หน้าหลัก พระสงฆ์ ตำแหน่งเอตทัคคะ พระสิงคาลมาตาเถรี
Search:

“ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการ ...
สัมมาทิฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ สัมมาญาณะ สัมมาวิมุตติ
..ย่อมเป็นผู้ควรของคำนับ เป็นผู้ควรของต้อนรับ ผู้ควรแก่ทักษิณา เป็นผู้ควรอัญชลีกรรม เป็นนาบุญของโลก

หนังสือ พระพุทธศาสนาจากพระโอษฐ์
รองศาสตราจารย์แสง จันทร์งาม

หน้าแรก : หมวดพระสงฆ์
๑๓. พระสิงคาลมาตาเถรี เอตทัคคะในฝ่ายผู้พ้นกิเลสด้วยศรัทธา

พระสิงคาลมาตาเถรี เกิดในตระกูลเศรษฐี ในกรุงราชคฤห์ เดิมมีชื่ออย่างไร ไม่ปรากฏ เมื่อเจริญวัยได้แต่งงาน กับชายหนุ่มผู้มีชาติตระกูล และทรัพย์เสมอกัน อยู่ครองเรือนจนมีบุตร หนึ่งคน บรรดาหมู่ญาติได้ตั้งชื่อบุตรชายของนางวา “สิงคาลกุมาร” ด้วยเหตุนี้ ชนทั้งหลายจึง เรียกนางว่า “สิงคาลมาตา

สิงคาลกุมารไหว้ทิศ ๖
สิงคาลกุมาร เมื่อเจริญวัยเติบโตขึ้น เป็นผู้เคร่งครัดในการปฏิบัติไหว้ทิศทั้ง ๖ เป็นประจำ ทุกวัน คือ
๑. ทิศเบื้องหน้า (ทิศตะวันออก)
๒. ทิศเบื้องขวาง (ทิศใต้)
๓. ทิศเบื้องหลัง (ทิศตะวันตก)
๔. ทิศเบื้องซ้าย (ทิศเหนือ)
๕. ทิศเบื้องล่าง
๖. ทิศเบื้องบน

วันหนึ่ง พระบรมศาสดา เสด็จออกจากพระวิหารเวฬุวัน เข้าไปบิณฑบาตในกรุงราชคฤห์ ได้ทอดพระเนตรเห็นสิงคาละ ผู้ลุกขึ้นแต่เช้าตรู่ มีผมและเสื้อผ้าเปียก กำลังประคองอัญชลีไว้ ทิศทั้ง ๖ อยู่จึงตรัสถามว่า
“สิงคาละ เพราะเหตุไร เธอจึงลุกขึ้นแต่เช้า ทั้งผมและเสื้อผ้าเปียกชุ่ม ทำการไหว้ทิศทั้ง ๖ อยู่อย่างนี้

สิงคาลกุมาร กราบทูลว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก่อนที่บิดาของพระพุทธเจ้าจะตาย ได้สั่งให้ข้าพระองค์ไหว้ทิศ ทั้ง ๖ เหล่านี้ ข้าพระองค์สักการะ เคารพ นับถือ และบูชาคำสั่งของบิดา จึงทำอย่างนี้พระเจ้าข้า”

สิงคาละ ตามธรรมเนียมแบบแผน ของพระอริยะนั้น เขาไม่ไหว้ทิศ ๖ กัน อย่างนี้ แต่ ทิศทั้ง ๖ ของพระอริยะนั้น คือ
๑. ทิศเบื้องหน้า ได้แก่ มารดาบิดา
๒. ทิศเบื้องขวาง ได้แก่ ครูอาจารย์
๓. ทิศเบื้องหลัง ได้แก่ บุตรภรรยา
๔. ทิศเบื้องซ้าย ได้แก่ มิตรสหาย
๕. ทิศเบื้องล่าง ได้แก่ ทาสกรรมกร
๖. ทิศเบื้องบน ได้แก่ สมณพราหมณ์

