หน้าหลัก พระสงฆ์ พระอริยสงฆ์ไทย หลวงปู่ตื้อ อจลธมฺโม
Search:

“ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการ ...
สัมมาทิฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ สัมมาญาณะ สัมมาวิมุตติ
..ย่อมเป็นผู้ควรของคำนับ เป็นผู้ควรของต้อนรับ ผู้ควรแก่ทักษิณา เป็นผู้ควรอัญชลีกรรม เป็นนาบุญของโลก

หนังสือ พระพุทธศาสนาจากพระโอษฐ์
รองศาสตราจารย์แสง จันทร์งาม

หน้าแรก : หมวดพระสงฆ์
หลวงปู่ตื้อ อจลธมฺโม
หลวงปู่ตื้อ  อจลธมฺโม
หลวงปู่ตื้อ อจลธมฺโม
๓ กุมภาพันธ์ ๒๔๓๑ - ๑๙ กรกฎาคม ๒๕๑๗
วัดอรัญญวิเวก บ้านข่า อำเภอศรีสงคราม จังหวัดนครพนม
--------------------
ชาติกรรมเนิดและชีวิตปฐมวัย

หลวงปู่ตื้อ อจลธมฺโม นามเดิมชื่อ ตื้อ นามสกุล ปาลิปัตต์ ท่านเป็นตระกูลชาวนา ถือกำเนิดเมื่อวันจันทร์ที่ 3 กุมภาพันธ์ พุทธศักราช 2431 ตรงกับวันขึ้น 3 ค่ำ เดือน 3 ปีชวด สัมฤทธิศกจุลศักราช 1250 ณ บ้านข่า ตำบลบ้านข่า อ.ศรีสงคราม จ.นครพนม
บิดา ชื่อ นายปา ปาลิปัตตฺ
มารดา ชื่อ นางปัตต์ ปาลิปัตต์

มีพี่น้องร่วมบิดามารดาเดี่ยวกัน 7 น ชาย 5 หญิง 2 คน คือ
1. นางคำมี ปาลิปัตต์ (ถึงแก่กรรมแล้ว)
2. เป็นชาย (ถึงแก่กรรมแล้วตั้งแต่เด็ก)
3. นายทอง ปาลิปัตต์ (ถึงแก่กรรมแล้ว)
4. นายบัว ปาลิปัตต์ (ถึงแก่กรรมแล้ว)
5. หลวงปู่ตื้อ อจลธมฺโม (มรณภาพแล้ว)
6. นายตั้ว ปาลิปัตต์ (ถึงแก่กรรมแล้ว)
7. นายอั้ว ทีสุกะ (ถึงแก่กรรมแล้ว)

หลวงปู่ตื้อ อจลธมฺโม เป็นผู้มีนิสัยรักความสงบ เขาเป็นศิษย์วัดตั้งแต่ยังเด็ก และได้รับการบรรพชาเป็นสามเณรอยู่ระยะหนึ่ง เป็นผู้ใฝ่ใจในการศึกษา มีนิสัยตรงไปตรงมา และเป็นที่น่าสังเกตว่า ในเครือญาติของท่านใฝ่ใจในการบรรพชาอุปสมบททั้งนั้น และถ้าเป็นหญิงก็เข้าบวชชีตลอดชีวิต

สำหรับหลวงปู่ตื้อ ได้รัยอุปสมบทเป็นพระภิกษุ เมื่อมีอายุได้ 21 ปี บวชครั้งแรกในฝ่ายมหานิกาย บวชนานถึง 19 พรรษา ต่อมาได้ญัตติเป็น ฝ่ายธรรมยุตินิกาย จนถึงวาระสุดท้ายได้ 46 บรรษา สิริรวมอายุ 86 พรรษา

ก่อนหลวงปู่ตื้อ อจลธมฺโม จะออกบวชเป็นพระภิกษุนั้น ท่านได้เกิดนิมิตอันดีงามแก่ตัวท่านเอง คือก่อนคืนที่ท่านจะออกบวชนั้น กลางคืนท่านได้นิมิตฝันว่า ได้มีชีปะขาว 2 คนเข้ามาหาท่าน คนหนึ่งแบกครกหิน อีกคนหนึ่งถือสากหิน มาหยุดอยู่ตรงหน้าท่าน แล้ววางครกและสากลง

