หน้าหลัก พระสงฆ์ ตำแหน่งเอตทัคคะ พระกุณฑธานเถระ
Search:

“ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการ ...
สัมมาทิฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ สัมมาญาณะ สัมมาวิมุตติ
..ย่อมเป็นผู้ควรของคำนับ เป็นผู้ควรของต้อนรับ ผู้ควรแก่ทักษิณา เป็นผู้ควรอัญชลีกรรม เป็นนาบุญของโลก

หนังสือ พระพุทธศาสนาจากพระโอษฐ์
รองศาสตราจารย์แสง จันทร์งาม

หน้าแรก : หมวดพระสงฆ์
๓๖. พระกุณฑธานเถระ เอตทัคคะในทางผู้จับสลากเป็นที่หนึ่ง

พระกุณฑธาน เกิดในตระกูลพราหมณ์ ในเมือง สาวัตถี มีชื่อว่า “ธานะ” ศึกษาศิลปะ วิทยาจบไตรเพทตามลัทธิพราหมณ์ ท่านครองชีวิตฆราวาสอยู่จนย่างเข้าสู่วัยชรา

วันหนึ่ง ได้มีโอกาสฟังพระธรรมเทศนาจากพระบรมศาสดา แล้วเกิดศรัทธาเลื่อมใส กราบทูลขออุปสมบท ในพระพุทธศาสนา พระบรมศาสดาทรงประทานการอุปสมบทให้ตาม ประสงค์

มีหญิงสาวตามทุกย่างก้าว
เมื่อท่านได้อุปสมบทแล้ว ปรากฏว่าไม่ว่าท่านจะอยู่ในกุฏิ ที่พักของตน หรือไปในที่อื่น ๆ แม้แต่เวลาที่ท่านออกบิณฑบาต ตามหมู่บ้านก็ตามที จะมีหญิงสาวรูปร่างสวยงาม เดินตามเป็นเงา ตามตัวท่านอยู่ตลอดเวลา สำหรับท่านเองนั้นมองไม่เห็น แต่คนอื่น ๆ ทั่วไปจะเห็นกันอย่างชัด เจน เมื่อท่านเข้าไปบิณฑบาตในหมู่บ้าน ประชาชนที่ใส่บาตร ก็จะพากันพูดว่า “ส่วนนี้เป็นของ ท่าน อีกส่วนหนึ่งนี้ เป็นของหญิงสหายที่ติดตามท่าน” เวลาที่ท่านอยู่ในวัด ก็จะถูกเพื่อนสหาย ธรรมิก พูดจาเสียดสีท่านว่า “คนกุณฑะ” ซึ่งหมายถึงคนชั่วช้า ดังนั้น ท่านจึงได้ชื่อว่า “กุณฑธานะ"

พระกุณฑธานะ ตัวท่านเองไม่เห็น และไม่ทราบเลยว่า มีหญิงสาวติดตามท่านอยู่เสมอ เมื่อท่านได้ฟังประชาชน ที่ใส่บาตรพูดกันว่า “ส่วนนี้เป็นของท่าน อีกส่วนหนึ่งนี้เป็นของหญิง สหายที่ติดตามท่าน” และการที่เพื่อน ๆ สหธรรมิก พูดจาเสียดสีว่า ท่านเป็นคนชั่วช้านั้น ทำให้ ท่านเกิดความหงุดหงิด รำคาญใจ ท่านจึงพูดโต้ตอบขึ้นด้วยถ้อยคำรุนแรง จนเป็นเหตุให้ทะเลาะ กัน

พระบรมศาสดาทรงทราบความ รับสั่งให้ท่านเข้าเฝ้าแล้วตรัสเตือนท่านว่า:- “ดูก่อนธานะ กรรมเก่าของเธอ ยังชดใช้ไม่หมด ไฉนเธอจึงสร้างกรรมใหม่อีก” จากนั้น พระพุทธองค์ได้ตรัสเล่ากรรมเก่าในอดีตให้ท่านฟัง

