หน้าหลัก พระสงฆ์ พระอริยสงฆ์ไทย สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี)
Search:

“ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการ ...
สัมมาทิฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ สัมมาญาณะ สัมมาวิมุตติ
..ย่อมเป็นผู้ควรของคำนับ เป็นผู้ควรของต้อนรับ ผู้ควรแก่ทักษิณา เป็นผู้ควรอัญชลีกรรม เป็นนาบุญของโลก

หนังสือ พระพุทธศาสนาจากพระโอษฐ์
รองศาสตราจารย์แสง จันทร์งาม

หน้าแรก : หมวดพระสงฆ์
สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี)

ว่าด้วยอภินิหาร
เจ้าประคุณสมเด็จ ฯ ได้ศึกษาเชี่ยวชาญ ทั้งในทางคันถธุระและวิปัสสนาธุระดังกล่าวมา นับว่าท่านเป็นอัจฉริยะบุรุษผู้หนึ่ง ที่หาได้ยากในโลก" (ด้วยปรากฎว่า มีแต่ผู้ชำนาญเฉพาะธุระเดียว ที่ชำนาญทั้งสองธุระนั้นหายาก) เห็นจะเป็นเพราะ ท่านเชี่ยวชาญในสองธุระ ประกอบกัน จึงเกิดเสียงเลื่องลือกันว่า ท่านทรงคุณในวิทยาคุณานุภาพศักดิ์สิทธ์ว่า นี้มาต์หรือเครืองวิทยาคม ของท่าน มีคุณานุภาพศักดิ์สิทธิ์ คือแก้โรคต่าง ๆ ป้องกันสรรพภัย ค้าขายดี ทางเมตตามหานิยมก็ว่าดีนัก อนึ่งว่ากันว่า ท่านทรงคุณวิเศษ ถึงสามารถทำสิ่ง ซึ่งเหลือวิสัยมนุษย์สามัญให้สำเร็จได้ อาทิเช่น ทำให้ คลื่นลมสงบ ห้ามฝน ย่นหนทางฯ ดังจะยกมาสาธก เป็นอุทาหรณ์ต่อไป

ในรัชกาลที่ 4 โปรดฯ ให้สร้างพระราชวัง พระที่นั่ง และพระเจดีย์วิหารที่บนเขามหาสมณะ จังหวัดเพชรบุรี พระราชทานนามเรียกรวมกันว่า "พระนครคิรี" (และเขามหาสมณะนี้ พระราชทานนามใหม่ว่า เขามไหศวรรย์) ในจดหมายเหตุของหมอบรัดเล (พิมพ์ไว้ในประชุม พงศาวดาร ภาคที่ 120หน้า 52) ว่า โปรดฯ ให้เฉลิมพระราชมณเฑียรที่พระนครคีรี พร้อมกับบรรจุพระบรมธาตุในพระเจดีย์ศิลา

เมือเดือนพฤษภาคม ปีจอ พ.ศ.2405 ดังนี้ กล่าวกันว่า เจ้าประคุณสมเด็จฯ ได้ไปในงานพระราชพิธินั้น ด้วยขากลับท่านออกเรือ จากปากอ่าวบ้านแหลม จะข้ามมาอ่าวแม่ฉลอง เวลานั้นคลื่นลมจัดมาก ชาวบ้านห้ามท่านก็ไม่ฟัง ว่าท่านได้ออกมายืน ที่หน้าเก๋งเรือโบกมือไปมา ไม่ช้าคลื่นลมก็สงบราบคาบ

คราวหนึ่งมีการก่อพระเจดีย์ทรายที่ในวัดระฆัง ประจวบกับวันนั้นมีเมฆฝนตั้งมืดคลึ้ม คนทั้งหลายเกรงฝนตก จึงไปกราบเรียน ปรารภกับเจ้าประคุณสมเด็จ ฯ ท่านได้กล่าวพร้อมกับโบกมือว่า "ตกที่อื่น ๆ" ว่าน่าประหลาด ที่ในวันนั้นปรากูฎว่า ฝนไปตกที่อื่น หาได้ตกที่ในตำบลศิริราชพยาบาลไม่ คราวหนึ่งเขานิมนต์เจ้าประคุณสมเด็จฯ ไปในงานพิธีโกนจุกที่จังหวัดอ่างทอง ท่านได้เริ่มออกเดินทาง ก่อนถึงกำหนดเวลาเพียง 3 ชั่วโมง มีผู้สงสัยว่าท่านจะไปทันเวลากำหนดได้อย่างไร ถึงกับได้สอบถาม ไปยังเจ้าภาพในภายหลังต่อมา ก็ไดรับคำตอบว่าท่านไปทันเวลาตามฎีกาทุกประการ (ว่าวิชานี้ท่านได้เรียนต่อพระอาจารย์แสง ที่จังหวัดลพบุรี)