คนแรกปพูดว่า “ไอ้หนู เจ้ายกสากหินนี้ออกจากครกได้ไหม”
หลวงปู่ตื้อ ตอบว่า “ขนาดต้นเสาใหญ่ ผมยังแบกคนเดียวได้ ประสาอะไรกับของเพียงแค่นี้”

แล้วท่านก็เดินเข้าไปพยายามยกเท่าไหร่ๆ ก็ไม่สำเร็จ จนถึงวาระที่ 3 จึงสามารถยกสากหินนั้นขึ้นได้
เมื่อยกได้แล้ว ก็ได้เอาสากหินนั้นตำลงที่ครก และตำเรื่อยไป มองดูที่ครกเห็นมีเปลือกเต็มไปหมด ทานจึงได้พยายามตำข้าวเปลือกเหล่านั้น จนกลายเป็นข้าวสารไปหมด แล้วชีปะขาวก็หายไป

เมื่อชีปะขาวหายไป จากนั้นก็ปรากฏว่าได้มีพระเถระ 2 รูป มีกิริยาอาการน่าเคารพเลื่อมใสมาก ทั้งร่างกายเป็นรัศมี ท่านนึกว่าเป็นพระอริยเจ้าผปู้วิเศษ เดินตรงมาที่ท่านแล้วพูดเบาๆว่า
“หนูน้อย เจ้ามีกำลังแข็งแรงมาก”

พอดีท่านรู้สึกตัวขึ้นมา แล้วนั่งทบทวนพิจารณาถึงความฝันที่ผ่านมา เห็นเป็นเรื่องแปลกและพิสดารมาก คิดว่านิมิตเช่นนี้จะทำให้เกิดอะไรขึ้นบ้างหนอ คือแต่เพียงว่าคงจะมีเรื่องดีเกิดขึ้นกับท่านแน่
ท่านคิดได้แค่นี้ก็ระลึกถึงคำของบิดาว่า ได้สั่งให้ไปต้อนควายจากท้องทุ้งนา ให้เข้ามาหากินอยู่ใหล้ๆ บ้าน ท่านจึงได้ลุกออกจากบ้านไปต้อนไล่ควาย มาเลี้ยงอยู่ใกล้ๆ บ้าน แต่ในใจยังนึกถึงความฝันเมือคืนนี้อยู่
เป็นเพราะหลวงปู่ตื้อมีนิสัยรักความสงบอยู่แล้ว จึงคิดขึ้นมาว่า สมควรที่เราจะต้องบวช เพื่อประพฤติธรรมดูบ้าง คิดว่าวันพรุงนี้เราต้องออกไปอยู่วัดอีก เพื่อจะได้บวชเป็นพระภิกษุแล้ว จะได้มีโอกาสประพฤติธรรมอย่างจรึงจังบ้าง และก็เป็นเช่นที่คิด พอรับประทานอาหารเย็นวันนั้นเสร็จเรียบร้อยแล้ว บิดาท่านก็บอกว่า
“กินข้าวอิ่มแล้วให้รีบไปหาปูจารย์สิมที่บ้าน ปู่จารย์สิมมาตามหาเจ้าตั้งแต่กลางวันแนะ”

หลวงปู่ตื้อนึกสงสัยว่าจะมีเรื่องอะไรก็ไม่ทราบ จึงรีบไปหาปู่อาจารย์สิมทันที
(คำว่า พ่ออาจารย์, ปู่จารย์, หมายถึง ผู้ชายที่ได้รับบวชเรียน เป็นพระภิกษุมาก่อนหลายพรรษา และได้เล่าเรียนวิชา จนมีความรู้พอสมควร เป็นที่เคารพนับถือของคนทั่วไป แต่ต่อมาได้สึกออกมใช้ชีวิตฆราวาส)

