หน้าหลัก ศาสนพิธี วันสำคัญทางศาสนา วันมาฆบูชา
Search:

"พิธีกรรมทางศาสนานั้น เปรียบเสมือนเปลือกของต้นไม้ ต้นไม้ที่ปราศจากเปลือกห่อหุ้ม ย่ิอมไม่สามารถยืนต้นอยู่ได้"


หน้าแรก : หมวดศาสนพิธี
วันมาฆบูชา
วันสำคัญทางพุทธศาสนา เรียงตามลำดับดังนี้
๑. วันวิสาขบูชา : ประสูติ ตรัสรู้ ปรินิพพาน ๕. วันเข้าพรรษา
๒. วันอาสาฬหบูชา : ปฐมเทศนา-ประกาศศาสนา ๖. วันออกพรรษา
๓. วันมาฆบูชา : จาตุรงคสันนิบาต-โอวาทปาฏิโมกข์ ๗. วันพระ หรือวันธรรมสวนะ
๔. วันอัฏฐมีบูชา : ถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระ  
เนื้อหาหลักนำมาจาก : หอมรดกไทย และ wiki
วันมาฆบูชา (บาลี: มาฆปูชา; อังกฤษ: Magha Puja)
       เป็นวันที่พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงประทานพระโอวาทสำคัญ อันถือได้ว่าเป็นหัวใจของคำสอนในพระพุทธศาสนา คือ โอวาทปาฏิโมกข์ ในวันเพ็ญ (ขึ้น ๑๕ ค่ำ) เดือน ๓ ดวงจันทร์โคจรมาเสวยมาฆฤกษ์ แต่ถ้าปีใดมี อธิกมาส คือ เดือนแปดสองหน วันมาฆบูชาก็จะเลื่อนไปเป็นวันเพ็ญกลางเดือน ๔ เหตุการณ์ดังกล่าวนี้เกิดขึ้นที่ พระเวฬุวัน เมืองราชคฤห์ รัฐมคธ ในปีแรกของการตรัสรู้ของพระพุทธองค์ คือ หลังจากตรัสรู้แล้วได้ ๙ เดือน

ความประจวบกันพอดีของเหตุการณ์ในวันนี้ นับว่าเป็นเรื่องที่อัศจรรย์เป็นอย่างยิ่ง และถูกเรียกว่า จาตุรงคสันนิบาต แปลว่า การประชุมอันประกอบด้วยองค์ประกอบ ๔ อย่าง ได้แก่
       ๑. เป็นการมาชุมนุมกันของพระสงฆ์สาวก จำนวน ๑,๒๕๐ รูป เพื่อเฝ้าพระบรมศาสดา โดยมิได้นัดหมาย
       ๒. พระสงฆ์สาวกดังกล่าวล้วนแต่เป็นพระอรหันต์ทั้งสิ้น
       ๓. พระสงฆ์สาวกดังกล่าวล้วนแต่ได้รับการอุปสมบทจากพระพุทธเจ้าด้วยวิธี เอหิภิกขุอุปสัมปทา
       ๔. วันนั้นดวงจันทร์เพ็ญเสวยมาฆฤกษ์เต็มบริบูรณ์

โอวาทปาฏิโมกข์ ที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงเป็นการประมวลคำสอนหลักของพระพุทธศาสนา เพื่อให้พระสงฆ์สาวกนำไปประพฤติปฏิบัติ และนำไปสั่งสองผู้อื่นในแนวทางเดียวกัน คือ

       ขนฺตี ปรมํ ตโป ตีติกฺขา : ขันตี คือความอดกลั้น เป็นธรรมเครื่องเผากิเลสอย่างยิ่ง
       นิพฺพานํ ปรมํ วทนฺติ พุทฺธา : ผู้รู้ทั้งหลาย กล่าวพระนิพพานว่าเป็นธรรมอันยิ่ง
       น หิ ปพฺพชิโต ปรูปฆาตี : ผู้กำจัดสัตว์อื่นอยู่ ไม่ชื่อว่าเป็นบรรพชิตเลย
       สมโณ โหติ ปรํ วิเหธยนฺโต : ผู้ทำสัตว์อื่นให้ลำบากอยู่ ไม่ชื่อว่าเป็นสมณะเลย