กล่าวกันว่า เจ้าประคุณสมเด็จฯ ไม่มีเงินติดตัว เพราะท่านเป็นผู้มีอัธยาศัยมักน้อยไม่เก็บสะสม (ดังเล่ามาแล้วในที่อื่น) แต่น่าประหลาด ที่ท่านสามารถสร้าง ปูชนียวัตถุสถานใหญ่ ๆ โต ๆ สำเร็จหลายแห่ง (บางแห่งสร้างค้างไว้ เช่น พระโตวัดอินทรวิหาร ว่าท่านประสงค์จะให้ผู้อื่นสร้างต่อบ้าง) มีผู้ได้พยายามสังเกตกันนักหนาแล้ว แต่ก็ไม่ทราบว่าท่านเอาเงินมาแต่ไหน พระเทพราชแสนยาว่า คราวหนึ่งจึนช่างปูน ไปขอเงินค่าจ้างก่อสร้าง จากเจ้าประคุณสมเด็จ ฯ 1 ชั่ง (80 บาท) ท่านบอกให้หลวงวิชิตรณชัยหลายชาย ไปเอาเงินที่ใต้ที่นอนของท่าน หลวงวิชิต ฯ กลับมากราบเรียนว่า ได้ไปค้นหาดูแล้วไม่เห็นมีเงินอยู่เลย ท่านสั่งให้ไปค้นหาใหม่ ก็ได้เงิน 1 ชั่ง เรื่องนี้หลวงวิชิต ฯ ว่าน่าประหลาดนักหนา

มีสิ่งหนึ่ง ที่เจ้าประคุณสมเด็จฯ ได้ทำไว้ที่วัดระฆัง คือน้ำมนต์ จะเขียนแทรกลงไว้ตรงนี้ มีคำเล่ากันว่า เจ้าประคุณสมเด็จฯ ได้ปลุกเสกลงเลขยันต์ศิลา 3 ก้อน ก้อนหนึ่ง เอาไปไว้ที่ในสระหลังวัด (สระนี้ตื้นเขินนานแล้ว) ก้อนหนึ่งเอาไว้ในสระกลางน้ำ (สระนี้ยังมีปราฏอยู่) อีกก้อนหนึ่งเอาไว้ในแม่น้ำตรงหน้าวัด (ห่างเขื่อนราว 2 วา ประมาณว่าอยูตรงกลางโป๊ะท่าเรือ) ว่าน้ำในที่ทั้งสามแห่งนั้น มีคุณานุภาพศักดิ์สิทธิ์ต่างกัน คือน้ำที่สระหลังวัด อยูคงกระพันชาตรี น้ำที่สระกลางวัด ทางเมตตามหานิยม น้ำที่หน้าวัดทำให้เสียงไพเราะ (เหมาะกับนักร้อง) และว่าเมื่อจะตักน้ำที่หน้าวัดน้ำให้ตักตามน้ำ (ห้ามตักทวนน้ำ) ถ้าน้ำนิ่งให้ตักตรงไปอภินิหารของเจ้าประคุณสมเด็จ ฯ นับถือกันสืบมา จนเมื่อท่านถึงมรณภาพแล้ว

ดังปรากฎว่ามีผู้คนไปบนบานปิดทองที่รูปหล่อของท่านเนือง ๆ (อธิบายเรื่องรูปหล่อของเจ้าประคุณสมเด็จฯ จะปรากฎต่อไปในที่อื่นข้างหน้า) ว่ากันว่าเพียงแต่ตั้งจิตระลึกถึงท่าน ก็ยังให้เกิดประสิทธิผลอย่างน่ามหัศจรรย์ จะยกมาอ้างเป็นอุทาหรณ์ ดังเช่นเจ้าคุณธรรมกิติ (ลมูล สุตาคโม ป.6) วัดระฆังกลับไม่ทันรถไฟ ต้องเดินมาลงเรือเมล์โดยสารที่ท่าเรือ พอย่างเข้าชานสถานีเรือ มีชายคนหนี่ง ในเครื่องแต่งกายชุดดำ เดินออกจากที่กำบังตรงเข้ามาขวางทาง (สังเกตไม่ได้ว่าจะมีอาวุธหรือไม่ เพราะเป็นเวลามืด) ถามว่า "ท่านจะไปไหน" ตอบว่า จะไปหาเจ้าประคุณสมเด็จฯ ขอให้ช่วยคุมภัย