เมื่อไปถึงบ้านปู่จารย์สิมเรียบร้อยแล้ว ปู่จารย์สิมเปิดประตูข้างในเรือน และเรียกให้ท่านเข้าไปหา พอท่านเข้าไปในห้อง เห็นมีผ้าไตรจีวร บาตร และเครื่องบริขาร สำหรับบวชพระแล้ว ปู่จารย์สิมก็ยื้นขันดอกไม้ที่เตรียมเอาไว้ให้ พร้อมกับพูดว่า “เห็นมีแต่หลานคนเดียวเท่านั้น ที่สมควรจะบวชให้ปู่ เพราะปู่ได้เตรียมเครื่องบวชไว้เรียบร้อยแล้ว แต่หาคนบวชไม่ได้ จึงให้หลานได้บวชให้ปู่สัก 1 พรรษา หรือได้สัก 7 วันก็ยังดี ขอให้บวชให้ปู่ก็เป็นพอ จะนานเท่าไรก็ได้ไม่เป็นไร”

หลวงปู่ตื้อได้รับปากกับปู่จารย์สิม ซึ่งเป็นปู่ของท่านทันที แต่ขอไปบอกลาบิดามารดาเสียก่อน เมื่อบิดามารดาอนุญาตให้ ก็จะได้บวชตามที่ปูจารย์สิมต้องการ บิดามารดาของท่าน เมื่อได้ยินลูกชายเล่าให้ฟังเช่นนั้น ก็อนุญาตตามที่ปู่จารย์สิมขอ พร้อมกลับกล่าวคำอนุโมทนาสาธุการ แสดงความยินดีกับลูกชายเป็นอย่างยิ่ง

ชีวิตสมณะ การแสวงหาธรรม และปฏิปทา

เมื่อหลวงปู่ตื้อ อจลธฺมโม ได้รับอนุญาตจากบิดามารดาให้บวชแล้ว ท่านก็ได้เข้าไปอยู่เป็นศิษย์วัด อยู่ต่อมาจนได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุ ในฝ่ายมหานิกาย เมื่อ ปีพ.ศ.2452 แต่ในบันทึกไม่ปรากฏแน่ชัดว่า ท่านบวชที่ไหนและบวชกับใคร ท่านบอกว่า ท่านบวชกับประอุปัชฌาย์คาน อำเภอท่าอุเทน จังหวัดนครพนม แล้วก็กลับไปจำพรรษาที่วัดบ้านข่า ซึ่งเป็นบ้านเดิม เพื่อศึกษาเล่าเรียนตามอุปนิสัย ที่ท่านนัดอยู่แล้ว นิสัยของท่านชอบการศึกษาค้นคว้าพระธรรมวินัย อันเป็นคำสอนของพระพุทธเจ้าเป็นอย่างมาก

เมื่อท่านบวชครบ 7 วัน แล้วปู่จารย์สิมได้มาหาท่านที่วัด ถามถึงเรื่องที่จะสึกหรือไม่สึก ถ้าสึกจะหาเสื้อผ้ามาเตรียมไว้ให้ ท่านก็สองจิตสองใจใครสึกบ้าง ไม่สึกบ้าง แต่มาคิดได้ว่า ถ้าสึกตอนนี้ชาวบ้านจะพากันเรียน ไอ้ทิต 7 วัน รู้สึกอัยอาย จึงบอกหู่จารย์สิมว่า “อาตมายังไม่อยากสึก ขออยู่ไปก่อน รอให้ออกพรรษาก่อนเถิด”

ท่านก็บวชอยู่ได้ครบพรรษาหนึ่ง ท่านหัดท่องหัดสวดเจ็ดตำนาน สิบสองตำนานจนขึ้นใจ

พอออกพรรษาเรียบร้อยแล้ว ท่านก็ทำเฉยเสีย เพราะรู้สึกใจคอท่านสบายดีอยู่ ถ้าหากสึกไปแล้ว การเล่าเรียนพระธรรมก็ยังไม่ไปถึงไหนเลย แค่อาราธนาศีล 5 ศีล 8 อาราธนา เทศน์ยังทำไม่ได้คล่องแคล่ว เมื่อสึกออกไป ถูกเข้าไหว้วานให้อาราธนา ถ้าว่าไม่ได้จะอายเขาเปล่า ๆ