กรรมเก่าของท่านกุณฑธานเถระ
ในอดีตกาล ครั้งที่พระพุทธเจ้าพระนามว่ากัสสปะ ท่านธานะ เกิดเป็นภุมเทวดา (เทวดา ที่สิงสถิตตามภาคพื้นดิน) เห็นพระภิกษุ ๒ รูป มีความรักใคร่ และสามัคคีกันอย่างมาก ไม่ว่าจะ ไปที่ไหน ๆ ทั้งสองมักจะไปด้วยกันเสมอ จึงคิดที่จะทดลองใจ ท่านทั้งสองดูว่า จะชอบพอกัน มั่นคงเพียงไหน มีอะไรที่จะทำให้ท่านแตกแยกกันได้หรือไม่ เทวดาจึงรอโอกาสอยู่ จนถึงวัน อุโบสถวันหนึ่ง เห็นท่านทั้งสองเดินทางมา เพื่อร่วมทำอุโบสถสังฆกรรม ณ อารามแห่งหนึ่ง ใน ระหว่างทาง พระรูปหนึ่งขอโอกาสเข้าไปถ่ายอุจจาระ ในป่าข้างทาง ส่วนอีกรูปหนึ่งรอคอยอยู่ ข้างนอก ภุมเทวดาเห็นเป็นโอกาสดี เมื่อพระรูปที่เข้าไปถ่ายอุจจาระในป่าเดินกลับออกมา จึง แปลงร่างเป็นหญิงสาวสวย เดินตามหลังท่านออกมาจากป่าด้วย พร้อมกับแสดงกิริยาอาการ เหมือนกับว่า เพิ่งผ่านการสำเร็จกามกิจกับท่านมา มีการจัดผ้านุ่ง และจัดผม เป็นต้น

ส่วนตัวพระรูปนั้น ไม่รู้ไม่เห็นเลย แต่เพื่อนพระรูปที่ยืนรอคอยอยู่นั้น มองเห็นชัดเจน เมื่อท่านออกมาจากป่า จึงถูกพระเพื่อนรูปนั้น ต่อว่าและกล่าวโทษตามที่ตนเห็นนั้น จึง เกิดการโต้เถียงกันรุนแรงขึ้น และเรื่องก็รุกรามไปถึงหมู่ภิกษุทั้งหลาย ซึ่งต่างก็พากันรังเกียจภิกษุ รูปนั้น ไม่ยอมร่วมทำอุโบสถสังฆกรรมด้วย ทำให้ท่านเกิดความทุกข์ร้อนใจ เป็นอย่างยิ่ง

ภุมเทวดาผู้เป็นต้นเหตุนั้น เห็นเหตุการณ์รุกรามไปอย่างนั้น รู้สึกสำนึกผิด จึงเข้าไปแจ้งความจริง แก่ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจึงได้ร่วมทำอุโบสถสังฆกรรมกันได้ แต่ความรัก และความสนิทสนม ระหว่างเพื่อนภิกษุทั้งสองรูปนั้น ไม่เป็นไปตามเดิม ต่างแยกกันอยู่ แยกกันเดินทางแยกกันปฏิบัติ กิจปฏิบัติธรรม จนสิ้นอายุขัย

ภุมเทวดา จุติจากชาตินั้นแล้วไปเกิดในเวจีมหานรก เสวยผลกรรมนั้น อย่างแสนสาหัส จนถึงสมัยพระพุทธเจ้าพระองค์ปัจจุบันนี้ จึงพ้นจากนรกนั้น แล้วมาเกิดเป็นบุตรพราหมณ์ ใน เมืองสาวัตถี มีชื่อว่า ธานะ ด้วยเศษแห่งผลกรรมของท่านนั้น เมื่อท่านบวชแล้วจึงมีรูปหญิงสาว ติดตามท่านเป็นเงาตามตัวอยู่เสมอ

พระเจ้าปเสนทิโกศลเสด็จพิสูจน์ความจริง
เรื่องราวของท่านนั้น ทราบไปถึงพระเจ้าปเสนทิโกศล ผู้เป็นองค์พุทธศาสนูปถัมภ์ ทรงมี พระดำริ ที่จะกำจัดมลทินพุทธศาสนาให้สิ้นไป จึงเสด็จไปยังที่อยู่ของพระธานเถระ