ท่านว่า แล้วชายคนนั้นก็ออกเดินหลีกทางไปโดยไม่ได้พูดอะไร และว่าอีกคราวหนึ่ง (ดูเหมือนจะเป็น พ.ศ.2485) ท่านไปเทศน์ที่วัดอินทาราม แขวงจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ให้เรือจ้างส่งที่แพหน้าวัดสุวรรณเจดีย์ (ตำบลหัวเวียง) ด้วยหมายจะขึ้นไปพักวัดนั้นก่อน แต่ขึ้นวัดไม่ได้เพราะน้ำท่วม เวลานั้นดึกมาก ผู้คนนอนหลับกันหมดแล้ว ทั้งฝนก็ตกพรำ ๆ ท่านมิรู้จะทำอย่างหร เลยนั้นพักอยู่บนตุ่มปูนที่ข้างแพนั้น สักครู่หนึ่งมีชาย 2 คน พายเรือทวนนี้ขึ้นไปทางเหนือ ท่านจึงเอาไฟฉายส่องที่ตังท่านเอให้รู้ว่าเป็นพระ พร้อมกับร้องเรียนให้ช่วยรับส่งขึ้นที่วัด ชาย 2 คนนั้นจะได้ยินหรือไม่ไม่ทราบ แต่หาได้นำพาต่อคำขอร้องของท่านไม่ คงเร่งพายเรือต่อไป

ท่านจึงตั้งจิตระลึกถึงเจ้าประคุณสมเด็จฯ ว่า เวลานี้ลูกลำบาก ขอให้หลวงพ่อช่วยลูกด้วย ท่านว่า น่าประหลาดที่ต่อมาสัก 4-5 นาที ชาย 2 คนนั้นได้พายเรือมารับท่าน ส่งขึ้นวัดสุวรรณเจดีย์ตามประสงค์ พระอาจารย์ขวัญวิสิฎโฐ เล่าเรื่องหนึ่งว่า คราวหนึ่ง มีงานฉลองสุพรรณบัฎสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ม.ร.ว.เจริญ อิศรางกูร ณ อยุธยา) ที่วัดระฆังในงานนั้นมีอาจารย์มาประชุมกันหลายรูป พอตกบ่ายฝนตั้งเค้ามือครึ้ม เสมียน (ตรา) เหมือน บ้านหลังตลาดบ้านขมิ้น จังหวัดธนบุรี ผู้ซึ่งมีความเคารพในเจ้าประคุณสมเด็จฯ มาก ได้กล่าวขึ้นในที่ประชุม ว่าท่านผู้ใดจะสามารถห้ามไม่ให้ฝนตกไดั ที่ประชุมต่างนิ่งไม่มีใครว่าขานอย่างไร เสมือนเหมือนกล่าวต่อไปว่า (สมเด็จโตถึงจะห้ามฝนได้" ดังนี้ แล้วผินหน้าไปทางรูปหลบ่อเจ้าประคุณสมเด็จฯ จะธูปเทียนบุชาสักการะตั้งสัตยาธิศฐานขออย่าให้ฝนตกที่วัด ว่าวันนั้นฝนตกเพียงแค่โรงหล่อ หกตกถึงที่วัดระฆังไม่ คนทั้งหลายต่างเห็นอัศจรรย์ยิ่งนัก นอกจากนี้ยังมีเรื่องราวเล่ากันอึกมากมายหลายเรื่อง

ทีนี้จะพรรณาว่าด้วยอภินิหาร พระพุทธรูปที่เจ้าประคุณสมเด็จฯ สร้างต่อไป จะกล่าวงถึงพระโตก่อน อันพระโต (หรือเรียกกันว่า "หลวงพ่อโต") ที่เจ้าประคุณสมเด็จฯ สร้างไว้นี้ ดูเหมือนจะมีอภินิหารศักดิ์สิทธิ์ทั้งนั้น ข้อนี้จะพึงสังเกตุเห็นได้ ด้วยมีประชาชนไปปิดทองบนบานศาลกล่าวและเซียมซีเสี่ยงทายกันเนือง ๆ บางแห่งถึงจัดให้มีงานประจำปี มีพุทธศาสนิกชนจากแหล่งต่าง ๆ ทั่วประเทศมาชุมนุมกันในคราวหนึ่ง ๆ นักแสน ว่าเฉพาะพระโตวัดไชโยปรากฎในหนังสือ "ลิลิตพายัพ" พระราชนิพนธ์

ในรัชกาลที่6 ว่าเมื่อปีมะเส็ง พ.ศ.2448 พระบาทสมเด็จ ฯ พระมงกุฎกล้าเจ้าอยู่หัว แต่ยังดำรงพระยศเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เสด็จประพาสหัวเมืองมณฑลพายัพ ขากลับกรุงเทพฯ เสด็จทางชลมารคถึงวัดไชโจได้เสด็จขึ้นนมัสการ ดังที่ทรงพระราชนิพนธ์เป็นโคลงไว้ดังนี้