ต่อมาท่านได้เดินทางเพื่อไปศึกษาวิชาธรรมะ ในทางพระพุทธศาสนาที่เรียบกันว่า “เรียนสนธิ์ เรียนนาม มูลจัจจายน์” อันเป็นวิชาที่เรียนได้ยากในสมัยนั้น ถ้าหากใครเรียนได้จบ ตามหลักสูตรเรียกกันว่า “นักปราชญ์” เป็นผู้แตกฉานในพระธรรมวินัย

หลวงปู่ตื้อ อจลธมฺโม ได้เดินทางไปเรียนที่ วัดโพธิชัย อำเภอท่าอุเทน จังหวัดนครพนนม การเดินทางไปมีความลำบากมาก ทางคมนาคมไม่สะดวกเลย ต้องเดินไปด้วยเท้า (ระยะทางประมาณ 51 กิโลเมตร) สำนักเรียนวัดโพธิชัย มีชื่อเสียงมากในขณะนั้น เพราะมีอุปัชฌาย์คาน เป็นเจ้าสำนักเรียน

หลวงปู่ตื้อ อจลธมฺโมได้เข้าศึกษาเล่าเรียนวิชาบาลีสนธิ์นาม และมูลกัจจายน์ ในสำนักวัดโพธิชัยนี้ด้วยความสนใจเป็นเวลานานถึง 4 ปีเต็ม จึงจบตามการสอนของสำนักเรียน และได้ถือโอกาสกราบเรียนลาท่านพระอาจารย์ ผู้เป็นเจ้าสำนักเรียน กลับสำนักเดิมคือ วัดบ้านข่า

เมื่อท่านกลับมาอยู่วัดได้ 3 วันเท่านั้น ทั้งนี้คงเป็นเพราะนิสัยท่านใฝ่ใจในธรรม ชอบศึกษาค้นคว้าในคำสอนของพระพุทธเจ้า ท่านจึงได้เดินทางออกจากบ้าน เพื่อจะไปเรียนพระปริยัติธรรมต่อที่กรุงเทพมหานคร อันเป็นแหล่งที่มีการศึกษาเจริญที่สุด ได้ชักชวนพระภิกษุรูปหนึ่งในวัดออกเดินทางจากวัดเดิม ธุดงค์มุ่งหน้าไปยัง จังหวัดอุดรธานีก่อน ค่ำไหนก็พักจำวัดทำสมาธิภาวนาที่นั่น เป็นเวลาหลายวันจึงถึงอุดรธานี

แต่พอเดินทางถึงจังหวัดอุดรธานี พระภิกษุที่เป็นเพื่อนเดินทางเกิดเปลี่ยนใจ เพราะคิดถึงบ้านอยากกลับบ้าน ไม่ยอมไปเรียนต่อที่กรุงเทพมหานครตามที่ตั้งใจเอาไว้ ถึงแม้จะพูดอย่างไรก็ตามก็ไม่ยอม คิดแต่จะกลับบ้านอย่างเดียว ท่านต้องเป็นเพื่อนเดินทางกลับไปส่งพระรูปนั้นกลับบ้านข่า ถึงแค่อำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี แล้วท่านจึงเดินทางกลับมายังวัดโพธิสมภรณ์ จังหวัดอุดรธานีอีก แต่สมัยนั้นวัดโพธิสมภรณ์ หรือแม้จังหวัดอุดรธรนีก็ยังเป็นป่า ไม่ได้พัฒนาให้เจริญเหมือนอย่างทุกวันนี้

หลวงปู่ตื้อ อจลธมฺโม เมื่อได้เดินทางกลับมาถึงจังหวัดอุดรธานีคราวนี้ ท่านได้เปลี่ยนใจจากการไปศึกษาพระปริยัติธรรมที่กรุงเทพมหานคร เป็นการออกปฏิบัติธรรมกรรมฐานแทน

