเราด้วยการบูชาอันยอดเยี่ยม”

พุทธโอวาทก่อนปรินิพพาน
อาจารย์วศิน อินทสระ

"ดูก่อนอานนท์ ธรรมหนึ่งคือ..
อานาปานสติสมาธิ
ภิกษุเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมยังสติปัฏฐาน ๔ ให้บริบูรณ์,
สติปัฏฐาน ๔ อันภิกษุเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมยังโพชฌงค์ ๗ ให้บริบูรณ์,
โพชฌงค์ ๗
อันภิกษุเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมยังวิชชาและ วิมุติให้บริบูรณ์"

“..ดูก่อนภิกษุทั้งหลายธรรม ๒ อย่าง เป็นไปในส่วนแห่งวิชชา ธรรม ๒ อย่างเป็นไฉน
คือ สมถะ ๑ วิปัสสนา ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
   สมถะ ที่ภิกษุเจริญแล้ว... ย่อมอบรมจิต จิตที่อบรมดีแล้ว... ย่อมละราคะได้
   วิปัสสนา ที่อบรมดีแล้ว.. ย่อมอบรมปัญญา ปัญญาที่อบรมดีแล้ว.. ย่อมละอวิชชาได้"

"ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะสำรอกราคะได้ จึงชื่อว่าเจโตวิมุติ เพราะสำรอกอวิชชาได้ ชื่อว่าปัญญาวิมุติ"

หนังสือ พระพุทธศาสนาจากพระโอษฐ์
รองศาสตราจารย์แสง จันทร์งาม

การรักษาศีล
ความหมายของศีล
      "ศีล" นั้น แปลว่า "ปกติ" คือสิ่งหรือกติกาที่บุคคลจะต้องระวังรักษาตามเพศและฐานะ ศีลนั้นมีหลายระดับ คือ ศีล ๕ ศีล ๘ ศีล ๑๐ และ ศีล ๒๒๗ และในบรรดาศีลชนิดเดียวก็ยังจัดแยกออกเป็นระดับธรรมดา มัชฌิมศีล (ศีลระดับกลาง) และอธิศีล (ศีลอย่างสูง ศีลอย่างอุกฤษฏ์)
      การรักษาศีลเป็นการเพียรพยายามเพื่อระงับโทษทางกายและวาจา อันเป็นเพียงกิเลสหยาบมิให้กำเริบขึ้น และเป็นการบำเพ็ญบุญบารมีที่สูงขึ้นกว่าการให้ทาน ทั้งในการถือศีลด้วยกันเอง ก็ยังได้บุญมากและน้อยต่างกันไปตามลำดับต่อไปนี้คือ
      ๑. การให้อภัยทาน แม้จะมากถึง ๑๐๐ ครั้ง ก็ยังได้บุญน้อยกว่าการถือศีล ๕ แม้จะได้ถือแต่เพียงครั้งเดียวก็ตาม
      ๒. การถือศีล ๕ แม้จะมากถึง ๑๐๐ ครั้ง ก็ยังได้บุญน้อยกว่าการถือศีล ๘ แม้จะถือแต่เพียงครั้งเดียวก็ตาม
      ๓. การถือศีล ๘ แม้จะมากถึง ๑๐๐ ครั้ง ก็ยังได้บุญน้อยกว่าการถือศีล ๑๐ คือการบวชเป็นสามเณรในพระพุทธศาสนา แม้จะบวชมาได้แต่เพียงวันเดียวก็ตาม
      ๔. การที่ได้บวชเป็นสามเณรในพระพุทธศาสนา แล้วรักษาศีล ๑๐ ไม่ให้ขาด ไม่ด่างพร้อย แม้จะนานถึง ๑๐๐ ปี ก็ยังได้บุญน้อยกว่า ผู้ที่ได้อุปสมบทเป็นพระในพระพุทธศาสนา มีศีลปาฏิโมกข์สังวร ๒๒๗ แม้จะบวชมาได้เพียงวันเดียวก็ตาม
วิธีสร้างบุญบารมี : สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชฯ
     ศีล คือ ความประพฤติดีทางกายและวาจา, การรักษากายและวาจาให้เรียบร้อย, ข้อปฏิบัติสำหรับควบคุมกายและวาจา ให้ตั้งอยู่ในความดีงาม, การรักษาปกติตามระเบียบวินัย, ปกติมารยาทที่ปราศจากโทษ, ข้อปฏิบัติในการฝึกหัดกายวาจาให้ดียิ่งขึ้น, ความสุจริตทางกายวาจาและอาชีพ; มักใช้เป็นคำเรียกอย่างง่ายสำหรับคำว่า อธิศีลสิกขา
พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ : พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต)


จำแนกตามประเภทบุคคล
๑. ศีล ๕ สำหรับทุกคน ๔. ศีล ๒๒๗ ศีลสำหรับพระภิกษุ
๒. ศีล ๘ อุโบสถศีล ๕. ศีล ๓๑๑ ศีลสำหรับพระภิกษุณี
๓. ศีล ๑๐ สำหรับสามเณร  

      ...