ถึงไชโยหยุดยั้ง นาวา
พระเสด็จขี้นอุรา วาสนั้น
นมัสการปฏิมา กรเกตุ
คุณพระฉัตรกั้น เกศข้า ทั้งปวง

ในที่นี้จะกล่าวถึงอภินิหารพระโตวัดอินทรวิหาร เป็นนิทัศนุทาหรณ์ พระโตองค็นี้เป็นพระพุทธรูปที่ศักดิ์สิทธิ์มาก ว่าสามารถคุ้มกันสรรพภัยพิบัติและให้เกิดสุขสวัสดิ์ ลาภผลอย่างมหัสจรรย์ ดังพรรณนาไว้ในเรื่องประวัติ พิมพ์เมื่อวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ.2490 คัดมาลงไว้ต่อไปนี้

อภินิหารของหลวงพ่อโตศักดิ์สิทธ์มาก ดังเป็นที่ประจักษ์อยู่แล้วโดยทั่วกัน สักขีพยานซึ่งได้เห็นกันอยู่ในเร็วๆ นี้ ในระหว่างที่บ้านเมืองกำลังอยู่ในระหว่างสงคราม (พ.ศ.2484-2487) หลวงพ่อโตหาได้กระทบเทือนอย่างใดไม่ คงอยู่เป็นมิ่งขวัญ เป็นที่สักการะของชาวเราอยู่ตลอดไป ได้มีผู้กล่าวสรรเสริญถึงอภินิหารความศักดิ์สิทธิ์ของท่านอยู่เสมอมิได้ขาด ในยามสงครามประชาชนในเขตอื่น ๆ อพยพกันเป็นจ้าระหวั่น แต่ในบริเวณเขตหลวงพ่อโต มิใคร่จะมีใครอพยพกัน

ซึ่งมีบางท่านกล่าวว่า จะไม่ยอมไปไกลจากองค์หลวงพ่อโตเป็นอันขาด แต่มีบางท่านจะต้องอพยพ ได้ไปลาสมเด็จพระสังฆราช (แพ ติสสเทว) วัดสุทัศน์ มีรับสั่งว่าอย่าไปเลย ในบริเวณวัดอินทรวิหาร เหมาะและปลอดภัยแล้ว เพราะหลวงพ่อโตท่านก็คุ้มครองอยู่ คงจะปัดเป่าภยันตรายไปได้และสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) ท่านเป็นผู้สร้างได้ทำไว้ดีแล้ว ประชาชนส่วนมากในวัดอินทรวิหารจึงไม่ใคร่อพยพจากไป นอกจากนั้น เมื่อมีภัยทางอากาศเกิดขึ้นในคราวใด ประชาชน ในเขตอื่น ๆ ยังพลอยหลบภัยเข้ามาอาศัยอยู่ในบริเวณหลวงพ่อโตเป็นจำนวนมาก ปรากฎว่ามีเครื่องบินมาทิ้งลูกระเบิด ที่บริเวณวัดอินทรวิหารเหมือนกัน เป็นลูกระเบิดเพลิงรวมด้วยกัน 11 ลูกแต่ไม่ระเบิด และไม่เกิดเพลิงอย่างใด ในครั้งต่อมา ได้มีเครื่องบินมาทึ้งระเบิดที่ตำบลเทเวศร์ โดยเฉพาะองค์หลวงพ่อโตวัดอินทรวิหาร ใกล้กับจุดอันตรายมาก แต่หาเป็นอันตรายแม้แต่น้อยไม่

ซึ่งประชาชนส่วนมากที่หลบภัย เข้ามาในบริเวณหน้าหลวงพ่อโต มองเห็นฝูงเครื่องบินมาทิ้งระเบิดบ่ายโฉมหน้า มุ่งตรงมายังหลวงพ่อโต ครั้นมาถึงในระยะใกล้เครื่องบินฝูงนั้น กลับวกมุ่งไปทางทิศอื่นเสีย ซึ่งดูประหนึ่งหลวงพ่อโต ท่านโบกหัตถ์ให้ไปทางทิศอื่นเสีย ประชาชนและบ้านเรือนในเขตบริเวณหน้าหลวงพ่อโต วัดอินทรวิหาร จึงหาเป็นอันตรายแต่ประการใดไม่

เรื่องที่กล่าวมานี้ นับว่าเป็นสิ่งศักดิ์สิทธ์อยู่มิใช้น้อย นี้ก็แสดงให้เห็นอยู่แล้วว้า หลวงพ่อโตวัดอินทรวิหารท่านมีอภินิหารความศักดิ์สิทธ์มากเพียงใด จนกระทั่งในทุกวันนี้ประชาชนก็พากันมานมัสการ สักการะบูชามิได้ขาด ชาวต่างประเทศที่เดินทางเข้ามาชมพระนคร ก็ยังเลยมานมัสการหลวงพ่อโตเสมอ

