หน้าหลัก พระสงฆ์ พระอสีติมหาสาวก พระนทีกัสสปะ
Search:

“ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการ ...
สัมมาทิฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ สัมมาญาณะ สัมมาวิมุตติ
..ย่อมเป็นผู้ควรของคำนับ เป็นผู้ควรของต้อนรับ ผู้ควรแก่ทักษิณา เป็นผู้ควรอัญชลีกรรม เป็นนาบุญของโลก

หนังสือ พระพุทธศาสนาจากพระโอษฐ์
รองศาสตราจารย์แสง จันทร์งาม

หน้าแรก : หมวดพระสงฆ์
ประวัติ พระนทีกัสสปะ
" ... ความลุ่มหลงทั้งปวงเราละได้แล้ว ความอยากเกิดเราก็ทำลายได้แล้ว
ความเวียนว่ายตายเกิดของเราสิ้นแล้ว บัดนี้ ไม่มีภพใหม่(การเกิดอีก) สำหรับเรา "

บุพกรรมในอดีตชาติ
ในกาลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า ปทุมุตตระ ท่านได้บังเกิดในเรือนอันมีสกุล บรรลุนิติภาวะแล้ว วันหนึ่งได้มองเห็นพระศาสดา เสด็จไปบิณฑบาตแล้ว มีใจเลื่อมใส ได้น้อมถวายผลมะม่วงผลหนึ่ง มีสีดุจมโนศิลา ซึ่งบังเกิดผลครั้งแรก ของต้นมะม่วงที่ตนเองปลูกไว้ ด้วยบุญกรรมอันนั้น เขาจึงท่องเที่ยวไปในเทวโลก และมนุษยโลก

สมัยพุทธกาล
ในพุทธุปบาทกาลนี้ ท่านพระนทีกัสสปเถระ เกิดในสกุลพราหมณ์กัสสปโคตร มีพี่ชายคนหนึ่ง ชื่อว่า อุรุเวลกัสสปะ มีน้องชายคนหนึ่ง ชื่อว่า คยากัสสปะ เมื่อเจริญวัยขึ้นแล้ว ได้เรียนจบไตรเพทด้วยกันทั้งสามคน ท่านมีเด็กหนุ่มเป็นบริวาร ๓๐๐ คน ครั้นพิจารณาเห็นลัทธิของตนไม่เป็นแก่นสาร จึงได้พากันออกบวชเป็นชฎิล บำเพ็ญพรตด้วยการบูชาเพลิง พร้อมกันทั้งสามคน กับบริวาร ตั้งอาศรมเรียงอยู่ตามฝั่งแม่น้ำโดยลำดับกัน ส่วนท่านเองตั้งอาศรมอยู่ที่ลำน้ำอ้อม หรือคุ้งแห่งแม่น้ำคงคา ถัดอาศรมของพี่ชายลงไปทางใต้ ณ ตำบลนที จึงได้นามฉายาว่า “นทีกัสสปะ

ครั้นเมื่อพระอุรุเวลกัสสปะผู้เป็นพี่ชาย พร้อมด้วยบริวาร อันพระบรมศาสดาทรงทรมานให้เสื่อมหาย คลายจากลัทธินั้นแล้ว จึงพากันลอยบริขารแห่งชฎิลเสีย ในแม่น้ำ แล้วพากันอุปสมบท ท่านได้เห็นบริขารชฎิลลอยมาตามกระแสน้ำ สำคัญว่าเกิดอันตรายแก่พี่ชายของตน จึงพร้อมด้วยบริวารรีบไป ได้เห็นพระอุรุเวลกัสสปะ ผู้พี่ชายถือเพศเป็นภิกษุแล้ว ถามทราบความว่า พรหมจรรย์นี้ประเสริฐ จึงพากันลอยบริขารชฎิลเสียในแม่น้ำ พร้อมด้วยบริวารพากันออกไปเฝ้าพระบรมศาสดา ทูลขออุปสมบท

พระองค์ก็ทรงประทานอุปสมบท แก่ชฎิลทั้งหลายเหล่านี้ ด้วยวิธีเอหิภิกขุอุปสัมปทา เหมือนอย่างท่านพระอุรุเวลกัสสปะ ผู้เป็นพี่ชาย เมื่อท่านมีอินทรีย์แก่กล้าแล้ว ได้ฟังเทศนา อาทิตตปริยายสูตร ซึ่งพระบรมศาสดาทรงแสดงในเมื่อครั้งประทับอยู่ ณ ตำบลคยาสีสะ ก็ได้สำเร็จพระอรหัตผล เป็นพระอเสขบุคคล พร้อมกับบริวาร ๓๐๐ คน.