   โดย สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชฯ
อริยสัจ ๔ และปฏิบัติศีลวัตร คลิกฟัง
   โดย พระพรหมมังคลาจารย์ (ปัญญานันทภิกขุ)
หลักปฏิบัติสามประการ (ศีล) คลิกฟัง
ธรรมนูญชีวิต (ศีลเป็นระบบของชีวิต) คลิกฟัง
หลักการรักษาศีลอุโบสถ คลิกฟัง
รักษาศีลอุโบสถเพื่ออะไร คลิกฟัง
ประโยชน์จากการมีศีล คลิกฟัง
สังคมวุ่นวายเพราะไร้ศีลธรรม คลิกฟัง
   โดย พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต)
สมาทานศีล อธิษฐาน แผ่เมตตา มรณสติ ระลึกถึงบุญ ข้อห้าม คลิกฟัง
รักษาศีล ๘ อย่าพูดแค่ว่าได้บุญ ต้องรู้ว่าศีล ๘ มาหนุนให้ก้าวไปสู่การพัฒนาจิตใจและปัญญาอย่างไร คลิกฟัง
ถ้ารู้คุณค่าของศีล ๘ ถูกต้องแล้ว จะรักษาอุโบสถแบบไหนๆ ก็เลือกได้อย่างสมเป็นพุทธชน คลิกฟัง
   โดย พระโพธิญาณเถร (ชา สุภทฺโท)
รับศีลต้องรักษา คลิกฟัง
มีศีลมีปัญญา คลิกฟัง
วันอุโบสถศีล คลิกฟัง
ให้ศีลรักษาเรา คลิกฟัง
   โดย หลวงปู่จันทา ถาวโร
นายพรานคืนศีล กค 33 คลิกฟัง
อานิสสงส์ของศีล คลิกฟัง
   โดย พระญาณสิทธาจารย์ (หลวงปู่สิม พุทธาจาโร)
ศีลทำให้มีความสุข คลิกฟัง
หลักของศีล ๘ คลิกฟัง
ศีลวิสุทธิ คลิกฟัง
รักษาศีลอย่าคิดมาก คลิกฟัง
อย่าละเมิดศีล คลิกฟัง
   โดย พระโพธิธรรมาจารย์เถระ (หลวงปู่สุวัจน์ สุวโจ)
กลิ่นของศีล คลิกฟัง
ให้ศีล ๕ คลิกฟัง
ศีล - เจตนาละเว้น คลิกฟัง
ศีลานุสติ คลิกฟัง
การสมาทานศีล คลิกฟัง
เจตนาละเว้นคือศีล คลิกฟัง
ศีลเป็นเครื่องประกันสังคมและชีวิต คลิกฟัง
สนทนาธรรม เรื่องศีล คลิกฟัง
ศีลและธรรมเป็นของคู่กัน คลิกฟัง
บุญเกิดขึ้นจากการรักษาศีล คลิกฟัง
ศีล ๕ คลิกฟัง
อุโบสถศีล คลิกฟัง
ศีล-ถ้ำผาปล่อง คลิกฟัง
   โดย พระสุธรรมคณาจารย์ (หลวงปู่เหรียญ วรลาโภ)
เจริญอสุภะ ชำระจิตด้วยศีล คลิกฟัง
ผู้มีศีลย่อมไม่ตกไปสู่ที่ชั่ว คลิกฟัง
อนุภาพแห่งศีล คลิกฟัง
การรักษาศีลแปด คลิกฟัง
ศีลสังวร คลิกฟัง
ให้เคารพศีล วินัย เสียสละ คลิกฟัง
ศีลบารมี คลิกฟัง
เมื่อศีลบริสุทธิ์ คลิกฟัง
หอมด้วยศีลงามด้วยธรรม คลิกฟัง
อบรมศีลสามเณร คลิกฟัง
   โดย พระราชสังวรญาณ (หลวงพ่อพุธ ฐานิโย)
ศีลเป็นคุณธรรมของมนุษย์ คลิกฟัง
ศีล-วิธีทำสมาธิเพื่อแก้ปัญหา คลิกฟัง

ฟังธรรมะบรรยาย
(มากกว่า ๔,๐๐๐ ไฟล์)