ท่านกล่าวว่า “การออกเดินธุดงค์ เป็นการเดินทางเส้นตรง... ต่อการบรรลุธรรมอย่างแท้จริง”
เมื่อท่านได้เปลี่ยนในเช่นนี้แล้ว ก็ได้เดินทางจากจังหวัดอุดรธานีมุ่งสู่จังหวัดหนองคาย ท่านได้แวะพักโปรดญาติโยมเป็นระยะ ๆ ไปและพักทำกรรมฐานที่ พระบาทบัวบกอำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี บำเพ็ญภาวนาอยู่หลายวัน จึงออกเดินทางไปยังฝั่งลาว พักกรรมฐานอยู่ที่บริเวณนครเวียงจันทน์ เป็นเวลาหลายเดือน

หลวงปู่ตื้อเล่าให้ฟังว่า ได้ไปทำความเพียรอยู่บนเขาควาย ทำกรรมฐานอยู่บริเวณนั้นเป็นเวลา 4 เดือนเต็ม คืนแรกที่ท่านไปถึงนั้น ได้ไปนั่งภาวนาอยู่ที่ถ้ำเล็ก ๆ แห่งหนึ่ง ในบริเวณนั้น พอนั่งสมาธิอยู่ไม่นานประมาณชั่วโมงเศษ ๆ เห็นจะได้ ท่านได้ยินเสียงดังมาแต่ไกล คล้ายเสียงลมพัดอย่างแรง แต่พอลืมตาขึ้นดูไม่เห็นมีอะไร นอกจากตัวผึ้งเป็นหมื่น ๆ ตัวบินวนเวียนอยู่เหนือศีรษะ คล้ายเสียงเครื่องบิน

สักพักหนึ่ง ตัวผึ้งเหล่านั้นก็บินลงมาเกาะ ตามผ้าจีวรเต็มไปหมด แล้วเที่ยวไต่ไปตามตัวจนท่านต้องเปลื้องจีวรและอังสะออกจากตัว และนุ่งสบงแบบจูงกระเบน แล้วรัดผ้ากับให้แน่น ตามตัวมีแต่ตัวผึ้งเต็มไปหมด แต่มันก็มิได้ต่อยทำร้ายท่าน หลวงปู่ตื้อบอกว่า ในภาวะเช่นนั้น ต้องใช้ความอดทนเป็นอย่างยิ่ง ประมาณ 20 นาที หมู่ผั้งเหล่านั้นทั้งหมดก็บินจากไป จากนั้นท่านก็นั่งภาวนาต่อไปอีกประมาณ 2 ชั่วโมงเศษ ๆ

ในขณะนั้นเอง ได้นิมิตเห็นศีรษะของชายคนหนึ่งค่อย ๆ โผล่ขึ้นมาจากพื้นข้างหน้าท่าน ห่างออกไปเล็กน้อย ดูเหมือนว่าเขากำลังเดินขึ้นมาจากเบื้องล่าง แล้วเดินเข้ามาหาท่าน จนเข้ามาใกล้ แล้วมาหยุดยืนอยู่เบื้องหน้า โดยไม่พูดอะไร ร่างกายชายคนนั้นใหญ่โตมาก

บุคคลนั้นยืนอยู่นานพอสมควร แล้วหันหลังเดินไป แต่การเดินกลับไปนั้น ดูเหมือนว่าเดินลึกลงไปสู่ที่ต่ำ เพราะหายลับลงไปอย่างรวดเร็วมาก จนมองตามไม่ทัน และท่านนั่งสมาธิอยู่ที่เดิม ไม่นานนักก็ได้ปรากฏว่า มีเทพยดาสวมมงกุฏสวยงามมากเข้ามาหาท่าน 2 องค์แล้วพูดขึ้นว่า “ท่านอาจารย์ ห่างจากนี้ไม่ไกลนัก มีพระพุทธรูปทองคำ 10 องค์ พระพุทธรูปเงิน 15 องค์ จมอยู่ในดิน ขอให้ท่านอาจารย์ไปเอาขึ้นมา เพื่อให้คนทั้งหลายได้กราบไหว้สักการบูชา เพราะบัดนี้ไม่มีใครรักษาแล้ว” พูดเท่านั้น เทพยาดาทั้งสองก็หายไป