ซึ่งกุลบุตร จะต้องบำรุงดูแลรักษา และป้องกันตามสมควรแก่ฐานะ และหน้าที่อย่างถูก ต้องเหมาะสม แล้วพระพุทธองค์ได้ตรัสพระคาถาภาษิต ยังสิงคาละให้รื่นเริงบันเทิงใจ เกิด ศรัทธาเลื่อมใส ประกาศตนเป็นอุบาสกถึงพระรัตนตรัย เป็นสรณะตลอดชีวิต แล้วเสร็จกลับสู่ พระเวฬุวัน

สิงคาลมาตาออกบวช
ต่อมา สิงคาลมาตา หลังจากที่สามีได้ถึงแก่กรรมแล้ว และบุตรชายของนาง ก็เข้าถึงพระ รัตนตรัย นางได้ฟังพระธรรมกถาของพระบรมศาสดา แล้วเกิดศรัทธาเลื่อมใสอย่างแรงกล้า จึง เข้าไปกราบทูลขอบรรพชา อุปสมบทในพระพุทธศาสนา ต่อพระผู้มีพระภาค พระพุทธองค์ทรง อนุญาต ให้ไปบวชในสำนักภิกษุณีสงฆ์ ครั้นบวชแล้ว ศรัทธาของนางกลับเพิ่มทวียิ่งขึ้น

วันหนึ่ง นางไปยังพระวิหาร ที่ประทับของพระบรมศาสดา เพื่อฟังธรรม เมื่อเห็นพระ พุทธองค์เท่านั้น ยังมิทันที่จะเข้าไปกราบถวายบังคม ได้แต่ยืนเพ่งมองดูพระสิริสมบัติของ พระทศพล อยู่ด้วยกำลังศรัทธาอย่างแรงกล้า

ขณะนั้น พระบรมศาสดาทรงทราบว่า นางเป็นผู้ดำรงมั่นในศรัทธา จึงตรัสพระธรรม เทศนา อันเป็นที่ตั้งแห่งความเลื่อมใส แม้นางเองก็อาศัยศรัทธาเป็นที่ตั้ง ส่งจิตไปตามกระแสพระ ธรรมเทศนา ได้บรรลุพระอรหัตผลในขณะที่ยืนอยู่นั้น

ในสมัยที่พระพุทธองค์ประทับอยู่ที่พระเชตวัน เมื่อทรงสถาปนาภิกษุณีทั้งหลายใน ตำแหน่งต่าง ๆ ตามลำดับ ได้ทรงสถาปนา พระสิงคาลมาตาเถรี ในตำแหน่งเอตทัคคะ เป็นผู้เลิศ กว่าภิกษุณีสาวิกาทั้งหลาย ในฝ่ายศรัทธาวิมุตติ คือ ผู้หลุดพ้นกิเลสด้วยศรัทธา

อ่านข้อมูลเพิ่มเติม :
- +++ 


ย้อนกลับ ที่มา : พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ โดย พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต)
และ http://www.84000.org

ฟังธรรมะบรรยาย
(มากกว่า ๔,๐๐๐ ไฟล์)

อ่านพระไตรปิฎก
(คัมภีร์สำคัญทางพุทธศาสนา)
อ่านหนังสือธรรมะออนไลน์
(โดยพระเกจิอาจารย์ชื่อดัง)
วิธีปฏิบัติธรรม
(ธรรมะภาคปฏิบัติ)
 

