หน้าหลัก พระสงฆ์ ตำแหน่งเอตทัคคะ พระทัพพมัลลบุตรเถระ
Search:

“ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการ ...
สัมมาทิฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ สัมมาญาณะ สัมมาวิมุตติ
..ย่อมเป็นผู้ควรของคำนับ เป็นผู้ควรของต้อนรับ ผู้ควรแก่ทักษิณา เป็นผู้ควรอัญชลีกรรม เป็นนาบุญของโลก

หนังสือ พระพุทธศาสนาจากพระโอษฐ์
รองศาสตราจารย์แสง จันทร์งาม

หน้าแรก : หมวดพระสงฆ์
๒๑. พระทัพพมัลลบุตรเถระ เอตทัคคะในทางผู้จัดเสนาสนะ

พระทัพพมัลลบุตร เป็นพระราชโอรสของพระเจ้ามัลลราช ในอนุปิยนิคม แคว้นมัลละ มีพระนามเดิมว่า “ทัพพราชกุมาร” แต่เนื่องจากว่าเป็นพระราชโอรสของพระเจ้ามัลลราช จง นิยมเรียกกันว่า “ทัพพมัลลบุตร

ประสูติบนเชิงตะกอน
เหตุที่ท่านได้ชื่อว่า ทัพพะ ซึ่งแปลว่า ไม้ นั้นก็เพราะว่าในขณะที่พระมารดาของท่าน ตั้งครรภ์ใกล้จะประสูติ แต่ก็สวรรคตเสียก่อน บรรดาพระประยูรญาติจึงนำศพไปเผาบนเชิง ตะกอน เมื่อไฟกำลังเผาไหม้ร่างของพระนางอยู่นั้นท้องได้แตกออก ทารกในครรภ์ได้ลอยมาตก ลงบนกองไม้ใกล้ ๆ เชิงตะกอนนั้น และไม่ได้รับอันตรายใด ๆ เลย พวกเจ้าหน้าที่ได้อุ้มทารกนั้น มามอบให้พระอัยยิกา (ยาย) อาศัยเหตุการณ์นั้นจึงตั้งชื่อท่านว่า “ทัพพะ

โกนผมเสร็จก็บรรลุอรหันต์
ขณะที่พระบรมศาสดา ประทับอยู่ ณ อนุปิยนิคม แคว้นมัลละแห่งนั้นพร้อมด้วยภิกษุ พุทธสาวก ขณะนั้น ทัพพราชกุมาร มีพระชนมายุได้ ๗ พรรษาพระอัยยิกาได้พาไปเฝ้า พระบรมศาสดาเพื่อฟังธรรม พร้อมกับชาวเมืองทั้งหลาย ทัพพราชกุมารได้ทอดพระเนตรเห็น พระผู้มีพระภาค เกิดศรัทธาเลื่อมใสน้อมพระทัยไปในการออกบวช ได้กราบทูลลาพระอัยยิกา เพื่อขอบวชในพระพุทธศาสนา ซึ่งพระอัยยิกาก็อนุโมทนาและรีบพามาสู่สำนักพระบรมศาสดา ท่านได้ทราบถวายบังคมแล้วกราบทูลขอบรรพชา พระพุทธองค์ทรงมอบให้ภิกษุรูปหนึ่งเป็น พระอุปัชฌาย์บวชให้

พระภิกษุผู้เป็นพระอุปัชฌาย์ ได้สอนตจปัญจกกรรมฐานแก่ ทัพพราชกุมารแล้ว ในขณะ ที่กำลังทำการโกนผมอยู่นั้น ทัพพราชกุมาร ได้พิจารณากรรมฐานที่เรียนมา คือ ผม ขน เล็บ ฟัน และหนัง โดยลำดับ เมื่อจรดมีดโกนครั้งที่ ๑ ได้บรรลุโสดาปัตติผล จรดมีดโกนครั้งที่ ๒ ได้บรรลุสกทาคามิผล จรดมีดโกนครั้งที่ ๓ ได้บรรลุอนาคามิผล และเมื่อการโกนผมสิ้นสุดลง ท่านได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์ พร้อมด้วยปฏิสัมมภิทา ๔ และอภิญญา ๖

