หน้าหลัก พระสงฆ์ ตำแหน่งเอตทัคคะ พระพาหิยเถระ
Search:

“ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการ ...
สัมมาทิฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ สัมมาญาณะ สัมมาวิมุตติ
..ย่อมเป็นผู้ควรของคำนับ เป็นผู้ควรของต้อนรับ ผู้ควรแก่ทักษิณา เป็นผู้ควรอัญชลีกรรม เป็นนาบุญของโลก

หนังสือ พระพุทธศาสนาจากพระโอษฐ์
รองศาสตราจารย์แสง จันทร์งาม

หน้าแรก : หมวดพระสงฆ์
๒๘. พระพาหิยเถระ เอตทัคคะในทางขิปปาภิญญา คือ ตรัสรู้เร็วพลัน

พระพาหิยะ เกิดในวรรณแพศย์ ตระกูลกุฎุมพี แคว้นพาหิยะ คงจะเรียกชื่อท่านตามชื่อ แคว้น เมื่อเจริญวัยขึ้นได้ประกอบอาชีพค้าขาย ตามบรรพบุรุษ เนื่องจากมีถิ่นฐานอยู่แถบชายฝั่ง ทะเล จึงอาศัยเรือเดินทะเลบรรทุกสุวรรณภูมิ อันตั้งอยู่ในแคว้นกัมโพชะ อินเดียตอนเหนือ ท่า จอดเรือรับส่งขนถ่ายสินค้าที่ท่าเรือสุปปารกะ ในอปรันตชนบท

เรือแตกแต่รอดตาย
การเดินเรือค้าขายเป็นไปตามปกติตลอดมา แต่วันหนึ่ง ขณะที่เรือกำลังเล่นอยู่ในทะเล ใกล้จะถึงท่าสุปปารกะ ได้มีลมพายุเกิดคลื่นใหญ่ซัดเรืออับปางลง ลูกเรือตายทั้งหมด พาหิยะ คนเดียวเท่านั้น ที่อาศัยเกาะแผ่นกระดาน สามารถพยุงกายมิให้จมน้ำตาย เป็นเหยื่อปลาในทะเล พยายามกระเสือกกระสน ประคองกายเข้ามาถึงฝั่ง ที่ท่าสุปปารกะได้ แต่พาหิยะก็มาถึงท่าเพียงตัว เท่านั้น เสื้อผ้าที่สวมใส่หลุดหายไปในทะเล เหลือแต่ร่างกายที่เปลือยเปล่า

ณ บริเวณท่าเรือสุปปาระกะนั้น มีพ่อค้าประชาชนหนาแน่น เพราะเป็นศูนย์กลางการ ขนถ่ายสินค้า และการค้าขาย พาหิยะ นอนหมดแรงอยู่ที่ชายฝั่ง ทั้งหิวทั้งเพลีย นอนคิดหาหนทาง เพื่อเอาชีวิตรอดต่อไป แต่รู้สึกเขินอาย ที่ร่างกายเปลือยเปล่า ไม่มีสิ่งใดปิดบังร่างกายเลย จึงใช้ เปลือกไม้บ้าง ใบไม้บ้าง เท่าที่จะหาได้มาทำเป็นเครื่องปิดบัง แทนเครื่องนุ่งห่ม และได้เข้าไป อาศัยร่มเงา ที่ศาลเทพารักษ์แห่งหนึ่งใกล้ ๆ บริเวณท่าเรือสุปปารกะนั้น พอความเหนื่อยเพลีย บรรเทาลงแล้ว จึงถือแผ่นกระเบื้องเที่ยวขออาหารจากชาวบ้าน