       สพฺพปาปสฺส อกรณํ :การไม่ทำความชั่วทั้งปวง
       กุสลสฺสุปสมฺปทา : การทำความดีให้ถึงพร้อม
       สจิตฺต ปริโยทปนํ : การทำใจให้สะอาดบริสุทธิ์
       เอตํ พุทฺธานสาสนํ :นี้เป็นคำสอนของพระพุทธศาสนา

       อนูปวาโท อนูปฆาโต : การไม่พูดร้าย การไม่ทำร้าย
       ปาติโมกฺเข จ สํวโร : การสำรวมในปาติโมกข์
       มตฺตญฺญุตา จ ภตฺตสฺมึ : ความเป็นผู้รู้ประมาณในการบริโภค
       ปนฺตญฺจ สยนาสนํ : การนอน การนั่ง ในที่อันสงัด
       อธิ จิตฺเต จ อาโยโค : ความหมั่นประกอบในการทำจิตให้ยิ่ง
       เอตํ พุทฺธานสาสนนฺติ : นี้เป็นคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย

มีข้อความในโอวาทปาฏิโมกข์ ที่อาจจะจำเพาะเจาะจงสำหรับนักบวชหรือบรรพชิต และบางข้อก็นำไปประพฤติปฏิบัติได้ ทั้งบรรพชิตและผู้ครองเรือน อย่างไรก็ตาม ข้อความในโอวาทปาฏิโมกข์ก็ได้แสดงถึง จุดหมายสูงสุด แห่งพระพุทธศาสนา คือ พระนิพพานดังนั้นพุทธศาสนิกชนทุกหมู่เหล่า จึงควรศึกษาพระโอวาทปาฏิโมกข์ให้เข้าใจแจ่มแจ้ง แล้วน้อมนำไปประพฤติปฏิบัติ ตามฐานะและกำลังความสามารถของตน จึงจะได้ชื่อว่าเป็นพุทธศาสนิกชนที่แท้จริง

ในวันนี้พุทธศาสนิกชนก็จะไปประกอบศาสนกิจ เพื่อน้อมระลึกถึงคุณพระรัตนตรัย เช่นเดียวกับที่ประพฤติปฏิบัติในวันวิสาขบูชา และวันอาสาฬหบูชา คือ นำดอกไม้ ธูป เทียน ไปนมัสการปูชนียวัตถุที่สำคัญ อันได้แก่ พระธาตุเจดีย์ หรือพระพุทธปฏิมาเป็นต้น และฟังพระธรรมเทศนาการแสดงธรรมในวันนี้ จะแสดงธรรมในเรื่องพระโอวาทปาฏิโมกข์

 

      แบบประกอบนักธรรมตรี - ศาสนพิธี เล่ม ๑ : หลักสูตรศึกษา นักธรรมชั้นตรี
      แบบประกอบนักธรรมตรี - ศาสนพิธีสังเขป : หลักสูตรศึกษา นักธรรมชั้นตรี
      แบบประกอบนักธรรมโท - ศาสนพิธี เล่ม ๒ : หลักสูตรศึกษา นักธรรมชั้นโท