ขอรับภารกิจของสงฆ์
ท่านได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์ ตั้งแต่อายุเพียง ๗ ขวบ ต่อมาท่านได้ตามเสด็จพระผู้มี พระภาคไปจำพรรษาที่กรุราชคฤห์ แควนมคธ ขณะที่ท่านนั่งพักผ่อนอยู่เพียงตามลำพัง ความ คิดอย่างหนึ่งเกิดขึ้นแก่ท่านว่า “เราอยู่จบพรหมจรรย์ สิ้นกิเลสแล้ว สมควรที่จะช่วยรับภารกิจ ของสงฆ์ ทำประโยชน์แก่ส่วนรวมบ้าง” ดังนั้น เมื่อท่านมีโอกาสจึงเข้าเฝ้ากราบทูลความคิด ของตนแก่พระบรมศาสดา พระพุทธองค์ตรัสอนุโมทนาสาธุการแก่ท่าน แล้วทรงประกาศให้สงฆ์ สมมติให้ท่านรับหน้าที่เป็น ภัตตุทเทสก์ คือมีหน้าที่แจกจ่ายภัตรี จัดพระภิกษุไปฉันในที่มีผู้ นิมนต์ไว้ และเป็น เสนาสนคาหาปกะ คือ มีหน้าที่จัดเสนาสนะแจกจ่ายแก่พระภิกษุผู้มาจากต่าง ถิ่น ให้ได้พักอาศัยตามความเหมาะสม ท่านได้ทำหน้าที่นั้น ๆ ด้วยดีเสมอมา

ต่อมาพระพุทธองค์ทรงพิจารณาเห็นว่าท่านมีอายุยังน้อยนัก แต่มารับภาระอันหนักซึ่ง ควรจะเป็นหน้าที่ของพระภิกษุมากกว่า ดังนั้น เพื่อให้ท่านปฏิบัติหน้าที่นี้ได้อย่างสะดวก พระพุทธองค์จึงทรงบวชให้ด้วยการยกท่านจากการเป็นสามเณรขึ้นเป็นพระภิกษุในวันนั้น ด้วย พระดำรัสว่า “อชฺชโต ปฏฺฐาย ภิกฺขุ โหหิ” ซึ่งแปลว่า เธอจงเป็นภิกษุตั้งแต่วันนี้ไป การบวช ด้วยวิธีนี้เรียกว่า “ทายัชชอุปสัมปทา” แปลว่า การรับเข้าหมู่โดยความเป็นทายาท ทั้งนี้เพราะ พระพุทธองค์ทรงพิจารณาเห็นว่า ท่านมีคุณสมบัติสมควรที่จะเป็นพระภิกษุเพราะเป็น พระอรหันต์ และปฏิบัติหน้าที่เทียบเท่าพระ (ในพระพุทธศาสนามีสามเณรที่ได้รับการบวชด้วย วิธีนี้ ๓ รูป คือ สารเณรสุมนะ, สามเณรโสปากะ และสามเณรทัพพะ)

พระทัพพมัลลบุตร ได้ปฏิบัติหน้าที่ตามที่ได้รับมอบหมายจากพระพุทธองค์ อย่าง สมบูรณ์และเรียบร้อยด้วยดีทุกประการ กล่าวคือ:-

- ในด้านการจัดพระไปฉันในที่นิมนต์ (ภัตตุทเทสก์) ท่านจะคำนึงถึงวัยวุฒิและคุณวุฒิ ของพระที่จะร่วมไปด้วยกัน ทั้งพิจารณาถึงความรู้จักคุ้นเคยกับทายก อีกทั้งให้พระหมุนเวียน ผลัดเปลี่ยนกันไปตามวาระ และตามความเหมาะสมด้วย

- ในด้านการจัดเสนะสนะ (เสนาสนคาหาปกะ) ท่านจัดให้พระภิกษุผู้มีอุปนิสัย ความถนัด ความคิดเห็น และความรู้ที่คล้ายคลึงกันพักอยู่ด้วยกัน เพื่อมิให้เกิดความขัดแย้งกัน นอกจากนี้ยังจัดเสนาสนะให้ตามความประสงค์ของ ผู้มาพัก เช่น ต้องการพักในถ้ำหรือในกุฎี เป็นต้น ถ้าเป็นเวลาค่ำคืนท่านจะเข้าเตโชสมาบัติอธิษฐานให้ปลายนิ้วของท่าน เป็นดุจแท่งเทียน ส่องสว่าง นำทางพระอาคันตุกะไปสู่ที่พัก พร้อมทั้งแนะนำสถานที่อำนวยความสะดวกต่าง ๆ กันพระอาคันตุกะควรทราบ

