หน้าหลัก พระสงฆ์ พระอสีติมหาสาวก พระนาคิตเถระ
Search:

“ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการ ...
สัมมาทิฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ สัมมาญาณะ สัมมาวิมุตติ
..ย่อมเป็นผู้ควรของคำนับ เป็นผู้ควรของต้อนรับ ผู้ควรแก่ทักษิณา เป็นผู้ควรอัญชลีกรรม เป็นนาบุญของโลก

หนังสือ พระพุทธศาสนาจากพระโอษฐ์
รองศาสตราจารย์แสง จันทร์งาม

หน้าแรก : หมวดพระสงฆ์
ประวัติ พระนาคิตเถระ

ชาติภูมิ
ท่านพระนาคิตะ มีชาติภูมิเป็นมาอย่างไร เข้ามาบวชในพระพุทธศาสนา ในสำนักของใคร ณ ที่ไหน ยังไม่ได้พบที่มาแห่งประวัติของท่าน เรื่องราวของท่าน ที่มีมาในคัมภีร์นั้น ๆ ก็กล่าวถึงเรื่อง ตอนที่ท่านได้อุปสมบทแล้ว และปรากฏว่า ท่านเคยเป็นผู้อุปัฏฐากพระศาสดาองค์หนึ่ง

พระพุทธเจ้าเสด็จโปรดชาวอิจฉานังคละ
พระศาสดา เสด็จเที่ยวจาริกไปในโกศลชนบท พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ บรรลุถึงบ้านพราหมณ์ ชื่อว่าอิจฉานังคละ ประทับอยู่ ณ ที่นั้น พวกพราหมณ์ และคฤหบดีชาวอิจฉานังคละ ได้ทราบข่าวว่า พระองค์เสด็จมาจึงพากันจัดแจงของถวาย มีของขบเคี้ยวของฉันเป็นต้น แล้วพร้อมกัน เข้าไปเฝ้า ส่งเสียงดังอึงคะนึง อยู่นอกซุ้มประตู

ทรงแสดงอานิสงส์แห่งความมักน้อย การอยู่ป่า และยินดีในเสนาสนะอันสงัด
ครั้งนั้น ท่านพระนาคิตะ เป็นผู้อุปัฏฐากพระองค์ เมื่อพระองค์ได้ทรงสดับเสียงนั้นแล้ว รับสั่งถามท่านพระนาคิตะว่า ดูกรนาคิตะ ชนพวกไหนนั่น พากันส่งเสียงดังอึงคะนึงอยู่ เหมือนพวกชาวประมงแย่งปลากัน

ท่านขอไปดูแล้ว กลับมาทูลว่า พวกพราหมณ์และคฤหบดีชาวอิจฉานังคละ พากันถือขาทนียะโภชนียะ(ของขบเคี้ยวและของฉัน)มา เพื่ออุทิศถวายพระองค์ พร้อมทั้งภิกษุสงฆ์ด้วย

จึงรับสั่งว่า นาคิตะ ตถาคตไม่ต้องการสมาคมด้วย ต้องการแต่ความสงัดความวิเวก ท่านพระนาคิตะ กราบทูลว่า ขอพระองค์จงรับเถิด บัดนี้ เป็นโอกาสอันสมควร ที่พระองค์จะทรงรับแล้ว แต่พระองค์ตรัสห้ามเสีย แล้วทรงแสดงอานิสงส์ ของภิกษุผู้มีความมักน้อย เที่ยวไปอยู่ในป่า ยินดีเสนาสนะอันเงียบสงัด

ท่านพระนาคิตะนั้น นับเข้าในจำนวนพระมหาสาวกรูปหนึ่ง แต่ท่านจะได้สำเร็จมรรคผลในครั้งไหน ไม่ปรากฏ แม้ในเรื่องที่กล่าวมานี้ ก็ไม่ได้พูดถึง แต่พึงเข้าใจว่า ท่านได้สำเร็จพระอรหัตผล เป็นอเสขบุคคลในพระพุทธศาสนา.

