หน้าหลัก พระสงฆ์ ตำแหน่งเอตทัคคะ พระโสณโกฬิวิสเถระ
Search:

“ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการ ...
สัมมาทิฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ สัมมาญาณะ สัมมาวิมุตติ
..ย่อมเป็นผู้ควรของคำนับ เป็นผู้ควรของต้อนรับ ผู้ควรแก่ทักษิณา เป็นผู้ควรอัญชลีกรรม เป็นนาบุญของโลก

หนังสือ พระพุทธศาสนาจากพระโอษฐ์
รองศาสตราจารย์แสง จันทร์งาม

หน้าแรก : หมวดพระสงฆ์
๓๐. พระโสณโกฬิวิสเถระ เอตทัคคะในทางผู้ปรารภความเพียร

พระโสณโกฬิวิสะ เกิดในตระกูลเศรษฐี เมืองจำปา แคว้นอังคะ มีชื่อเต็มว่า “โสณะ” ซึ่งแปลว่า “ทองคำ” เพราะท่านมีผิวพรรณสวยงาม มาแต่กำเนิดส่วนคำว่า “โกฬิวิสะ” เป็น ชื่อโคตรตระกูล บิดาชื่ออุสภเศรษฐี

มีขนสีเขียวขึ้นที่ฝ่ายเท้า
ท่านโสณะ เป็นผู้มีความชำนาญในการดีดพิณสามสาย เป็นคนสุขุมมาลชาติ มีความ ละเอียดอ่อน ได้รับการเลี้ยงดูอย่างดี บิดาได้สร้างปราสาท ๓ หลัง เพื่อเป็นที่พักอยู่อันเหมาะสม กับภูมิอากาศใน ๓ ฤดูกาล ให้บริโภคเฉพาะอาหาร ที่ประณีตซึ่งหุงจากข้าวสาลี ชนิดเลิศ และที่ ฝ่าเท้าทั้งสองของท่านมีขนสีเขียว เหมือนแก้วมณีงอกออกมาด้วย

ขณะที่พระบรมศาสดา ประทับอยู่ที่เขาคิชกูฎ เมืองราชคฤห์ ครั้งนั้น พระเจ้าพิมพิสารรับ สั่งให้พสกนิกรของพระองค์ในหมู่บ้าน ๘๐,๐๐๐ ตำบล ในแคว้นอังคะ มาประชุมกันที่ลาน บริเวณพระราชวัง เพื่อรับฟังพระราโชบาย พร้อมกันนี้ได้รับสั่งให้อุสภเศรษฐี ส่งโสณโกฬิวิสะ บุตรของตนเฝ้าด้วย เพื่อจะทอดพระเนตรฝ่าเท้า ที่มีขนสีเขียวเหมือนแก้วมณี งอกออกมาตามที่มี ข่าวเล่าลือ

อุสภเศรษฐี ได้อบรมบุตรของตน ให้ทราบถึงระเบียบมารยาท ในการเข้าเฝ้า โดยห้าม เหยียดเท้าไปทางที่ประทับ อันเป็นการไม่สมควร แต่ให้นั่งขัดสมาธิ ซ้อนเท้าทั้งสองไว้บนตัก หงายฝ่าเท้าขึ้น เพื่อให้ทอดพระเนตร

โสณโกฬิวิสะ เมื่อเข้าเฝ้า ก็ได้ปฏิบัติตามที่บิดาสั่งสอนทุกประการ พระเจ้าพิมพิสาร ทอดพระเนตรแล้วหายสงสัย จากนั้นได้ประทานโอวาท และชี้แจงพระราโชบาย เกี่ยวกับกิจการ บ้านเมือง ให้พสกนิกรทราบแล้ว ทรงนำพสกนิกรเหล่านั้น พร้อมทั้งโสณโกฬิวิสะ ไปเข้าเฝ้า สมเด็จพระบรมศาสดาถึงที่ประทับ

ขณะนั้น พระสาคตะ รับหน้าที่เป็นพุทธอุปัฏฐาก เมื่อพระเจ้าพิมพิสาร ทรงพาพสกนิกร มาขอโอกาส เพื่อเข้าเฝ้าพระบรมศาสดา ท่านได้แสดงฤทธิ์ โดยดำดินลงไปแล้วโผล่ขึ้นที่หน้า พระคันธกุฎี บนยอดภูเขาคิชฌกูฏนั้น ประชาชนทั้งหลาย เห็นแล้วก็เกิดศรัทธาเลื่อมใส ต่างพากัน คิดว่า “พระพุทธสาวก ยังมีความสามารถึงเพียงนี้ พระบรมศาสดา จะต้องมีความสามารถมาก กว่านี้ อย่างแน่นอน” แล้วพากันเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาค ได้รับฟังพระธรรมเทศนา อนุปุพพิกถา และอริยสัจ ๔ แล้วได้บรรลุเป็นพระโสดาบัน แสดงตนเป็นอุบาสกอุบาสิกา ขอถึงพระรัตนตรัย เป็นที่พึ่ง ที่ระลึกตลอดชีวิตแล้ว กราบทูลลากลับนิวาสถานของตน ๆ