ถูกภิกษุณีกล่าวหาว่าข่มขืน
สมัยหนึ่ง มีพระบวชใหม่สองรูป ชื่อ “พระเมตติยะ กับพระภุมมชกะ” เป็นผู้มีบุญ วาสนาน้อย เมื่อได้อาหารหรือเสนาสนะ ก็มักจะได้แต่ของชั้นเลวเสมอ วันหนึ่ง พระทัพพมัลล บุตร จัดให้ท่านไปฉันที่บ้านคหบดี ผู้มีปกติถวายแต่ของชั้นดีแก่ภิกษุทั้งหลาย แต่วันนั้นคหบดี ทราบว่าท่านทั้งสองมา จึงสั่งให้สาวใช้จัดอาหารชั้นเลวถวายท่าน คือทำอาหารด้วยปลายข้าว และน้ำผักดอง เสานาสนะก็จัดให้นั่งที่ซุ้มประตู มิให้เข้ามาในบ้าน ทำให้ท่านทั้งสองขัดเคืองใจ แล้วคิดว่า ที่เป็นเช่นนี้ ก็เพราะพระทัพพมัลลบุตร กลั่นแกล้ง

วันหนึ่ง มีนางภิกษุณีชื่อเมตติยามาหาท่าน จึงเล่าเรื่องความทุกข์ให้ฟัง แล้วขอร้องให้นาง กล่าวหาพระทัพพมัลลบุตร ว่าข่มขืนนาง เมื่อตกลงกันเป็นที่เรียบร้อยแล้ว นำความกราบทูลพระ ผู้มีพระภาค ขอให้ลงโทษพระเถระ ด้วยการให้ลาสิกขาออกไป

พระผู้มีพระภาค รับสั่งให้ประชุมสงฆ์ แล้วตรัสถามพระเถระว่า
“ดูก่อนทัพพะ เธอจำได้ไหมว่า ได้ทำตามที่ภิกษุณีนี่กล่าวหา ?”

“ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ตั้งแต่ข้าพระพุทธเจ้าเกิดมา ยังไม่รู้จักการเสพเมถุน แม้แต่ใน ความฝันเลย จึงไม่จำต้องกล่าวถึงตอนตื่นอยู่ พระเจ้าข้า”

พระพุทธองค์สดับแล้ว จึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลาย สึกนางภิกษุณีเมตติยานั้น แต่ พระเมตติยะกับพระภุมมชกะ กราบทูลและสารภาพว่า ทั้งหมดเป็นแผนการของตนทั้ง ๒ รูป พระผู้มีพระภาค ทรงปรารภเหตุนั้น จึงทรงบัญญัติสิกขาบทว่า “ภิกษุโกรธเคืองภิกษุอื่น แล้วแกล้งโจทก์ ด้วยอาบัติปาราชิกไม่มีมูล ต้องอาบัติสังฆาทิเสส”

ได้ยกย่องทางจัดเสนาสนะ
ท่านปฏิบัติหน้าที่ของท่าน ด้วยความเรียบร้อยด้วยดีทุกประการ เป็นที่พอใจและยอมรับ ของพระภิกษุสงฆ์ทั่วไป แม้แต่ทายกทายิกา ก็ได้รับความพอใจโดยทั่วกัน ด้วยเหตุนี้ท่านจึงได้ รับยกย่องจากพระบรมศาสดา ในตำแหน่งเอตทัคคะ เป็นผู้เลิศกว่าภิกษุทั้งหลาย ในทาง ผู้จัดเสนาสนะ

ท่านพระทัพพมัลลบุตรเถระ นิพพานที่เมืองราชคฤห์ โดยก่อนที่จะนิพพาน ท่านได้ แสดงฤทธิ์เหาะขึ้นไปในอากาศ ทำสมาธิเข้าสมาบัติ เมื่อออกจากสมาบัติ ก็นิพพาน เตโชธาตุก็ พลันเกิดขึ้นเผาสรีระของท่าน จนไม่เหลือเศษแม้แต่เถ้าถ่าน ณ ท่ามกลางอากาศนั้น อันเป็นไป ตามความประสงค์ของท่าน

อ่านข้อมูลเพิ่มเติม :
- ประวัติพระทัพพมัลลบุตรเถระ หนึ่งในอสีติมหาสาวก (พระมหาสาวก ๘๐)


ย้อนกลับ ที่มา : พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ โดย พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต)
และ http://www.84000.org

ฟังธรรมะบรรยาย
(มากกว่า ๔,๐๐๐ ไฟล์)

อ่านพระไตรปิฎก
(คัมภีร์สำคัญทางพุทธศาสนา)
อ่านหนังสือธรรมะออนไลน์
(โดยพระเกจิอาจารย์ชื่อดัง)
วิธีปฏิบัติธรรม
(ธรรมะภาคปฏิบัติ)
 