จุดมุ่งหมายสูงสุดของพระพุทธศาสนา
     จุดหมายสูงสุด ของพระพุทธศาสนา พึงบรรลุได้ด้วยความสุขหรือด้วยข้อปฏิบัติที่มีความสุข มิใช่บรรลุด้วยความทุกข์ หรือด้วยข้อปฏิบัติที่เป็นทุกข์
      ผู้ปฏิบัติจะต้องไม่ติดใจหลงไหลในความสุขที่เกิดขึ้นแก่ตน ไม่ปล่อยให้ความสุขที่เกิดขึ้นนั้น ครอบงำ
        จิตใจของตน ยังมีจิตใจเป็นอิสระ สามารถก้าวหน้าไปในธรรมเบื้องสูง ต่อๆ ไป จนบรรลุความเป็นอิสระ
        หลุดพ้นโดยบริบูรณ์
      ซึ่งเมื่อบรรลุจุดหมายนั้นแล้ว ก็สามารถเสวยความสุขที่เคยเสวยมาแล้ว โดยที่ความสุขนั้น ไม่มีโอกาส
        ครอบงำจิตใจ ทำให้ติดพันหลงไหลได้เลย
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต)

หลักแห่งพระพุทธศาสนาโดยสรุป
     พุทธศาสนาคือวิชาและระเบียบปฏิบัติ เพื่อให้รู้สิ่งทั้งปวงถูกต้องตามที่เป็นจริงว่าอะไรเป็นอะไร สิ่งทั้งปวง มีสภาพตามที่เป็นจริง คือ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่ใช่ตัวหรือของตัว ; แต่สัตว์ทั้งหลายยังหลงรัก หลงยึดติดสิ่งทั้งปวง เพราะอำนาจของการยึดมั่นที่ผิด ในพุทธศาสนามีวิธี ปฏิบัติเรียกว่า ศีล สมาธิ ปัญญา เพื่อใช้เป็นเครื่องมือ ตัดการติดการยึดมั่นนั้นเสีย อุปาทาน การยึดมั่นนั้นมีสิ่งที่ลงเกาะหรือจับยึด คือ ขันธ์ทั้งห้า คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
      เมื่อรู้จักขันธ์ทั้งห้า ตามที่เป็นจริง ก็จะสามารถเข้าใจสิ่งทั้งปวงจนถึงกับเบื่อหน่ายคลายความอยาก ไม่ยึดอะไร ติดอะไร และเราควรจะมีชีวิตอยู่อย่างที่เรียกว่า "เป็นอยู่ชอบ" คือให้ วันคืนเต็มไปด้วยความปีติ ปราโมทย์ อันเกิดมาจากการกระทำที่ดีที่งามที่ถูกต้องอยู่เป็นประจำ แล้วระงับความฟุ้งซ่าน เกิดสมาธิ เกิดความเห็นแจ้งได้เรื่อยๆ ไป จนกระทั่งเกิดความเบื่อหน่าย ความคลายออก ความหลุดพ้น และนิพพานได้ตามความเหมาะสมของสิ่งแวดล้อม
      ถ้าเราจะรีบเร่งทำให้ได้ผลเร็วขึ้น ก็มีแนวปฏิบัติที่เรียกว่า วิปัสสนาธุระ เริ่มตั้งแต่มี ความประพฤติบริสุทธิ์ มีใจบริสุทธิ์ มีความเห็นบริสุทธิ์ เรื่อยขึ้นไปจนถึงมีปัญญา คือความเห็นแจ้งบริสุทธิ์ ในที่สุดก็จะตัดกิเลสที่ผูกมัดคนให้ติดอยู่กับวิสัยโลกออกเสียได้ เรียกว่า การบรรลุมรรคผล
ท่านพุทธทาสภิกขุ : คู่มือมนุษย์



สงวนลิขสิทธิ์โดย ธรรมะพีเดีย.คอม
เว็บไซต์นี้จัดทำขึ้นเพื่อเผยแผ่พุทธศาสนา โดยไม่มุ่งหวังผลทางพาณิชย์
อนุญาตให้นำไปเผยแผ่เพื่อสืบต่อพุทธศาสนาได้ตามกุศลเจตนา

www.thammapedia.com
( ศูนย์เผยแผ่พระพุทธธรรม )
Copyright © 2008 ALL RIGHTS RESERVED
 
 
หน้าหลัก