ขณะนั้น พระธานเถระอยู่ในห้อง เมื่อทราบว่าพระราชาเสด็จมา จึงออกไปรับเสด็จข้าง นอก ภาพที่พระเจ้าปเสนทิโกศล ได้ทอดพระเนตรเห็น ก็คือภาพหญิงสาวยืนอยู่ข้างหลัง พระธานเถระ สมจริงดังข่าวลือ จึงเสด็จเข้าไปใกล้ ๆ เพื่อทอดพระเนตรให้เห็นชัด แต่ภาพนั้น กลับหายไป จึงขออนุญาตท่าน เข้าไปตรวจดูภายในห้อง ทรงตรวจดูด้วยพระองค์เองอย่าง ละเอียด แต่ก็ไม่พบหญิงสาวคนนั้น จึงเสด็จออกมาข้างนอก ประทับยืนที่เดิม ก็ทอดพระเนตร เห็นภาพหญิงสาวนั้นเหมือนเดิมอีก

พระองค์ทรงทดลองเสด็จพระดำเนินเข้า ๆ ออก ๆ หลายครั้ง จนแน่พระทัยว่า รูปหญิงสาวนั้นไม่ใช่ของจริง คงเป็นรูปที่เกิดขึ้นจากกรรมเก่าของท่านเอง ทรงแน่พระทัยว่า มิใช่ความประพฤติผิดลามก อย่างที่เป็นข่าวลือกัน ทรงพระดำริว่า “พระเถระคงจะลำบากด้วยอาหารบิณฑบาต อันเนื่องจากประชาชนรังเกียจท่าน” จึงกราบนมัสการนิมนต์ให้ท่าน เข้าไปบิณฑบาตในพระราชวังทุกวัน ทรงให้ความอุปถัมภ์บำรุงท่านด้วยปัจจัย ๔ มิให้ท่านต้องวิตกกังวลใด ๆ อีกต่อไป

สุขภาพกายดี จิตก็ดีด้วย
พระกุณฑธานเถระ ตั้งแต่นั้นมา ท่านมีสุขภาพร่างกายแข็งแรง เพราะได้รับอาหารที่ดี สุขภาพจิตก็ดีขึ้น เพราะไม่มีคำพูดเสียดสี ต่อว่า เยาะเย้ยเป็นต้น ท่านจึงมีโอกาสบำเพ็ญวิปัสสนา กรรมฐานอย่างเคร่งครัด ไม่นานนักก็ได้บรรลุพระอรหัตผล และตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา รูปหญิง สาวก็หายไป ไม่ปรากฏอีกเลย

ต่อมา ได้มีมหาอุบาสิกา นามว่าสุภัททา กราบอาราธนาพระบรมศาสดา พร้อมด้วยภิกษุ สงฆ์ ๕๐๐ รูป ไปสู่อุคคนคร เมื่อถึงเวลาแจกภัตตาหาร พระอานนท์เถระรับหน้าที่แจกสลากแก่ ภิกษุสงฆ์ ขณะนั้นท่านพระกุณฑธานเถระ ได้แสดงอภินิหาร เหาะขึ้นไปบนอากาศ บันลือสีหนาทแล้ว ขอจับสลากก่อนซึ่งพระอานนท์เถระ ก็ให้ท่านจับก่อนตามประสงค์ แม้ในการ แจกภัตรด้วยสลากครั้งอื่น ๆ ท่านก็จะบันลือสีหนาท และขอจับสลากเป็นท่านแรกทุกครั้ง

ด้วยเหตุนี้ พระบรมศาสดา จึงทรงยกย่องท่านในตำแหน่งเอตทัคคะ เป็นผู้เลิศกว่าภิกษุ ทั้งหลาย ในทาง ผู้จับสลากเป็นที่หนึ่ง

ท่านดำรงอายุสังขาร ช่วยเหลือกิจการพระศาสนาสมควรแก่กาลเวลาแล้ว ก็ดับขันธปรินิพพาน

อ่านข้อมูลเพิ่มเติม :
- ประวัติพระกุณฑธานเถระ หนึ่งในอสีติมหาสาวก (พระมหาสาวก ๘๐)


ย้อนกลับ ที่มา : พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ โดย พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต)
และ http://www.84000.org

ฟังธรรมะบรรยาย
(มากกว่า ๔,๐๐๐ ไฟล์)

อ่านพระไตรปิฎก
(คัมภีร์สำคัญทางพุทธศาสนา)
อ่านหนังสือธรรมะออนไลน์
(โดยพระเกจิอาจารย์ชื่อดัง)
วิธีปฏิบัติธรรม
(ธรรมะภาคปฏิบัติ)
 

