หน้าหลัก พระสงฆ์ พระอสีติมหาสาวก พระอุปวาณเถระ
Search:

“ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการ ...
สัมมาทิฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ สัมมาญาณะ สัมมาวิมุตติ
..ย่อมเป็นผู้ควรของคำนับ เป็นผู้ควรของต้อนรับ ผู้ควรแก่ทักษิณา เป็นผู้ควรอัญชลีกรรม เป็นนาบุญของโลก

หนังสือ พระพุทธศาสนาจากพระโอษฐ์
รองศาสตราจารย์แสง จันทร์งาม

หน้าแรก : หมวดพระสงฆ์
ประวัติ พระอุปวาณเถระ
" พระศาสดาของอาตมานั้น
บรรดาทวยเทพที่ควรบูชา พระองค์ได้รับการบูชามากกว่า
บรรดาอิสรชนที่ควรสักการะ พระองค์ได้รับการสักการะมากกว่า
บรรดาพระขีณาสพที่ควรนอบน้อม พระองค์ได้รับการนอบน้อมมากกว่า "

ชาติภูมิ
ท่านพระอุปวาณะ มีชาติภูมิเป็นมาอย่างไร เข้ามาบวชในพระพุทธศาสนา ในสำนักของใคร ณ ที่ไหน ยังไม่ได้พบที่มาแห่งประวัติของท่าน เรื่องราวของท่าน ที่มาในปกรณ์นั้น ๆ ก็กล่าวถึงแต่เรื่อง ที่ท่านได้อุปสมบทแล้ว เช่นเรื่องที่มาในสังยุตตนิกาย มหาวรรค มีข้อความ ว่าด้วยเรื่องท่านนั่งสนทนากันกับพระสารีบุตร กล่าวถึงโพชฌงค์ ๗ ประการ

สนทนากับพระสารีบุตร ถึงโพชฌงค์ ๗ ประการ
เนื้อความในเรื่องนั้นว่า “ครั้งนั้น ท่านพระอุปวาณะ และท่านพระสารีบุตร พำนักอาศัยอยู่ที่โฆสิตาราม ในพระนครโกสัมพี ขณะนั้น เป็นเวลาเย็น ท่านพระสารีบุตร เที่ยวเดินตากอากาศเล่น แล้วไปหาพระอุปวาณะ นั่งสนทนาปราศรัยกัน พอเป็นเครื่องร่าเริงใจแล้ว ท่านพระสารีบุตร ได้กล่าวถามพระอุปวาณะว่า ดูกรอาวุโส อุปวาณะ ท่านรู้ไหมว่า โพชฌงค์ ๗ ประการ ที่บุคคลตั้งใจอบรมไว้ดีแล้ว ย่อมอำนวยผล ให้อยู่เป็นสุข ท่านพระอุปวาณะ ตอบว่ากระผมรู้ ท่านพระสารีบุตร จึงกล่าวต่อไปอีกว่า ดูกรอาวุโสอุปวาณะ เมื่อบุคคลมาปรารภโพชฌงค์ ๗ ประการ มีสติสัมโพชฌงค์เป็นต้น แต่ละอย่าง ๆ ย่อมรู้ว่า จิตของเราพ้นดีแล้ว เราถอนถีนมิทธะ ได้ขาดแล้ว เราระงับอุทธัจจกุกกุจจะ ได้ดีด้วย เราตังใจทำความเพียร ทำใจไม่ให้หดหู่ได้แล้ว อย่างนี้ จึงชื่อว่า อำนวยผลให้อยู่เป็นสุขฯ”

เคยเป็นผู้อุปัฏฐากพระบรมศาสดา
หลังจากนั้น ท่านก็ได้บรรลุอรหันต์ และท่านพระอุปวาณะนี้ ได้เคยเป็นผู้อุปัฏฐากพระบรมศาสดา ซึ่งมีปรากฏในตอนใกล้เวลาพระบรมศาสดาจะนิพพาน คือ ในครั้งนั้น ท่านพระอุปวาณะ ยืนถวายงานพัดอยู่ ณ ที่เฉพาะพระพักตร์พระบรมศาสดา ถูกพระองค์รุกราน ให้ถอยไปด้วยพระดำรัสว่า “อเปหิ ภิกฺขุ” ดูก่อนภิกษุ เธอจงหลีกไปอย่ายืนอยู่ข้างหน้าเรา

ท่านพระอานนท์ ได้เห็นแล้วจึงดำริว่า ท่านพระอุปวาณะ องค์นี้ เป็นผู้อุปัฏฐาก ใกล้เคียงพระองค์มานานแล้ว เหตุไรหนอ พระองค์จึงทรงรุกราน ให้หลีกออกไปเสีย เมือได้โอกาสแล้วเข้าไปกราบทูลถาม

จึงได้ทราบเนื้อความนั้นว่า เพราะเทพยดาทั้งหลาย ในหมื่นโลกธาตุ มาเพื่อจะเห็นพระศาสดา แต่พระอุปวาณะยืนบังเสีย พวกเทพยดา จึงพากันติเตียน พระองค์จึงทรงให้เธอหลีกออกไปเสีย แสดงว่าท่านพระอุปวาณะ ก็เคยเป็นพุทธอุปัฏฐากองค์หนึ่ง.