อรหันต์เปลือย
ในยุคสมัยนั้นคำว่า “พระอรหันต์” เป็นคำที่ประชาชนกล่าวขานกันทั่วไปว่า มีอยู่ที่ โน่นบ้าง มีอยู่ที่นี่บ้าง แต่ก็ยังไม่มีผู้ใดได้เคยพบพระอรหันต์จริง ๆ เลย พอได้เห็นพาหิยะ ผู้นุ่ง เปลือกไม้ มีร่างกายผ่ายผอม ถือแผ่นกระเบื้องเดินมาในลักษณะอย่างนั้น ต่างก็พากันเข้าใจว่า “นี่แหละ คือ พระอรหันต์” ดังนั้น จึงพากันให้อาหารบริโภค อย่างอุดมสมบูรณ์ พร้อมทั้งเสื้อผ้า เครื่องนุ่งห่ม ทำให้พาหิยะมีสุขภาพร่างกายแข็งแรงขึ้น แต่พาหิยะปฏิเสธไม่ยอมรับเสื้อผ้ามา สวมใส่ เพราะเกิดความคิดว่า “ถ้าสวมใส่เสื่อผ้าแล้ว จะทำให้เสื่อมจากลาภสักการะ” อีกทั้ง ก็ เริ่มเข้าใจผิด คิดว่าตนเป็นพระอรหันต์จริง ๆ จึงดำรงชีวิต และปฏิบัติตนไปตามนั้น

ใบไม้และเปลือกไม้ที่แห้งไป ก็เปลี่ยนใหม่ ด้วยเหตุนี้ท่านจึงได้นามต่อท้ายชื่อของท่านว่า “ทารุจิริยะ” และเรียกชื่อท่านเต็ม ๆ ว่า “พาหิยทารุจิริยะ” ซึ่งแปลว่า พาหิยะผู้มีเปลือกไม้เป็นเครื่องนุ่งห่ม และท่านได้ดำเนินชีวิตโดยทำนองนี้เรื่องมาเป็นเวลานาน

พระพรหมมาเตือนให้กลับใจ
วันหนึ่ง ได้มีพระพรหม ผู้เคยเป็นสหายเก่า ที่เคยปฏิบัติธรรมร่วมกันในอดีตชาติกับ พาหิยะ และได้บรรลุธรรมถึงชั้นอนาคามิผล เมื่อตายแล้ว ได้ไปเกิดในพรหมชั้นสุทธาวาส ได้ ติดตามดูพฤติกรรมของพาหิยะมาตลอด เห็นว่าสหายกำลังปฏิบัติผิดทาง ดำเนินชีวิต ด้วยการลวง โลก ซึ่งจะทำให้เขาไปเกิดในทุคติอบายภูมิ จึงลงมาเตือนให้สติว่า “พาหิยะ ท่านไม่ใช่พระอรหันต์ บัดนี้ พระอรหันต์ที่แท้จริง เกิดขึ้นแล้วในโลก ขณะนี้ พระองค์ประทับอยู่ ณ พระเชตะวันมหาวิหาร เมืองสาวัตถี แคว้นโกศล”

เดินทางทั้งวันทั้งคืน
พระหิยะ ได้ฟังคำเตือนของพระพรหม ผู้เป็นสหายเก่าแล้ว เกิดความสลดใจในการกระทำ ของตนเอง รู้สึกสำนึกผิด เลิกละการกระทำนั้น และเกิดความปิติยินดี ที่ทราบว่า พระพุทธเจ้าเกิด ขึ้นแล้วในโลก จึงรีบออกเดินทางจากท่าเรือสุปปารกะ มุ่งสู่เมืองสาวัตถี ซึ่งมีระยะทางถึง ๑๒๐ โยชน์ (๑๙๒ กม.) ท่านเดินทางทั้งวันทั้งคืน อย่างรีบร้อน เพื่อเข้าเฝ้าพระบรมศาสดาให้เร็วที่สุด เพราะไม่รู้แน่ว่าความตายจะมาถึงเมื่อใด