   โดย พระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ)
>
มาฆบูชาเทศนา -:การมีสติสัมปชัญญะต่อสู้ความเจ็บไข้ คลิกฟัง
มาฆบูชาเทศนา กัณฑ์ ๑ -: โอวาทปาฏิโมกข์ คลิกฟัง
มาฆบูชาเทศนา กัณฑ์ ๒ -: ความเป็นพระอรหันต์ คลิกฟัง
มาฆบูชาเทศนา กัณฑ์ ๓ -: พระไตรลักษณ์ คลิกฟัง
มาฆบูชาเทศนา กัณฑ์ ๑ -: พระอรหันต์อย่าลืม คลิกฟัง
มาฆบูชาเทศนา กัณฑ์ ๒ -: จิตนี้ประภัสสร คลิกฟัง
มาฆบูชาเทศนา กัณฑ์ ๓ -:การทำจิตให้ประภัสสรชนิดถาวร คลิกฟัง
มาฆบูชาเทศนา กัณฑ์ ๑ -:โอวาทปาฏิโมกข์ คลิกฟัง
มาฆบูชาเทศนา กัณฑ์ ๒ -:ไม่มีตนแล้วของตนจะมีได้อย่างไร คลิกฟัง
มาฆบูชาเทศนา กัณฑ์ ๓ -:การวางของหนักคือการดับทุกข์ คลิกฟัง
มาฆบูชาเทศนา กัณฑ์ ๔ -:การทำลายซึ่งตัวกู-ของกู คลิกฟัง
มาฆบูชาเทศนา กัณฑ์ ๑ -:พระอรหันต์คือใคร ? คลิกฟัง
มาฆบูชาเทศนา กัณฑ์ ๒ -:บุถุชนคือใคร ? คลิกฟัง
มาฆบูชาเทศนา กัณฑ์ ๓ -:ลักษณะของพระอรหันต์ คลิกฟัง
มาฆบูชาเทศนา กัณฑ์ ๑ -:พุทธศาสนาไม่สอนให้หยุดหรือติดอยู่เพีย... คลิกฟัง
มาฆบูชาเทศนา กัณฑ์ ๒ -:รู้จักพระอรหันต์ คือ รู้จักว่าตนเองมี.. คลิกฟัง
มาฆบูชาเทศนา กัณฑ์ ๑ -:การมีชีวิตอยู่เหนือความชั่ว-ดี คลิกฟัง
มาฆบูชาเทศนา กัณฑ์ ๒ -:การเคารพหน้าที่ คลิกฟัง
มาฆบูชาเทศนา กัณฑ์ ๑ -:อตัมมยตา ความที่ไม่สำเร็จมาจากสิ่งนั้.. คลิกฟัง
มาฆบูชาเทศนา กัณฑ์ ๒ -:อตัมมยตา มนตราสำหรับชีวิต คลิกฟัง
มาฆบูชาเทศนา -:พระรัตนตรัยที่ท่านทั้งหลายยังไม่รู้จัก คลิกฟัง
มาฆบูชาเทศนา -:พระพุทธเจ้ายังไม่ตาย คลิกฟัง
มาฆบูชาเทศนา กัณฑ์ ๑ -:คาถาเย้ยตัณหา คลิกฟัง
มาฆบูชาเทศนา กัณฑ์ ๒ -:อิทัปปัจจยตา คลิกฟัง
มาฆบูชาเทศนา กัณฑ์ ๒ -:พระพุทธเจ้าสามความหมาย คลิกฟัง
มาฆบูชาเทศนา กัณฑ์ ๓ -:การมีชีวิตอยู่ด้วยธรรมะ คลิกฟัง
มาฆบูชาเทศนา กัณฑ์ ๔ - ทางเดินของชีวิต คลิกฟัง
มาฆบูชาเทศนา กัณฑ์ ๒ -: พระคุณของพระพุทธเจ้าในแบบต่างๆ กัน คลิกฟัง
มาฆบูชาเทศนา พ.ศ. ๒๕๓๓ กัณฑ์ที่ ๑ : หลักเกณฑ์ที่จะช่วยโลกให้.. คลิกฟัง
มาฆบูชาเทศนา พ.ศ. ๒๕๓๓ กัณฑ์ที่ ๒ : อนุโมทนาและธรรมปฏิสันถาร.. คลิกฟัง
มาฆบูชาเทศนา พ.ศ. ๒๕๓๕ กัณฑ์ที่ ๑ : หัวข้อธรรมที่ต้องรู้และค.. คลิกฟัง
ใจความสำคัญของวันมาฆบูชา ที่ท่านยังไม่รู้จัก คลิกฟัง
   โดย พระพรหมมังคลาจารย์ (ปัญญานันทภิกขุ)
มาฆบูชา คลิกฟัง
วันมาฆบูชา ๑ คลิกฟัง
วันมาฆบูชา ๒ คลิกฟัง
วันมาฆบูชา ๓ คลิกฟัง
วันมาฆบูชา ๔ คลิกฟัง
วันมาฆบูชา ๕ คลิกฟัง

ฟังธรรมะบรรยาย
(มากกว่า ๔,๐๐๐ ไฟล์)

อ่านพระไตรปิฎก
(คัมภีร์สำคัญทางพุทธศาสนา)
อ่านหนังสือธรรมะออนไลน์
(โดยพระเกจิอาจารย์ชื่อดัง)
วิธีปฏิบัติธรรม
(ธรรมะภาคปฏิบัติ)
 