ส่วน โสณโกฬิวิสะ ก็เกิดศรัทธาเลื่อมใส ในพระพุทธศาสนาเหมือนกัน ได้พิจารณาเห็น ว่าการอยู่ครองเพศฆราวาสนั้น ยากนักที่จะประพฤติพรหมจรรย์ ให้บริสุทธิ์บริบูรณ์ได้ จึงกราบ ทูลขออุปสมบท ซึ่งพระบรมศาสดา รับสั่งให้กลับไปขออนุญาตจากบิดามารดาก่อน เมื่อ โสณโกฬิวิสะ ปฏิบัติตามเรียบร้อยแล้ว จึงประทานการอุปสมบทให้ตามความประสงค์

ทรงแนะให้ทำความเพียรเหมือนพิณ ๓ สาย
ครั้นบวชแล้ว ได้ไปบำเพ็ญเพียรที่ป่าสีตวัน เขตเมืองราชคฤห์ ท่านเดินจงกรมอย่างหนัก จนฝ่าเท้าแตก เลือดไหล เมื่อเดินด้วยเท้าไม่ได้ ท่านจึงใช้วิธีคลานด้วยเข่า และฝ่ามือทั้งสอง จน กระทั่งเข่าและฝ่ามือทั้งสองแตกอีก แม้กระนั้น ท่านก็ยังไม่บรรลุมรรคผลอันใด ท่านจึงเกิดความ ท้อแท้น้อยใจ ในวาสนาบารมีของตนว่า “บรรดาสาวกของพระพุทธเจ้า ผู้บำเพ็ญเพียรอย่างหนัก นั้น เราก็เป็นผู้หนึ่ง ที่มิได้ย่อหย่อนกว่าผู้อื่น ๆ ถ้ากระไร เราควรลาสิกขาออกไปครองเพศฆราวาส ทำบุญสร้างกุศล ตามสมควรแก่ฆราวาสวิสัยจะดีกว่า”

พระบรมศาสดา ทรงทราบดำริขอท่านเช่นนั้น จึงเสด็จมาตรัสสอนให้บำเพ็ญเพียร แต่พอ ปานกลาง อย่าให้ตึงเกินไปหรือหย่อนเกินไป แล้วทรงยกพิณสามสาย ซึ่งท่านมีความชำนาญใน การดีดพิณอยู่ก่อนแล้ว ขึ้นมาแสดงเป็นเครื่องเปรียบเทียบ ให้เห็นว่า “พิณที่สายตึงเกินไป เมื่อ ดีดแล้วสายก็จะขาด พิณที่สายหย่อนเกินไป เมื่อดีดแล้วเสียงก็ไม่ไพเราะ ต้องสายที่ตึงพอปาน กลาง จึงจะไม่ขาดและมีเสียงไพเราะ

ท่านโสณโกฬิวิสะ ปฏิบัติตามพระดำรัสที่ทรงแนะนำ ไม่ตึงเกินไป หรือไม่หย่อนเกิน ไป ปรับอินทรีย์ให้เสมอกันได้แล้ว ไม่นานนักก็ได้บรรลุพระอรหัตผล เป็นพระอริยบุคคลใน พระอริยบุคคลในพระพุทธศาสนา ณ ป่าสีตวันนั้น

มูลเหตุทรงอนุญาตให้ภิกษุสวมรองเท้าได้
เพราะท่านโสณโกฬิวิสะ ทำความเพียรจนฝ่าเท้า เข่า มือ แตกเลือดไหลได้รับทุกขเวทนา อย่างหนัก ทรงปรารภเหตุนี้ จึงทรงอนุญาต ให้เธอสวมรองเท้าชั้นเดียวได้ แต่ท่านได้กราบทูล ขอโอกาส ให้ทรงมีพระบรมพุทธานุญาต แก่พระสาวกรูปอื่น ๆ ด้วย พระพุทธองค์ประทานให้ ตามที่ขอโดยรับสั่งให้ประชุมสงฆ์แล้วตรัสอนุญาตว่า:-
“ภิกษุทั้งหลาย ตถาคตอนุญาตให้พวกเธอ สวมรองเท้าชั้นเดียวได้ แต่ไม่อนุญาตรองเท้า หลายชั้น”

(ต่อมาภายหลัง พระมหากัจจายนะ กราบทูลขออนุญาตรองเท้าหลายชั้นใน ปัจจันตชนบท ตั้งแต่นั้นมา พระภิกษุสงฆ์จึงสวมรองเท้ามีพื้นหลายชั้นได้)

ด้วยเหตุที่ท่าน ทำความเพียงอย่างหนักดังกล่าวมา พระบรมศาสดาจึงทรงยกย่องท่านใน ตำแหน่งเอตทัคคะ เป็นผู้เลิศกว่าภิกษุทั้งหลาย ในทางผู้ปรารภความเพียร