"ตามปกติประชาชน นิยมน้ำมนต์ของท่านมาก มีผู้มาขอน้ำมนต์ของท่านไม่เว้นแต่ละวัน น้ำมนต์ของทานเมื่ออธิษฐานแล้วใช้ได้ตามความปรารถนา เป็นมหานิยมดีด้วย เวลาที่จะไปหาผู้ใด ผู้นั้นก็มีความเมตตากรุณา ก่อนที่จะใช้น้ำมนต์ของท่านให้ได้สมความปรารถนาแล้ว ควรจะทราบวิธีใช้ด้วย คือ เมื่อผู้ใดจะเอาน้ำมนต์ของหลวงพ่อไปใช้ ควรหาเครื่องสักการะบูชา เช่น ธูปเทียน ดอกไม้ บูชาเสียก่อน แล้วตั้งจิตให้แน่วแน่ น้อมระลึกถึงองค์หลวงพ่อโต ตลอดจนสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) ผู้สร้างให้ช่วยตามความปรารถนาแล้ว นำน้ำมนต์ไปให้รับประทาน และอาบตามความประสงค์ ผู้นั้นจะประสบแต่โชคชัย เคราะห์ร้ายก็อาจจะกลับกลายเป็นดีได้ ด้วยประการฉะนี้"

พระพิมพ์ของเจ้าประคุณสมเด็จฯ หรือเรียกกันตามสะดวกปากว่า "สมเด็จ" นั้น ได้กล่าวมาแล้วว่าเจ้าประคุณสมเด็จได้สร้างขึ้นไว้ด้วยมุ่งหมายจะให้เป็นการสืบต่ออายุพระศาสนาเป็นข้อสำคัญ แต่น่าประหลาดอยู่ ที่คนทั้งหลายต่างนับถือพรสมเด็จเป็นเครื่องรางที่ทรงคุณานุภาพเป็นอย่างวิเศษ ว่าในบรรดาพระเครื่องราง พระสมเด็จเด่นอยู่ในความนิยมของสังคม ในทุกยุคทุกสมัย และว่าจะหาซื้อได้ด้วยเงินตราในราคาแพงมาก อันเรื่องเกี่ยวกับอภินิหารพระสมเด็จนั้น ได้ฟังเล่ากันมากมายหลายเรื่อง จะเขียนลงไว้แต่เฉพาะบางเรื่อง ดังต่อไปนี้

กล่าวกันว่า ภายหลังแต่เจ้าประคุณสมเด็จฯ ถึงมรณภาพ พระสมเด็จที่ใส่บาตร สัด และกระบุงตั้งไว้ที่หอสวดมนต์นั้น ได้ขนย้ายเอาไปไว้ที่ในพระวิหารวัดระฆัง (ว่าเอาไว้ที่บนเพดานพระวิหารก็มี) โดยมิได้มีการพิทักษ์รักษากันอย่างไร เป็นต้นว่าประตูวิหารก็ไม่ได้ใส่กุญแจ ในปีหนึ่งเป็นเทศกาลตรุษสงกรานต์ มีทหารเรือหลายคนมาเล่นการพนันที่หน้าวัด เช่นหยอดหลุม ทอยกอง เป็นต้น จะเนื่องด้วยเหตุใดไม่ปรากฏ ทหารเรือเหล่านั้นได้เกิดวิวาทถึงชกต่อยตีรันกันเป็นโกลาหล ทหารเรือคนหนึ่งได้เข้าไปเอาพระสมเด็จใสพระวิหารมาอมไว้องค์หนึ่ง แล้วกลับมาชกต่อยตีรันประหัตประหารกันต่อไป ที่สุดปรากฎว่าทหารเรือคนนี้น ไม่ได้รับบาดเจ็บอย่างไร แม้รอยฟกช้ำก็ไม่มี ส่วนทหารเรือคนอื่น ๆ ต่างได้รับบาดเจ็บ ที่ร่างกายมีบาดแผลมากบ้างน้อยบ้างทุกคน อีกเรื่องหนึ่งว่า คราวหนึ่งมีชายคนหนึ่ง อยู่บ้านตำบลไชโย จังหวัดอ่างทอง ป่วยเป็นโรคอหิวาต์ คือวันหนึ่งฝันว่า เจ้าประคุณสมเด็จฯมาบอกว่า "ยังไม่ตายให้ไปเอาพระสมเด็จที่บนเพดานพระวิหารวัดระฆัง มาทำน้ำมนต์กินเถิด" พวกญาติได้พยายามแจวเรือกันมา เอาพระสมเด็จไปอธิษฐานทำน้ำมนต์ให้กิน ก็หายจากโรคนั้น ทั้ง 2 เรื่องที่เล่ามานี้ ว่าเป็นมูลให้เกิดคำเล่าลือถึงอภินิหารพระสมเด็จเป็นประถม