ท่านเดินทางมาถึงเมืองสาวัตถี ในเวลารุ่งเช้าแล้ว รีบตรงไปยังพระเชตวันมหาวิหาร เมื่อได้ทราบว่า ขณะนี้พระบรมศาสดา เสด็จเข้าไปบิณฑบาตในเมือง จึงรีบติดตามไปในเมือง และได้พบพระผู้มีพระภาคกำลังเสด็จบิณฑบาตอยู่ ด้วยความปีติยินดีอย่างที่สุดได้เข้าไปกราบแทบพระบาทแล้ว กราบทูลขอให้ทรงแสดงธรรมให้ฟัง พระพุทธองค์ตรัสห้าวว่า “พาหิยะ เวลานี้ มิใช่เวลาแสดงธรรม”

ตรัสรู้เร็วพลัน
พาหิยะ ได้พยายามกราบทูลอ้อนวอนถึง ๓ ครั้ง พระบรมศาสดา จึงทรงแสดงพระธรรม เทศให้ฟัง โดยตรัสสอนให้สำรวมอินทรีย์ คือ เมื่อเห็นรูปก็สักแต่ว่าเห็น ได้ยินเสียงก็สักแต่ว่า ได้ยิน ได้กลิ่นก็สักแต่ว่าได้กลิ่น ลิ้มรสก็สักแต่ว่าลิ้มรส และสัมผัสสักแต่ว่าสัมผัสเท่านั้น อย่า ยินดียินร้ายในสิ่งเหล่านั้น และหมั่นสำเหนียกศึกษาในไตรสิกขา คือ ศีล สมาธิ ปัญญา อยู่เป็นนิตย์

พาหิยะ ส่งกระแสจิตไปตามกระแสพระธรรมเทศนา ก็ได้บรรลุพระอรหัตผลในทันที ท่านได้กราบทูลขออุปสมบท แต่พระพุทธองค์ทรงทราบด้วยพระญาณว่า ในอดีตชาติท่าน พาหิยะ ไม่เคยทำบุญสงเคราะห์พระภิกษุสามเณร ด้วยบาตรและจีวรเลย เมื่อบวชแล้ว บาตรและ จีวรที่จะเกิดด้วยบุญฤทธิ์ ก็จะไม่มีจึงรับสั่งให้ท่าน ไปหาบาตรและจีวรมาให้ครบก่อน และใน ขณะที่ท่านกำลังแสวงหาบาตรและจีวรอยู่นั้น ได้ถูกอมนุษย์ผู้เคยเป็นศัตรูกันมากแต่อดีตชาติ เข้า สิงร่างแม่โคลูกอ่อน วิ่งเข้าขวิดท่านตาย จึงถือว่า ท่านนิพพานตั้งแต่ยังไม่ได้บวช

พระพุทธองค์ เสด็จกลับจากบิณฑบาต ทอดพระเนตรเห็นศพของท่านนอนอยู่ริมทาง จึงรับสั่งให้ภิกษุที่ติดตามเสด็จมา จัดการฌาปนกิจให้ท่าน และทรงยกย่องท่านในตำแหน่ง เอตทัคคะ เป็นผู้เลิศกว่าภิกษุทั้งหลาย ในทางขิปปาภิญญา คือ ตรัสรู้เร็วพลัน

อ่านข้อมูลเพิ่มเติม :
- ประวัติพระพาหิยเถระ หนึ่งในอสีติมหาสาวก (พระมหาสาวก ๘๐)


ย้อนกลับ ที่มา : พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ โดย พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต)
และ http://www.84000.org

ฟังธรรมะบรรยาย
(มากกว่า ๔,๐๐๐ ไฟล์)

อ่านพระไตรปิฎก
(คัมภีร์สำคัญทางพุทธศาสนา)
อ่านหนังสือธรรมะออนไลน์
(โดยพระเกจิอาจารย์ชื่อดัง)
วิธีปฏิบัติธรรม
(ธรรมะภาคปฏิบัติ)
 