ท่านดำรงอายุสังขาร สมควรแก่กาลเวลาแล้ว ก็ดับขันธปรินิพพาน

อ่านข้อมูลเพิ่มเติม :
- ประวัติพระโสณโกฬิวิสเถระ หนึ่งในอสีติมหาสาวก (พระมหาสาวก ๘๐)


ย้อนกลับ ที่มา : พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ โดย พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต)
และ http://www.84000.org

ฟังธรรมะบรรยาย
(มากกว่า ๔,๐๐๐ ไฟล์)

อ่านพระไตรปิฎก
(คัมภีร์สำคัญทางพุทธศาสนา)
อ่านหนังสือธรรมะออนไลน์
(โดยพระเกจิอาจารย์ชื่อดัง)
วิธีปฏิบัติธรรม
(ธรรมะภาคปฏิบัติ)
 

จุดมุ่งหมายสูงสุดของพระพุทธศาสนา
     จุดหมายสูงสุด ของพระพุทธศาสนา พึงบรรลุได้ด้วยความสุขหรือด้วยข้อปฏิบัติที่มีความสุข มิใช่บรรลุด้วยความทุกข์ หรือด้วยข้อปฏิบัติที่เป็นทุกข์
      ผู้ปฏิบัติจะต้องไม่ติดใจหลงไหลในความสุขที่เกิดขึ้นแก่ตน ไม่ปล่อยให้ความสุขที่เกิดขึ้นนั้น ครอบงำ
        จิตใจของตน ยังมีจิตใจเป็นอิสระ สามารถก้าวหน้าไปในธรรมเบื้องสูง ต่อๆ ไป จนบรรลุความเป็นอิสระ
        หลุดพ้นโดยบริบูรณ์
      ซึ่งเมื่อบรรลุจุดหมายนั้นแล้ว ก็สามารถเสวยความสุขที่เคยเสวยมาแล้ว โดยที่ความสุขนั้น ไม่มีโอกาส
        ครอบงำจิตใจ ทำให้ติดพันหลงไหลได้เลย
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต)

หลักแห่งพระพุทธศาสนาโดยสรุป
     พุทธศาสนาคือวิชาและระเบียบปฏิบัติ เพื่อให้รู้สิ่งทั้งปวงถูกต้องตามที่เป็นจริงว่าอะไรเป็นอะไร สิ่งทั้งปวง มีสภาพตามที่เป็นจริง คือ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่ใช่ตัวหรือของตัว ; แต่สัตว์ทั้งหลายยังหลงรัก หลงยึดติดสิ่งทั้งปวง เพราะอำนาจของการยึดมั่นที่ผิด ในพุทธศาสนามีวิธี ปฏิบัติเรียกว่า ศีล สมาธิ ปัญญา เพื่อใช้เป็นเครื่องมือ ตัดการติดการยึดมั่นนั้นเสีย อุปาทาน การยึดมั่นนั้นมีสิ่งที่ลงเกาะหรือจับยึด คือ ขันธ์ทั้งห้า คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
      เมื่อรู้จักขันธ์ทั้งห้า ตามที่เป็นจริง ก็จะสามารถเข้าใจสิ่งทั้งปวงจนถึงกับเบื่อหน่ายคลายความอยาก ไม่ยึดอะไร ติดอะไร และเราควรจะมีชีวิตอยู่อย่างที่เรียกว่า "เป็นอยู่ชอบ" คือให้ วันคืนเต็มไปด้วยความปีติ ปราโมทย์ อันเกิดมาจากการกระทำที่ดีที่งามที่ถูกต้องอยู่เป็นประจำ แล้วระงับความฟุ้งซ่าน เกิดสมาธิ เกิดความเห็นแจ้งได้เรื่อยๆ ไป จนกระทั่งเกิดความเบื่อหน่าย ความคลายออก ความหลุดพ้น และนิพพานได้ตามความเหมาะสมของสิ่งแวดล้อม
      ถ้าเราจะรีบเร่งทำให้ได้ผลเร็วขึ้น ก็มีแนวปฏิบัติที่เรียกว่า วิปัสสนาธุระ เริ่มตั้งแต่มี ความประพฤติบริสุทธิ์ มีใจบริสุทธิ์ มีความเห็นบริสุทธิ์ เรื่อยขึ้นไปจนถึงมีปัญญา คือความเห็นแจ้งบริสุทธิ์ ในที่สุดก็จะตัดกิเลสที่ผูกมัดคนให้ติดอยู่กับวิสัยโลกออกเสียได้ เรียกว่า การบรรลุมรรคผล
ท่านพุทธทาสภิกขุ : คู่มือมนุษย์



สงวนลิขสิทธิ์โดย ธรรมะพีเดีย.คอม
เว็บไซต์นี้จัดทำขึ้นเพื่อเผยแผ่พุทธศาสนา โดยไม่มุ่งหวังผลทางพาณิชย์
อนุญาตให้นำไปเผยแผ่เพื่อสืบต่อพุทธศาสนาได้ตามกุศลเจตนา

www.thammapedia.com
( ศูนย์เผยแผ่พระพุทธธรรม )
Copyright © 2008 ALL RIGHTS RESERVED
 
 
หน้าหลัก