พระอาจารย์ขวัญ วิสิฎโฐ เล่าว่า มาหญิงคนหนึ่ง ชื่อจัน ภูมิลำเนาเดิมอยู่จังหวัดอ่างทอง คุ้นเคยสนิทสนมกับเจ้าประคุณสมเด็จฯ แต่ยังเยาว์วัย ต่อมานางจันได้ย้ายมาประกอบอาชิพตั้งร้านค้าอยู่ทางแขวงจังหวัดนนทบุรี ภายหลังยากจนลง เพราะการค้าขาดทุน นางจันได้ยินกิตติศัพท์เลื่องลือ ถึงคุณวิเศษของเจ้าประคุณสมเด็จฯ วันหนึ่งจึงเข้าไปหาท่าน สนทนากันในตอนหนึ่ง นางจันกล่าวว่า "เวลานี้ดิฉันยากจนมาก" ท่านว่า "มาที่นี่ไม่จนหรอกแม่จัน" แล้วท่านหยิบพระประจำวันให้นางจันองค์หนึ่ง (จะเป็นพระประจำวันอะไรหาทราบไม่) บอกให้อาราธนาทำน้ำมนต์อธิษฐานตามปรารถนา และว่า "ถ้าแม่จันรวยแล้ว อย่ามาหาฉันอีกนะจ๊ะ" นางจันกราบเรียนถามว่า "เป็นยังไงล่ะเจ้าคะ?" ท่านตอบว่า "ฉันไม่ชอบคนรวย ฉันชอบคนจนจ้ะ" ว่านางจันได้พระมาแล้วทำตามที่ท่านบอก แต่นั้นการค้าก็เจริญขี้นโดยลำดับ ที่สุดนางจันก็ตั้งตัวได้เป็นหลักฐาน ผู้หนึ่งในถิ่นนั้น นางจันทีอายุอ่อนกว่าเจ้าประคุณสมเด็จฯ เรียกเจ้าประคุณสมเด็จฯ ว่า "หลวงพี่" มีคนถามนางจันว่า "รวยแล้วทำไมจึงไม่ไปหาสมเด็จฯ อีกเล่า" นางจันตอบว่า "เพราะหลวงพี่โตสั่งไว้ว่า ถ้ารวยแล้วห้ามไม่ให้ไปหา หลวงพี่โตนี่แหละศักดิ์สิทธิ์นัก พูดคำไหนต้องเป็นคำนั้น"

ร้อยเอกหลวงวิจารณ์พลฉกรรจ์ (แสวง ผลวัฒนะ) สัสดีจังหวัดกาญจนบุรี ว่า คราวหนึ่งไปราชการทหารที่ตำบลพนมทวนในจังหวัดนั้น กถูกคนร้ายลอบยิงหลายนัด แต่ไม่เป็นอันตราย ว่าเพราะมีพระสมเด็จที่บิดา ( นาย อาญาราช อิ่ม ซึ่งเมื่อบวชเป็นต้นกุฏิเจ้าประคุณสมเด็จฯ ให้ไว้)

นายเปลื้อง แจ่มใส ว่าเมื่อยังรับราชการในกรมรถไฟ แผนกช่างเวลานั้นอายุราว 25 ปี คราวหนึ่งได้ขึ้นไปตรวจทางรถไฟสายเหนือซึ่งเพิ่งสร้างเสร็จขณะยืนตรวจการอยู่ท้ายรถถึงที่แห่งหนึ่ง (ตำบลบ้านแม่ปิน จังหวัดแพร่) รถแล่นเข้าโค้ง พอนายเปลื้องประมาทตัวนายเปลื้องได้พลัดตกจากรถลงไปนอนอยู่ข้างทาง (เวลาตกนั้นรู้สึกตัวเบามาก) แต่ไม่ได้รับบาดเจ็บอย่างใด เป็นเพียงเท้าขัดยอกบ้างเล็กน้อยเท่านั้น นายเปลื้องว่าที่ตัวไม่มีอะไรนอกจากพระสมเด็จ จึงเชื่อมั่นว่าที่ไม่เป็นอันตรายนั้นเป็นเพราะอานุภาพพระสมเด็จแน่นอน