จุดมุ่งหมายสูงสุดของพระพุทธศาสนา
     จุดหมายสูงสุด ของพระพุทธศาสนา พึงบรรลุได้ด้วยความสุขหรือด้วยข้อปฏิบัติที่มีความสุข มิใช่บรรลุด้วยความทุกข์ หรือด้วยข้อปฏิบัติที่เป็นทุกข์
      ผู้ปฏิบัติจะต้องไม่ติดใจหลงไหลในความสุขที่เกิดขึ้นแก่ตน ไม่ปล่อยให้ความสุขที่เกิดขึ้นนั้น ครอบงำ
        จิตใจของตน ยังมีจิตใจเป็นอิสระ สามารถก้าวหน้าไปในธรรมเบื้องสูง ต่อๆ ไป จนบรรลุความเป็นอิสระ
        หลุดพ้นโดยบริบูรณ์
      ซึ่งเมื่อบรรลุจุดหมายนั้นแล้ว ก็สามารถเสวยความสุขที่เคยเสวยมาแล้ว โดยที่ความสุขนั้น ไม่มีโอกาส
        ครอบงำจิตใจ ทำให้ติดพันหลงไหลได้เลย
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต)

หลักแห่งพระพุทธศาสนาโดยสรุป
     พุทธศาสนาคือวิชาและระเบียบปฏิบัติ เพื่อให้รู้สิ่งทั้งปวงถูกต้องตามที่เป็นจริงว่าอะไรเป็นอะไร สิ่งทั้งปวง มีสภาพตามที่เป็นจริง คือ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่ใช่ตัวหรือของตัว ; แต่สัตว์ทั้งหลายยังหลงรัก หลงยึดติดสิ่งทั้งปวง เพราะอำนาจของการยึดมั่นที่ผิด ในพุทธศาสนามีวิธี ปฏิบัติเรียกว่า ศีล สมาธิ ปัญญา เพื่อใช้เป็นเครื่องมือ ตัดการติดการยึดมั่นนั้นเสีย อุปาทาน การยึดมั่นนั้นมีสิ่งที่ลงเกาะหรือจับยึด คือ ขันธ์ทั้งห้า คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
      เมื่อรู้จักขันธ์ทั้งห้า ตามที่เป็นจริง ก็จะสามารถเข้าใจสิ่งทั้งปวงจนถึงกับเบื่อหน่ายคลายความอยาก ไม่ยึดอะไร ติดอะไร และเราควรจะมีชีวิตอยู่อย่างที่เรียกว่า "เป็นอยู่ชอบ" คือให้ วันคืนเต็มไปด้วยความปีติ ปราโมทย์ อันเกิดมาจากการกระทำที่ดีที่งามที่ถูกต้องอยู่เป็นประจำ แล้วระงับความฟุ้งซ่าน เกิดสมาธิ เกิดความเห็นแจ้งได้เรื่อยๆ ไป จนกระทั่งเกิดความเบื่อหน่าย ความคลายออก ความหลุดพ้น และนิพพานได้ตามความเหมาะสมของสิ่งแวดล้อม
      ถ้าเราจะรีบเร่งทำให้ได้ผลเร็วขึ้น ก็มีแนวปฏิบัติที่เรียกว่า วิปัสสนาธุระ เริ่มตั้งแต่มี ความประพฤติบริสุทธิ์ มีใจบริสุทธิ์ มีความเห็นบริสุทธิ์ เรื่อยขึ้นไปจนถึงมีปัญญา คือความเห็นแจ้งบริสุทธิ์ ในที่สุดก็จะตัดกิเลสที่ผูกมัดคนให้ติดอยู่กับวิสัยโลกออกเสียได้ เรียกว่า การบรรลุมรรคผล
ท่านพุทธทาสภิกขุ : คู่มือมนุษย์



สงวนลิขสิทธิ์โดย ธรรมะพีเดีย.คอม
เว็บไซต์นี้จัดทำขึ้นเพื่อเผยแผ่พุทธศาสนา โดยไม่มุ่งหวังผลทางพาณิชย์
อนุญาตให้นำไปเผยแผ่เพื่อสืบต่อพุทธศาสนาได้ตามกุศลเจตนา

www.thammapedia.com
( ศูนย์เผยแผ่พระพุทธธรรม )
Copyright © 2008 ALL RIGHTS RESERVED
 
 
หน้าหลัก