หลวงปู่ตื่อเล่าเรื่องต่อไปว่า คืนที่ไปนั่งภาวนาอยู่ที่เส้นทางช้างศึกของเจ้าอนุวงษ์ นครเวียงจันทน์หลายคืน คืนหนึ่งมีวิญญาณหลงทางมาหามากมายจริง ๆ เหตุที่ว่าเป็นวิญญาณหลงทางนั้น เพราะจะแผ่เมตตาให้อย่างไร ก็ระลึกและคลายมานะทิฐิไม่ได้ ยังมัวเมาอยู่นั่นเอง วิญญาณพวกนี้โดยมากเป็นพวกทหารหนุ่ม ๆ ทั้งนั้น สังเกตเห็นว่า พวกนี้จะไม่ยอมกราบไหว้ ไม่มีเคารพในสมณเพศ ทั้งนี้เพราะส่วนมาก เป็นวิญญาณมิจฉาทิฐิมาปรากฏเพื่อให้เห็นเท่านั้น

รุ่งเช้า มีโยมมาขอให้ท่านพักอยู่ต่อไปนาน ๆ จะสร้างกุฏิถวาย แต่ท่านไม่รับนิมนต์ ท่านบอกโยมว่า จะต้องเดินธุดงค์ไปเรื่อย ๆ จนถึงจังหวัดเชียงใหม่ เมืองของไทยใหญ่ ท่านบอกว่า นับตั้งแต่ออกจากพระบาทบัวบกจังหวัดอุดรธานีมา พักจำพรรษาอยู่ที่บริเวณเวียงจันทน์นี้ เป็นเวลานานถึง 4 เดือนเศษ ๆ จากนั้นก็เดินทางแบบพระธุดงคกรรมฐาน ต่อไปยังเมืองหลวงพระบาง หนทางเดินลำบากที่สุด สภาพทั่วไปเป็นภูเขา บางวันเดินขึ้นภูเขาสูง ๆแล้วเดินลงจากหลังเขา ถ้าคิดระยะทางการเดินทางธรรมดา จะต้องเดินไปไกลกว่านั้น เพราะเดินตลอดวันก็กลับลงมาที่เดิม ตกเย็นมืดค่ำลง ก็กางกลดพักผ่อนทำความเพียรภาวนา รุ่งอรุณก็ตื่นเดินทางต่อไป บางวัน ไม่ได้บิณฑบาตเลยเพราะไม่มีบ้านคน

ท่านเล่าว่า เดินไปด้วยกันคราวนี้รวมแล้ว 6 รูป แต่ต่างคนต่างไปไม่พบกันหลายวันก็มี บางทีก็พบพระซึ่งเป็นชาวพม่า ซึ่งท่านก็เดินธุดงค์เช่นกัน นาน ๆ พบกันทีหนึ่ง พบกันแล้วก็แยกทางกันเดินต่อไป ท่านบอกว่าถนนหนทางลำบากที่สุด รถยนต์ไม่มีโอกาสจะไปได้เลย แม้แต่คนจะเดินไปก็ยังยาก และสมัยนั้นรถยังไม่เคยมีในถิ่นนั้นเลย

ที่มา : http://www.fungdham.com
ย้อนกลับ | หน้าที่ ๑ | หน้าที่ ๒ | หน้าต่อไป

ฟังธรรมะบรรยาย
(มากกว่า ๔,๐๐๐ ไฟล์)

อ่านพระไตรปิฎก
(คัมภีร์สำคัญทางพุทธศาสนา)
อ่านหนังสือธรรมะออนไลน์
(โดยพระเกจิอาจารย์ชื่อดัง)
วิธีปฏิบัติธรรม
(ธรรมะภาคปฏิบัติ)
 