จุดมุ่งหมายสูงสุดของพระพุทธศาสนา
     จุดหมายสูงสุด ของพระพุทธศาสนา พึงบรรลุได้ด้วยความสุขหรือด้วยข้อปฏิบัติที่มีความสุข มิใช่บรรลุด้วยความทุกข์ หรือด้วยข้อปฏิบัติที่เป็นทุกข์
      ผู้ปฏิบัติจะต้องไม่ติดใจหลงไหลในความสุขที่เกิดขึ้นแก่ตน ไม่ปล่อยให้ความสุขที่เกิดขึ้นนั้น ครอบงำ
        จิตใจของตน ยังมีจิตใจเป็นอิสระ สามารถก้าวหน้าไปในธรรมเบื้องสูง ต่อๆ ไป จนบรรลุความเป็นอิสระ
        หลุดพ้นโดยบริบูรณ์
      ซึ่งเมื่อบรรลุจุดหมายนั้นแล้ว ก็สามารถเสวยความสุขที่เคยเสวยมาแล้ว โดยที่ความสุขนั้น ไม่มีโอกาส
        ครอบงำจิตใจ ทำให้ติดพันหลงไหลได้เลย
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต)

หลักแห่งพระพุทธศาสนาโดยสรุป
     พุทธศาสนาคือวิชาและระเบียบปฏิบัติ เพื่อให้รู้สิ่งทั้งปวงถูกต้องตามที่เป็นจริงว่าอะไรเป็นอะไร สิ่งทั้งปวง มีสภาพตามที่เป็นจริง คือ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่ใช่ตัวหรือของตัว ; แต่สัตว์ทั้งหลายยังหลงรัก หลงยึดติดสิ่งทั้งปวง เพราะอำนาจของการยึดมั่นที่ผิด ในพุทธศาสนามีวิธี ปฏิบัติเรียกว่า ศีล สมาธิ ปัญญา เพื่อใช้เป็นเครื่องมือ ตัดการติดการยึดมั่นนั้นเสีย อุปาทาน การยึดมั่นนั้นมีสิ่งที่ลงเกาะหรือจับยึด คือ ขันธ์ทั้งห้า คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
      เมื่อรู้จักขันธ์ทั้งห้า ตามที่เป็นจริง ก็จะสามารถเข้าใจสิ่งทั้งปวงจนถึงกับเบื่อหน่ายคลายความอยาก ไม่ยึดอะไร ติดอะไร และเราควรจะมีชีวิตอยู่อย่างที่เรียกว่า "เป็นอยู่ชอบ" คือให้ วันคืนเต็มไปด้วยความปีติ ปราโมทย์ อันเกิดมาจากการกระทำที่ดีที่งามที่ถูกต้องอยู่เป็นประจำ แล้วระงับความฟุ้งซ่าน เกิดสมาธิ เกิดความเห็นแจ้งได้เรื่อยๆ ไป จนกระทั่งเกิดความเบื่อหน่าย ความคลายออก ความหลุดพ้น และนิพพานได้ตามความเหมาะสมของสิ่งแวดล้อม
      ถ้าเราจะรีบเร่งทำให้ได้ผลเร็วขึ้น ก็มีแนวปฏิบัติที่เรียกว่า วิปัสสนาธุระ เริ่มตั้งแต่มี ความประพฤติบริสุทธิ์ มีใจบริสุทธิ์ มีความเห็นบริสุทธิ์ เรื่อยขึ้นไปจนถึงมีปัญญา คือความเห็นแจ้งบริสุทธิ์ ในที่สุดก็จะตัดกิเลสที่ผูกมัดคนให้ติดอยู่กับวิสัยโลกออกเสียได้ เรียกว่า การบรรลุมรรคผล
ท่านพุทธทาสภิกขุ : คู่มือมนุษย์



สงวนลิขสิทธิ์โดย ธรรมะพีเดีย.คอม
เว็บไซต์นี้จัดทำขึ้นเพื่อเผยแผ่พุทธศาสนา โดยไม่มุ่งหวังผลทางพาณิชย์
อนุญาตให้นำไปเผยแผ่เพื่อสืบต่อพุทธศาสนาได้ตามกุศลเจตนา

www.thammapedia.com
( ศูนย์เผยแผ่พระพุทธธรรม )
Copyright © 2008 ALL RIGHTS RESERVED
 
 
หน้าหลัก