อ่านข้อมูลเพิ่มเติม
+++


ย้อนกลับ เนื้อหา : จาก อสีติมหาสาวก : พลเรือตรี รองศาสตราจารย์ ทองใบ ธีรานันทางกูร
http://gold58-disciplesofthebuddha.blogspot.com

ฟังธรรมะบรรยาย
(มากกว่า ๔,๐๐๐ ไฟล์)

อ่านพระไตรปิฎก
(คัมภีร์สำคัญทางพุทธศาสนา)
อ่านหนังสือธรรมะออนไลน์
(โดยพระเกจิอาจารย์ชื่อดัง)
วิธีปฏิบัติธรรม
(ธรรมะภาคปฏิบัติ)
 

จุดมุ่งหมายสูงสุดของพระพุทธศาสนา
     จุดหมายสูงสุด ของพระพุทธศาสนา พึงบรรลุได้ด้วยความสุขหรือด้วยข้อปฏิบัติที่มีความสุข มิใช่บรรลุด้วยความทุกข์ หรือด้วยข้อปฏิบัติที่เป็นทุกข์
      ผู้ปฏิบัติจะต้องไม่ติดใจหลงไหลในความสุขที่เกิดขึ้นแก่ตน ไม่ปล่อยให้ความสุขที่เกิดขึ้นนั้น ครอบงำ
        จิตใจของตน ยังมีจิตใจเป็นอิสระ สามารถก้าวหน้าไปในธรรมเบื้องสูง ต่อๆ ไป จนบรรลุความเป็นอิสระ
        หลุดพ้นโดยบริบูรณ์
      ซึ่งเมื่อบรรลุจุดหมายนั้นแล้ว ก็สามารถเสวยความสุขที่เคยเสวยมาแล้ว โดยที่ความสุขนั้น ไม่มีโอกาส
        ครอบงำจิตใจ ทำให้ติดพันหลงไหลได้เลย
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต)

หลักแห่งพระพุทธศาสนาโดยสรุป
     พุทธศาสนาคือวิชาและระเบียบปฏิบัติ เพื่อให้รู้สิ่งทั้งปวงถูกต้องตามที่เป็นจริงว่าอะไรเป็นอะไร สิ่งทั้งปวง มีสภาพตามที่เป็นจริง คือ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่ใช่ตัวหรือของตัว ; แต่สัตว์ทั้งหลายยังหลงรัก หลงยึดติดสิ่งทั้งปวง เพราะอำนาจของการยึดมั่นที่ผิด ในพุทธศาสนามีวิธี ปฏิบัติเรียกว่า ศีล สมาธิ ปัญญา เพื่อใช้เป็นเครื่องมือ ตัดการติดการยึดมั่นนั้นเสีย อุปาทาน การยึดมั่นนั้นมีสิ่งที่ลงเกาะหรือจับยึด คือ ขันธ์ทั้งห้า คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
      เมื่อรู้จักขันธ์ทั้งห้า ตามที่เป็นจริง ก็จะสามารถเข้าใจสิ่งทั้งปวงจนถึงกับเบื่อหน่ายคลายความอยาก ไม่ยึดอะไร ติดอะไร และเราควรจะมีชีวิตอยู่อย่างที่เรียกว่า "เป็นอยู่ชอบ" คือให้ วันคืนเต็มไปด้วยความปีติ ปราโมทย์ อันเกิดมาจากการกระทำที่ดีที่งามที่ถูกต้องอยู่เป็นประจำ แล้วระงับความฟุ้งซ่าน เกิดสมาธิ เกิดความเห็นแจ้งได้เรื่อยๆ ไป จนกระทั่งเกิดความเบื่อหน่าย ความคลายออก ความหลุดพ้น และนิพพานได้ตามความเหมาะสมของสิ่งแวดล้อม
      ถ้าเราจะรีบเร่งทำให้ได้ผลเร็วขึ้น ก็มีแนวปฏิบัติที่เรียกว่า วิปัสสนาธุระ เริ่มตั้งแต่มี ความประพฤติบริสุทธิ์ มีใจบริสุทธิ์ มีความเห็นบริสุทธิ์ เรื่อยขึ้นไปจนถึงมีปัญญา คือความเห็นแจ้งบริสุทธิ์ ในที่สุดก็จะตัดกิเลสที่ผูกมัดคนให้ติดอยู่กับวิสัยโลกออกเสียได้ เรียกว่า การบรรลุมรรคผล
ท่านพุทธทาสภิกขุ : คู่มือมนุษย์



สงวนลิขสิทธิ์โดย ธรรมะพีเดีย.คอม
เว็บไซต์นี้จัดทำขึ้นเพื่อเผยแผ่พุทธศาสนา โดยไม่มุ่งหวังผลทางพาณิชย์
อนุญาตให้นำไปเผยแผ่เพื่อสืบต่อพุทธศาสนาได้ตามกุศลเจตนา

www.thammapedia.com
( ศูนย์เผยแผ่พระพุทธธรรม )
Copyright © 2008 ALL RIGHTS RESERVED
 
 
หน้าหลัก