จุดมุ่งหมายสูงสุดของพระพุทธศาสนา
     จุดหมายสูงสุด ของพระพุทธศาสนา พึงบรรลุได้ด้วยความสุขหรือด้วยข้อปฏิบัติที่มีความสุข มิใช่บรรลุด้วยความทุกข์ หรือด้วยข้อปฏิบัติที่เป็นทุกข์
      ผู้ปฏิบัติจะต้องไม่ติดใจหลงไหลในความสุขที่เกิดขึ้นแก่ตน ไม่ปล่อยให้ความสุขที่เกิดขึ้นนั้น ครอบงำ
        จิตใจของตน ยังมีจิตใจเป็นอิสระ สามารถก้าวหน้าไปในธรรมเบื้องสูง ต่อๆ ไป จนบรรลุความเป็นอิสระ
        หลุดพ้นโดยบริบูรณ์
      ซึ่งเมื่อบรรลุจุดหมายนั้นแล้ว ก็สามารถเสวยความสุขที่เคยเสวยมาแล้ว โดยที่ความสุขนั้น ไม่มีโอกาส
        ครอบงำจิตใจ ทำให้ติดพันหลงไหลได้เลย
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต)

หลักแห่งพระพุทธศาสนาโดยสรุป
     พุทธศาสนาคือวิชาและระเบียบปฏิบัติ เพื่อให้รู้สิ่งทั้งปวงถูกต้องตามที่เป็นจริงว่าอะไรเป็นอะไร สิ่งทั้งปวง มีสภาพตามที่เป็นจริง คือ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่ใช่ตัวหรือของตัว ; แต่สัตว์ทั้งหลายยังหลงรัก หลงยึดติดสิ่งทั้งปวง เพราะอำนาจของการยึดมั่นที่ผิด ในพุทธศาสนามีวิธี ปฏิบัติเรียกว่า ศีล สมาธิ ปัญญา เพื่อใช้เป็นเครื่องมือ ตัดการติดการยึดมั่นนั้นเสีย อุปาทาน การยึดมั่นนั้นมีสิ่งที่ลงเกาะหรือจับยึด คือ ขันธ์ทั้งห้า คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
      เมื่อรู้จักขันธ์ทั้งห้า ตามที่เป็นจริง ก็จะสามารถเข้าใจสิ่งทั้งปวงจนถึงกับเบื่อหน่ายคลายความอยาก ไม่ยึดอะไร ติดอะไร และเราควรจะมีชีวิตอยู่อย่างที่เรียกว่า "เป็นอยู่ชอบ" คือให้ วันคืนเต็มไปด้วยความปีติ ปราโมทย์ อันเกิดมาจากการกระทำที่ดีที่งามที่ถูกต้องอยู่เป็นประจำ แล้วระงับความฟุ้งซ่าน เกิดสมาธิ เกิดความเห็นแจ้งได้เรื่อยๆ ไป จนกระทั่งเกิดความเบื่อหน่าย ความคลายออก ความหลุดพ้น และนิพพานได้ตามความเหมาะสมของสิ่งแวดล้อม
      ถ้าเราจะรีบเร่งทำให้ได้ผลเร็วขึ้น ก็มีแนวปฏิบัติที่เรียกว่า วิปัสสนาธุระ เริ่มตั้งแต่มี ความประพฤติบริสุทธิ์ มีใจบริสุทธิ์ มีความเห็นบริสุทธิ์ เรื่อยขึ้นไปจนถึงมีปัญญา คือความเห็นแจ้งบริสุทธิ์ ในที่สุดก็จะตัดกิเลสที่ผูกมัดคนให้ติดอยู่กับวิสัยโลกออกเสียได้ เรียกว่า การบรรลุมรรคผล
ท่านพุทธทาสภิกขุ : คู่มือมนุษย์



สงวนลิขสิทธิ์โดย ธรรมะพีเดีย.คอม
เว็บไซต์นี้จัดทำขึ้นเพื่อเผยแผ่พุทธศาสนา โดยไม่มุ่งหวังผลทางพาณิชย์
อนุญาตให้นำไปเผยแผ่เพื่อสืบต่อพุทธศาสนาได้ตามกุศลเจตนา

www.thammapedia.com
( ศูนย์เผยแผ่พระพุทธธรรม )
Copyright © 2008 ALL RIGHTS RESERVED
 
 
หน้าหลัก