อ่านพระไตรปิฎก
(คัมภีร์สำคัญทางพุทธศาสนา)
อ่านหนังสือธรรมะออนไลน์
(โดยพระเกจิอาจารย์ชื่อดัง)
วิธีปฏิบัติธรรม
(ธรรมะภาคปฏิบัติ)
 

จุดมุ่งหมายสูงสุดของพระพุทธศาสนา
     จุดหมายสูงสุด ของพระพุทธศาสนา พึงบรรลุได้ด้วยความสุขหรือด้วยข้อปฏิบัติที่มีความสุข มิใช่บรรลุด้วยความทุกข์ หรือด้วยข้อปฏิบัติที่เป็นทุกข์
      ผู้ปฏิบัติจะต้องไม่ติดใจหลงไหลในความสุขที่เกิดขึ้นแก่ตน ไม่ปล่อยให้ความสุขที่เกิดขึ้นนั้น ครอบงำ
        จิตใจของตน ยังมีจิตใจเป็นอิสระ สามารถก้าวหน้าไปในธรรมเบื้องสูง ต่อๆ ไป จนบรรลุความเป็นอิสระ
        หลุดพ้นโดยบริบูรณ์
      ซึ่งเมื่อบรรลุจุดหมายนั้นแล้ว ก็สามารถเสวยความสุขที่เคยเสวยมาแล้ว โดยที่ความสุขนั้น ไม่มีโอกาส
        ครอบงำจิตใจ ทำให้ติดพันหลงไหลได้เลย
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต)

หลักแห่งพระพุทธศาสนาโดยสรุป
     พุทธศาสนาคือวิชาและระเบียบปฏิบัติ เพื่อให้รู้สิ่งทั้งปวงถูกต้องตามที่เป็นจริงว่าอะไรเป็นอะไร สิ่งทั้งปวง มีสภาพตามที่เป็นจริง คือ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่ใช่ตัวหรือของตัว ; แต่สัตว์ทั้งหลายยังหลงรัก หลงยึดติดสิ่งทั้งปวง เพราะอำนาจของการยึดมั่นที่ผิด ในพุทธศาสนามีวิธี ปฏิบัติเรียกว่า ศีล สมาธิ ปัญญา เพื่อใช้เป็นเครื่องมือ ตัดการติดการยึดมั่นนั้นเสีย อุปาทาน การยึดมั่นนั้นมีสิ่งที่ลงเกาะหรือจับยึด คือ ขันธ์ทั้งห้า คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
      เมื่อรู้จักขันธ์ทั้งห้า ตามที่เป็นจริง ก็จะสามารถเข้าใจสิ่งทั้งปวงจนถึงกับเบื่อหน่ายคลายความอยาก ไม่ยึดอะไร ติดอะไร และเราควรจะมีชีวิตอยู่อย่างที่เรียกว่า "เป็นอยู่ชอบ" คือให้ วันคืนเต็มไปด้วยความปีติ ปราโมทย์ อันเกิดมาจากการกระทำที่ดีที่งามที่ถูกต้องอยู่เป็นประจำ แล้วระงับความฟุ้งซ่าน เกิดสมาธิ เกิดความเห็นแจ้งได้เรื่อยๆ ไป จนกระทั่งเกิดความเบื่อหน่าย ความคลายออก ความหลุดพ้น และนิพพานได้ตามความเหมาะสมของสิ่งแวดล้อม
      ถ้าเราจะรีบเร่งทำให้ได้ผลเร็วขึ้น ก็มีแนวปฏิบัติที่เรียกว่า วิปัสสนาธุระ เริ่มตั้งแต่มี ความประพฤติบริสุทธิ์ มีใจบริสุทธิ์ มีความเห็นบริสุทธิ์ เรื่อยขึ้นไปจนถึงมีปัญญา คือความเห็นแจ้งบริสุทธิ์ ในที่สุดก็จะตัดกิเลสที่ผูกมัดคนให้ติดอยู่กับวิสัยโลกออกเสียได้ เรียกว่า การบรรลุมรรคผล
ท่านพุทธทาสภิกขุ : คู่มือมนุษย์



สงวนลิขสิทธิ์โดย ธรรมะพีเดีย.คอม
เว็บไซต์นี้จัดทำขึ้นเพื่อเผยแผ่พุทธศาสนา โดยไม่มุ่งหวังผลทางพาณิชย์
อนุญาตให้นำไปเผยแผ่เพื่อสืบต่อพุทธศาสนาได้ตามกุศลเจตนา

www.thammapedia.com
( ศูนย์เผยแผ่พระพุทธธรรม )
Copyright © 2008 ALL RIGHTS RESERVED
 
 
หน้าหลัก