จุดมุ่งหมายสูงสุดของพระพุทธศาสนา
     จุดหมายสูงสุด ของพระพุทธศาสนา พึงบรรลุได้ด้วยความสุขหรือด้วยข้อปฏิบัติที่มีความสุข มิใช่บรรลุด้วยความทุกข์ หรือด้วยข้อปฏิบัติที่เป็นทุกข์
      ผู้ปฏิบัติจะต้องไม่ติดใจหลงไหลในความสุขที่เกิดขึ้นแก่ตน ไม่ปล่อยให้ความสุขที่เกิดขึ้นนั้น ครอบงำ
        จิตใจของตน ยังมีจิตใจเป็นอิสระ สามารถก้าวหน้าไปในธรรมเบื้องสูง ต่อๆ ไป จนบรรลุความเป็นอิสระ
        หลุดพ้นโดยบริบูรณ์
      ซึ่งเมื่อบรรลุจุดหมายนั้นแล้ว ก็สามารถเสวยความสุขที่เคยเสวยมาแล้ว โดยที่ความสุขนั้น ไม่มีโอกาส
        ครอบงำจิตใจ ทำให้ติดพันหลงไหลได้เลย
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต)

หลักแห่งพระพุทธศาสนาโดยสรุป
     พุทธศาสนาคือวิชาและระเบียบปฏิบัติ เพื่อให้รู้สิ่งทั้งปวงถูกต้องตามที่เป็นจริงว่าอะไรเป็นอะไร สิ่งทั้งปวง มีสภาพตามที่เป็นจริง คือ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่ใช่ตัวหรือของตัว ; แต่สัตว์ทั้งหลายยังหลงรัก หลงยึดติดสิ่งทั้งปวง เพราะอำนาจของการยึดมั่นที่ผิด ในพุทธศาสนามีวิธี ปฏิบัติเรียกว่า ศีล สมาธิ ปัญญา เพื่อใช้เป็นเครื่องมือ ตัดการติดการยึดมั่นนั้นเสีย อุปาทาน การยึดมั่นนั้นมีสิ่งที่ลงเกาะหรือจับยึด คือ ขันธ์ทั้งห้า คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
      เมื่อรู้จักขันธ์ทั้งห้า ตามที่เป็นจริง ก็จะสามารถเข้าใจสิ่งทั้งปวงจนถึงกับเบื่อหน่ายคลายความอยาก ไม่ยึดอะไร ติดอะไร และเราควรจะมีชีวิตอยู่อย่างที่เรียกว่า "เป็นอยู่ชอบ" คือให้ วันคืนเต็มไปด้วยความปีติ ปราโมทย์ อันเกิดมาจากการกระทำที่ดีที่งามที่ถูกต้องอยู่เป็นประจำ แล้วระงับความฟุ้งซ่าน เกิดสมาธิ เกิดความเห็นแจ้งได้เรื่อยๆ ไป จนกระทั่งเกิดความเบื่อหน่าย ความคลายออก ความหลุดพ้น และนิพพานได้ตามความเหมาะสมของสิ่งแวดล้อม
      ถ้าเราจะรีบเร่งทำให้ได้ผลเร็วขึ้น ก็มีแนวปฏิบัติที่เรียกว่า วิปัสสนาธุระ เริ่มตั้งแต่มี ความประพฤติบริสุทธิ์ มีใจบริสุทธิ์ มีความเห็นบริสุทธิ์ เรื่อยขึ้นไปจนถึงมีปัญญา คือความเห็นแจ้งบริสุทธิ์ ในที่สุดก็จะตัดกิเลสที่ผูกมัดคนให้ติดอยู่กับวิสัยโลกออกเสียได้ เรียกว่า การบรรลุมรรคผล
ท่านพุทธทาสภิกขุ : คู่มือมนุษย์



สงวนลิขสิทธิ์โดย ธรรมะพีเดีย.คอม
เว็บไซต์นี้จัดทำขึ้นเพื่อเผยแผ่พุทธศาสนา โดยไม่มุ่งหวังผลทางพาณิชย์
อนุญาตให้นำไปเผยแผ่เพื่อสืบต่อพุทธศาสนาได้ตามกุศลเจตนา

www.thammapedia.com
( ศูนย์เผยแผ่พระพุทธธรรม )
Copyright © 2008 ALL RIGHTS RESERVED
 
 
หน้าหลัก