ปรินิพพาน
ในคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนาไม่ระบุว่าท่านดับขันธปรินิพพานที่ใด แต่ท่านคงดำรงขันธ์อยู่พอสมควรแก่กาลจึงปรินิพพาน

อ่านข้อมูลเพิ่มเติม
+++


ย้อนกลับ เนื้อหา : จาก อสีติมหาสาวก : พลเรือตรี รองศาสตราจารย์ ทองใบ ธีรานันทางกูร
(http://gold58-disciplesofthebuddha.blogspot.com)
วาจานุสรณ์ : พระอสีติมหาสาวก โดย ผศ.ดร.บรรจบ บรรณรุจิ

ฟังธรรมะบรรยาย
(มากกว่า ๔,๐๐๐ ไฟล์)

อ่านพระไตรปิฎก
(คัมภีร์สำคัญทางพุทธศาสนา)
อ่านหนังสือธรรมะออนไลน์
(โดยพระเกจิอาจารย์ชื่อดัง)
วิธีปฏิบัติธรรม
(ธรรมะภาคปฏิบัติ)
 

จุดมุ่งหมายสูงสุดของพระพุทธศาสนา
     จุดหมายสูงสุด ของพระพุทธศาสนา พึงบรรลุได้ด้วยความสุขหรือด้วยข้อปฏิบัติที่มีความสุข มิใช่บรรลุด้วยความทุกข์ หรือด้วยข้อปฏิบัติที่เป็นทุกข์
      ผู้ปฏิบัติจะต้องไม่ติดใจหลงไหลในความสุขที่เกิดขึ้นแก่ตน ไม่ปล่อยให้ความสุขที่เกิดขึ้นนั้น ครอบงำ
        จิตใจของตน ยังมีจิตใจเป็นอิสระ สามารถก้าวหน้าไปในธรรมเบื้องสูง ต่อๆ ไป จนบรรลุความเป็นอิสระ
        หลุดพ้นโดยบริบูรณ์
      ซึ่งเมื่อบรรลุจุดหมายนั้นแล้ว ก็สามารถเสวยความสุขที่เคยเสวยมาแล้ว โดยที่ความสุขนั้น ไม่มีโอกาส
        ครอบงำจิตใจ ทำให้ติดพันหลงไหลได้เลย
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต)

หลักแห่งพระพุทธศาสนาโดยสรุป
     พุทธศาสนาคือวิชาและระเบียบปฏิบัติ เพื่อให้รู้สิ่งทั้งปวงถูกต้องตามที่เป็นจริงว่าอะไรเป็นอะไร สิ่งทั้งปวง มีสภาพตามที่เป็นจริง คือ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่ใช่ตัวหรือของตัว ; แต่สัตว์ทั้งหลายยังหลงรัก หลงยึดติดสิ่งทั้งปวง เพราะอำนาจของการยึดมั่นที่ผิด ในพุทธศาสนามีวิธี ปฏิบัติเรียกว่า ศีล สมาธิ ปัญญา เพื่อใช้เป็นเครื่องมือ ตัดการติดการยึดมั่นนั้นเสีย อุปาทาน การยึดมั่นนั้นมีสิ่งที่ลงเกาะหรือจับยึด คือ ขันธ์ทั้งห้า คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
      เมื่อรู้จักขันธ์ทั้งห้า ตามที่เป็นจริง ก็จะสามารถเข้าใจสิ่งทั้งปวงจนถึงกับเบื่อหน่ายคลายความอยาก ไม่ยึดอะไร ติดอะไร และเราควรจะมีชีวิตอยู่อย่างที่เรียกว่า "เป็นอยู่ชอบ" คือให้ วันคืนเต็มไปด้วยความปีติ ปราโมทย์ อันเกิดมาจากการกระทำที่ดีที่งามที่ถูกต้องอยู่เป็นประจำ แล้วระงับความฟุ้งซ่าน เกิดสมาธิ เกิดความเห็นแจ้งได้เรื่อยๆ ไป จนกระทั่งเกิดความเบื่อหน่าย ความคลายออก ความหลุดพ้น และนิพพานได้ตามความเหมาะสมของสิ่งแวดล้อม
      ถ้าเราจะรีบเร่งทำให้ได้ผลเร็วขึ้น ก็มีแนวปฏิบัติที่เรียกว่า วิปัสสนาธุระ เริ่มตั้งแต่มี ความประพฤติบริสุทธิ์ มีใจบริสุทธิ์ มีความเห็นบริสุทธิ์ เรื่อยขึ้นไปจนถึงมีปัญญา คือความเห็นแจ้งบริสุทธิ์ ในที่สุดก็จะตัดกิเลสที่ผูกมัดคนให้ติดอยู่กับวิสัยโลกออกเสียได้ เรียกว่า การบรรลุมรรคผล
ท่านพุทธทาสภิกขุ : คู่มือมนุษย์



สงวนลิขสิทธิ์โดย ธรรมะพีเดีย.คอม
เว็บไซต์นี้จัดทำขึ้นเพื่อเผยแผ่พุทธศาสนา โดยไม่มุ่งหวังผลทางพาณิชย์
อนุญาตให้นำไปเผยแผ่เพื่อสืบต่อพุทธศาสนาได้ตามกุศลเจตนา

www.thammapedia.com
( ศูนย์เผยแผ่พระพุทธธรรม )
Copyright © 2008 ALL RIGHTS RESERVED
 
 
หน้าหลัก