จุดมุ่งหมายสูงสุดของพระพุทธศาสนา
     จุดหมายสูงสุด ของพระพุทธศาสนา พึงบรรลุได้ด้วยความสุขหรือด้วยข้อปฏิบัติที่มีความสุข มิใช่บรรลุด้วยความทุกข์ หรือด้วยข้อปฏิบัติที่เป็นทุกข์
      ผู้ปฏิบัติจะต้องไม่ติดใจหลงไหลในความสุขที่เกิดขึ้นแก่ตน ไม่ปล่อยให้ความสุขที่เกิดขึ้นนั้น ครอบงำ
        จิตใจของตน ยังมีจิตใจเป็นอิสระ สามารถก้าวหน้าไปในธรรมเบื้องสูง ต่อๆ ไป จนบรรลุความเป็นอิสระ
        หลุดพ้นโดยบริบูรณ์
      ซึ่งเมื่อบรรลุจุดหมายนั้นแล้ว ก็สามารถเสวยความสุขที่เคยเสวยมาแล้ว โดยที่ความสุขนั้น ไม่มีโอกาส
        ครอบงำจิตใจ ทำให้ติดพันหลงไหลได้เลย
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต)

หลักแห่งพระพุทธศาสนาโดยสรุป
     พุทธศาสนาคือวิชาและระเบียบปฏิบัติ เพื่อให้รู้สิ่งทั้งปวงถูกต้องตามที่เป็นจริงว่าอะไรเป็นอะไร สิ่งทั้งปวง มีสภาพตามที่เป็นจริง คือ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่ใช่ตัวหรือของตัว ; แต่สัตว์ทั้งหลายยังหลงรัก หลงยึดติดสิ่งทั้งปวง เพราะอำนาจของการยึดมั่นที่ผิด ในพุทธศาสนามีวิธี ปฏิบัติเรียกว่า ศีล สมาธิ ปัญญา เพื่อใช้เป็นเครื่องมือ ตัดการติดการยึดมั่นนั้นเสีย อุปาทาน การยึดมั่นนั้นมีสิ่งที่ลงเกาะหรือจับยึด คือ ขันธ์ทั้งห้า คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
      เมื่อรู้จักขันธ์ทั้งห้า ตามที่เป็นจริง ก็จะสามารถเข้าใจสิ่งทั้งปวงจนถึงกับเบื่อหน่ายคลายความอยาก ไม่ยึดอะไร ติดอะไร และเราควรจะมีชีวิตอยู่อย่างที่เรียกว่า "เป็นอยู่ชอบ" คือให้ วันคืนเต็มไปด้วยความปีติ ปราโมทย์ อันเกิดมาจากการกระทำที่ดีที่งามที่ถูกต้องอยู่เป็นประจำ แล้วระงับความฟุ้งซ่าน เกิดสมาธิ เกิดความเห็นแจ้งได้เรื่อยๆ ไป จนกระทั่งเกิดความเบื่อหน่าย ความคลายออก ความหลุดพ้น และนิพพานได้ตามความเหมาะสมของสิ่งแวดล้อม
      ถ้าเราจะรีบเร่งทำให้ได้ผลเร็วขึ้น ก็มีแนวปฏิบัติที่เรียกว่า วิปัสสนาธุระ เริ่มตั้งแต่มี ความประพฤติบริสุทธิ์ มีใจบริสุทธิ์ มีความเห็นบริสุทธิ์ เรื่อยขึ้นไปจนถึงมีปัญญา คือความเห็นแจ้งบริสุทธิ์ ในที่สุดก็จะตัดกิเลสที่ผูกมัดคนให้ติดอยู่กับวิสัยโลกออกเสียได้ เรียกว่า การบรรลุมรรคผล
ท่านพุทธทาสภิกขุ : คู่มือมนุษย์



สงวนลิขสิทธิ์โดย ธรรมะพีเดีย.คอม
เว็บไซต์นี้จัดทำขึ้นเพื่อเผยแผ่พุทธศาสนา โดยไม่มุ่งหวังผลทางพาณิชย์
อนุญาตให้นำไปเผยแผ่เพื่อสืบต่อพุทธศาสนาได้ตามกุศลเจตนา

www.thammapedia.com
( ศูนย์เผยแผ่พระพุทธธรรม )
Copyright © 2008 ALL RIGHTS RESERVED
 
 
หน้าหลัก