อ่านข้อมูลเพิ่มเติม
+++


ย้อนกลับ เนื้อหา : จาก อสีติมหาสาวก : พลเรือตรี รองศาสตราจารย์ ทองใบ ธีรานันทางกูร
(http://gold58-disciplesofthebuddha.blogspot.com)
วาจานุสรณ์ : พระอสีติมหาสาวก โดย ผศ.ดร.บรรจบ บรรณรุจิ

ฟังธรรมะบรรยาย
(มากกว่า ๔,๐๐๐ ไฟล์)

อ่านพระไตรปิฎก
(คัมภีร์สำคัญทางพุทธศาสนา)
อ่านหนังสือธรรมะออนไลน์
(โดยพระเกจิอาจารย์ชื่อดัง)
วิธีปฏิบัติธรรม
(ธรรมะภาคปฏิบัติ)
 

จุดมุ่งหมายสูงสุดของพระพุทธศาสนา
     จุดหมายสูงสุด ของพระพุทธศาสนา พึงบรรลุได้ด้วยความสุขหรือด้วยข้อปฏิบัติที่มีความสุข มิใช่บรรลุด้วยความทุกข์ หรือด้วยข้อปฏิบัติที่เป็นทุกข์
      ผู้ปฏิบัติจะต้องไม่ติดใจหลงไหลในความสุขที่เกิดขึ้นแก่ตน ไม่ปล่อยให้ความสุขที่เกิดขึ้นนั้น ครอบงำ
        จิตใจของตน ยังมีจิตใจเป็นอิสระ สามารถก้าวหน้าไปในธรรมเบื้องสูง ต่อๆ ไป จนบรรลุความเป็นอิสระ
        หลุดพ้นโดยบริบูรณ์
      ซึ่งเมื่อบรรลุจุดหมายนั้นแล้ว ก็สามารถเสวยความสุขที่เคยเสวยมาแล้ว โดยที่ความสุขนั้น ไม่มีโอกาส
        ครอบงำจิตใจ ทำให้ติดพันหลงไหลได้เลย
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต)

หลักแห่งพระพุทธศาสนาโดยสรุป
     พุทธศาสนาคือวิชาและระเบียบปฏิบัติ เพื่อให้รู้สิ่งทั้งปวงถูกต้องตามที่เป็นจริงว่าอะไรเป็นอะไร สิ่งทั้งปวง มีสภาพตามที่เป็นจริง คือ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่ใช่ตัวหรือของตัว ; แต่สัตว์ทั้งหลายยังหลงรัก หลงยึดติดสิ่งทั้งปวง เพราะอำนาจของการยึดมั่นที่ผิด ในพุทธศาสนามีวิธี ปฏิบัติเรียกว่า ศีล สมาธิ ปัญญา เพื่อใช้เป็นเครื่องมือ ตัดการติดการยึดมั่นนั้นเสีย อุปาทาน การยึดมั่นนั้นมีสิ่งที่ลงเกาะหรือจับยึด คือ ขันธ์ทั้งห้า คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
      เมื่อรู้จักขันธ์ทั้งห้า ตามที่เป็นจริง ก็จะสามารถเข้าใจสิ่งทั้งปวงจนถึงกับเบื่อหน่ายคลายความอยาก ไม่ยึดอะไร ติดอะไร และเราควรจะมีชีวิตอยู่อย่างที่เรียกว่า "เป็นอยู่ชอบ" คือให้ วันคืนเต็มไปด้วยความปีติ ปราโมทย์ อันเกิดมาจากการกระทำที่ดีที่งามที่ถูกต้องอยู่เป็นประจำ แล้วระงับความฟุ้งซ่าน เกิดสมาธิ เกิดความเห็นแจ้งได้เรื่อยๆ ไป จนกระทั่งเกิดความเบื่อหน่าย ความคลายออก ความหลุดพ้น และนิพพานได้ตามความเหมาะสมของสิ่งแวดล้อม
      ถ้าเราจะรีบเร่งทำให้ได้ผลเร็วขึ้น ก็มีแนวปฏิบัติที่เรียกว่า วิปัสสนาธุระ เริ่มตั้งแต่มี ความประพฤติบริสุทธิ์ มีใจบริสุทธิ์ มีความเห็นบริสุทธิ์ เรื่อยขึ้นไปจนถึงมีปัญญา คือความเห็นแจ้งบริสุทธิ์ ในที่สุดก็จะตัดกิเลสที่ผูกมัดคนให้ติดอยู่กับวิสัยโลกออกเสียได้ เรียกว่า การบรรลุมรรคผล
ท่านพุทธทาสภิกขุ : คู่มือมนุษย์



สงวนลิขสิทธิ์โดย ธรรมะพีเดีย.คอม
เว็บไซต์นี้จัดทำขึ้นเพื่อเผยแผ่พุทธศาสนา โดยไม่มุ่งหวังผลทางพาณิชย์
อนุญาตให้นำไปเผยแผ่เพื่อสืบต่อพุทธศาสนาได้ตามกุศลเจตนา

www.thammapedia.com
( ศูนย์เผยแผ่พระพุทธธรรม )
Copyright © 2008 ALL RIGHTS RESERVED
 
 
หน้าหลัก