พระอาหรภัตรพิสิฐ (เล็ก อุณหนันท์) เล่าหลายเรื่อง เรื่องหนึ่งว่า คราวหนึ่งหญิงลูกจ้างคนหนึ่งชื่อรูป เกิดโรคท้องเดินจงตัวซีด (เข้าใจว่าเป็นโรคอหิวาต์) ในเวลานั้นดึกมากราว 1.00 น. ไม่ทราบว่าจะไปหายาที่ไหน นึกขึ้นถึงพระสมเด็จที่มีอยู่ (เป็นพระชนิดปรกโพธิ์ใบ) คุณพระจึงอาราธนาทำน้ำมนต์ให้กินบ้าน เอาตบศีรษะบ้าง สักครู่หนึ่งก็นอนหลับ เมื่อตื่นขึ้นหญิงนั้นบอกว่า ได้ฝันว่า มีพระสงฆ์แก่องค์หนึ่งมาบอกว่า "ยังไม่ตาย" ว่าได้กินน้ำมนต์นั้นเรื่อย ๆ มา จนอาการโรคคลายหายเป้ปกติดี เรื่องหนึ่งว่าเมื่อภรรยาจะคลอดบุตรคนสุดท้อง เจ็บครรภ์อยู่จนถึง 3 วันก็ยังไม่คลอด คุรพระจึงจะธูปเทียนบูชาสักการะ อาราธนาพระสมเด็จลงแช่ในน้ำ ตั้งจิตอธิษฐานตามประสงค์ แล้วเอาน้ำนั้นให้กินบ้าง ตบศีรษะบ้าง ว่าไม่ช้านักก็คลอดอย่างง่ายตาย เรื่องหนึ่งว่า แขกที่พาหุรัดคนหนึ่ง ซึ่งชอบพอคุ้นเคยกับคุณพระบอกว่า ที่เขาได้ภรรยา 3 คนที่อยู่ด้วยกันในเวลานี้นั้น เพราะเขาเอาพระสมเด็จฝนให้กินทุกคน (ว่าพระนั้นเป็นพระสมเด็จกรุวัดใหม่บางขุนพรหม)

อีกเรื่องหนึ่งว่า พระสมเด็จงูไม่ข้าม คราวหนึ่งมีงูเลื้อยมา คุณพระได้เอาพระเครื่องเหล่านั้น ทำดังนี้หลายครั้ง ปรากฏว่างูมิได้เลื่อยข้ามพระสมเด็จ แม้แต่เลื้อยเข้ามาใกล้ก็ไม่มี ส่วนพระเครื่องชนิดอื่น ๆ งูได้เลื้อยข้ามบ้าง เลื้อยเฉียดไปบ้าง คุณพระอาทรฯ เล่าต่อไปว่า ตัวคุณพระเองได้เคยฝ่าอันตรายมาหลายครั้ง แต่ก็ปลอดภัยทุกคราว และว่าน่าประหลาดอย่างหนึ่ง ที่คนกำลังทะเลาะวิวาทถึงจะทำร้ายกัน ถ้าเรามีพระสมเด็จอยู่กับตัวเข้าไปห้ามปราม คนเหล่านั้นจะเลิกทะเลาะต่างแยกย้ายกันไปทันที

ได้ฟังเล่ากันอึกเรื่องหนึ่งเกี่ยวกับพระสมเด็จแก้โรคอหิวาต์ จะเขียนแทรกลงไว้ตรงนี้ เมื่อปีระกา พ.ศ.2416 เกิดโรคอหิวาต์(โรคป่วง) ครั้งใหญ่ ผู้คนล้มตายกันมาก กล่าวในจดหมายเหตุบัญชีน้ำฝนของสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ (เล่ม3) ดังนี้

"ระกาความไข้ คนตายนับได้ เกือบใกล้สี่พัน เบาน้อยกว่าเก่า หาเท่าลดกันมะโรงก่อนนั้น แสนหนึ่งบัญชี เขาจดหมายไว้ในสมุดปูนมีมากกว่าดังนี้เป็นไป

(เดือน 8 ข้างขึ้น)
เกิดไข้ในวัดม้วย วันละคน
ตั้งแต่สองค่ำดล หกเว้น
ศิษย์พระวอดวายชนม์ ถึงสี่ เทียวนา
บางพวกไกลโรคเร้น ชีพตั้ง ยังเหลือ
จบเสร็จเผด็จสิ้น ปีระกา
โรคป่วงเกิดมีมา ทั่วดาน
น้ำน้อยไม่เข้านา เสียมาก เทียวแฮ
ในทุ่งรวงข้าวม้าน ไค่กล้า นาเสีย"

กล่าวกันว่า ในคราวนั้นสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวง ทรงพระราชทานแจกสมเด็จ (ชนิดปรกเมล็ดโพธิ์ ที่เรียกกันว่า "สมเด็จเขียว") ว่าคนเป็นอันมากได้รอดตายเพราะพระสมเด็จนั้น จึงเกิดกิตติศัพท์เลื่องลือกันแพร่หลายสืบมา

ที่มา : http://www.itti-patihan.com
ย้อนกลับ | หน้าที่ ๑ | หน้าที่ ๒

ฟังธรรมะบรรยาย
(มากกว่า ๔,๐๐๐ ไฟล์)

อ่านพระไตรปิฎก
(คัมภีร์สำคัญทางพุทธศาสนา)
อ่านหนังสือธรรมะออนไลน์
(โดยพระเกจิอาจารย์ชื่อดัง)
วิธีปฏิบัติธรรม
(ธรรมะภาคปฏิบัติ)
 

จุดมุ่งหมายสูงสุดของพระพุทธศาสนา
     จุดหมายสูงสุด ของพระพุทธศาสนา พึงบรรลุได้ด้วยความสุขหรือด้วยข้อปฏิบัติที่มีความสุข มิใช่บรรลุด้วยความทุกข์ หรือด้วยข้อปฏิบัติที่เป็นทุกข์
      ผู้ปฏิบัติจะต้องไม่ติดใจหลงไหลในความสุขที่เกิดขึ้นแก่ตน ไม่ปล่อยให้ความสุขที่เกิดขึ้นนั้น ครอบงำ
        จิตใจของตน ยังมีจิตใจเป็นอิสระ สามารถก้าวหน้าไปในธรรมเบื้องสูง ต่อๆ ไป จนบรรลุความเป็นอิสระ
        หลุดพ้นโดยบริบูรณ์
      ซึ่งเมื่อบรรลุจุดหมายนั้นแล้ว ก็สามารถเสวยความสุขที่เคยเสวยมาแล้ว โดยที่ความสุขนั้น ไม่มีโอกาส
        ครอบงำจิตใจ ทำให้ติดพันหลงไหลได้เลย
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต)

หลักแห่งพระพุทธศาสนาโดยสรุป
     พุทธศาสนาคือวิชาและระเบียบปฏิบัติ เพื่อให้รู้สิ่งทั้งปวงถูกต้องตามที่เป็นจริงว่าอะไรเป็นอะไร สิ่งทั้งปวง มีสภาพตามที่เป็นจริง คือ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่ใช่ตัวหรือของตัว ; แต่สัตว์ทั้งหลายยังหลงรัก หลงยึดติดสิ่งทั้งปวง เพราะอำนาจของการยึดมั่นที่ผิด ในพุทธศาสนามีวิธี ปฏิบัติเรียกว่า ศีล สมาธิ ปัญญา เพื่อใช้เป็นเครื่องมือ ตัดการติดการยึดมั่นนั้นเสีย อุปาทาน การยึดมั่นนั้นมีสิ่งที่ลงเกาะหรือจับยึด คือ ขันธ์ทั้งห้า คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
      เมื่อรู้จักขันธ์ทั้งห้า ตามที่เป็นจริง ก็จะสามารถเข้าใจสิ่งทั้งปวงจนถึงกับเบื่อหน่ายคลายความอยาก ไม่ยึดอะไร ติดอะไร และเราควรจะมีชีวิตอยู่อย่างที่เรียกว่า "เป็นอยู่ชอบ" คือให้ วันคืนเต็มไปด้วยความปีติ ปราโมทย์ อันเกิดมาจากการกระทำที่ดีที่งามที่ถูกต้องอยู่เป็นประจำ แล้วระงับความฟุ้งซ่าน เกิดสมาธิ เกิดความเห็นแจ้งได้เรื่อยๆ ไป จนกระทั่งเกิดความเบื่อหน่าย ความคลายออก ความหลุดพ้น และนิพพานได้ตามความเหมาะสมของสิ่งแวดล้อม
      ถ้าเราจะรีบเร่งทำให้ได้ผลเร็วขึ้น ก็มีแนวปฏิบัติที่เรียกว่า วิปัสสนาธุระ เริ่มตั้งแต่มี ความประพฤติบริสุทธิ์ มีใจบริสุทธิ์ มีความเห็นบริสุทธิ์ เรื่อยขึ้นไปจนถึงมีปัญญา คือความเห็นแจ้งบริสุทธิ์ ในที่สุดก็จะตัดกิเลสที่ผูกมัดคนให้ติดอยู่กับวิสัยโลกออกเสียได้ เรียกว่า การบรรลุมรรคผล
ท่านพุทธทาสภิกขุ : คู่มือมนุษย์



สงวนลิขสิทธิ์โดย ธรรมะพีเดีย.คอม
เว็บไซต์นี้จัดทำขึ้นเพื่อเผยแผ่พุทธศาสนา โดยไม่มุ่งหวังผลทางพาณิชย์
อนุญาตให้นำไปเผยแผ่เพื่อสืบต่อพุทธศาสนาได้ตามกุศลเจตนา

www.thammapedia.com
( ศูนย์เผยแผ่พระพุทธธรรม )
Copyright © 2008 ALL RIGHTS RESERVED
 
 
หน้าหลัก