หน้าหลัก พระสงฆ์ ตำแหน่งเอตทัคคะ นางนกุลมารดาคหปตานี
Search:

“ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการ ...
สัมมาทิฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ สัมมาญาณะ สัมมาวิมุตติ
..ย่อมเป็นผู้ควรของคำนับ เป็นผู้ควรของต้อนรับ ผู้ควรแก่ทักษิณา เป็นผู้ควรอัญชลีกรรม เป็นนาบุญของโลก

หนังสือ พระพุทธศาสนาจากพระโอษฐ์
รองศาสตราจารย์แสง จันทร์งาม

หน้าแรก : หมวดพระสงฆ์
๑๐. นางนกุลมารดาคหปตานี เอตทะคคะในฝ่ายผู้มีความคุ้นเคยในพระศาสดา

นางนกุลมารดา เกิดในตระกูลเศรษฐีในเมืองสุงสุมารคิรี แคว้นภัคคะ เมื่อเจริญวัย ได้แต่งงานอยู่ครองเรือน ตามฆราวาสวิสัย มีความสุขตามสมควรแก่ฐานะ เมื่อบิดามารดาล่วง หลับไปแล้ว ได้ครอบครองดูแลทรัพย์สมบัติสืบไป

กล่าวตู่ว่าพระพุทธองค์เป็นลูก
ครั้งหนึ่ง พระผู้มีพระภาคอันภิกษุสงฆ์แวดล้อม ติดตามเสด็จจาริกไปถึงพระนคร สุงสุมารคิรี แล้วเสด็จเข้าประทับ ณ เภสกลาวัน ขณะนั้น นกุลเศรษฐีและภริยา พร้อมด้วยเหล่าชาวเมืองสุงสุมารคิรี ได้พากันไปเฝ้าพระ ผู้มีพระภาคะเจ้า ณ ที่ประทับ ทันทีที่เศรษฐีและภริยา ได้แลเห็นพระผู้มีพระภาคเท่านั้น ความรัก ประหนึ่งว่า พระพุทธองค์เป็นบุตรในอุทรของตน ก็เกิดขึ้น สองสามีภริยาหมอบลงแทบพระยุคล บาทของพระบรมศาสดาแล้วกราบทูลว่า
“ลูกเอ๋ย เจ้าทิ้งพ่อแม่ไปสิ้นกาลช้านาน บัดนี้เจ้าไปอยู่ ณ ที่ใดมา ?”

จากอาการกิริยา และคำพูดของเศรษฐีและภรรยานั้น สร้างความสับสน ฉงนสนเท่ห์แก่ ภิกษุสงฆ์ และพุทธบริษัทในสมาคมนั้น เพราะต่างก็ทราบดีว่าพระพุทธองค์ เสด็จออกบรรพชา จากศากยสกุล กรุงกบิลพัสดุ์ และชาวเมืองสุงสุมารคิรี ก็ทราบดีว่าเศรษฐีสองสามีภรรยามี ญาตร่วมสายโลหิต และทายาทกี่คน เหตุไฉนท่านจึงกล่าวตู่ว่า พระผู้มีพระภาคเป็นบุตรของตน

แม้พระบรมศาสดา ก็มิได้ตรัสห้ามประณามเศรษฐีสองสามีภรรยานั้น แต่ประการใด เลย ด้วยเศรษฐีทั้งสอง มีสติเต็มไปด้วยความรัก และปีติสุดที่จะยับยั้งได้ พระพุทธองค์ทรงรอ โอกาส เมื่อพวกเขากลับได้สติ วางใจเป็นกลางแล้ว จึงทรงแสดงธรรม ตามสมควรแก่อัธยาศัย ยังบุคคลทั้งสอง ให้ดำรงอยู่ในพระโสดาปัตติผล แล้วทรงยกเรื่องในอดีตชาติ มาประกาศใน ท่ามกลางพุทธบริษัทให้ทราบทั่วกันว่า

“ในอดีตชาติ เศรษฐีสองสามีภรรยานี้ เคยเป็นบิดามารดาของตถาคต ๕๐๐ ชาติ เคย เป็นปู่ เป็นย่า ๕๐๐ ชาติ เคยเป็นลุง เป็นป้า ๕๐๐ ชาติ เคยเป็นอาเป็นน้า ๕๐๐ ชาติ ดังนั้น เพราะ ความรักความผูกพัน ที่ติดตามมาตลอดช้านานนี้ พอได้เห็นตถาคตจึงสุดที่จะอดกลั้นความรัก นั้นไว้ได้”

พระบรมศาสดา ครั้นได้ประทานสุขสมบัติในเทวโลก และสุขสมบัติในอริยภูมิ แก่ชาว สุงสุมารคิรีแล้ว เสด็จจาริกไปยังคามนิคมอื่น ๆ โดยลำดับ

แม้ทางใจก็ไม่เคยคิดชั่ว
ครั้นกาลต่อมา พระบรมศาสดา พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์แวดล้อม ตามเสด็จมายังพระนคร สุงสุมารคิรีอีก เศรษฐีและภรรยาซึ่งทั้งสอง เข้าสู่วัยชราภาพแล้ว ได้ทราบข่าวการเสด็จมาของ พระผู้มีพระภาค จึงพากันไปเฝ้า กราบวายบังคมด้วยเบญจางคประดิษฐ์ ได้กราบอาราธนาเพื่อ เสวยพระกระยาหารในวันรุ่งขึ้น พระพุทธองค์ทรงรับด้วยดุษณีภาพ เมื่อได้เวลา ทรงพาภิกษุ สงฆ์ เสด็จไปยังบ้านของนกุลเศรษฐี ซึ่งสองสามีภรรยานั้น ได้อังคาสถวายภัตตาหาร แด่พระ พุทธองค์พร้อมภิกษุสงฆ์ เป็นที่เรียบร้อยแล้ว พากันเข้าไปนั่งใกล้ ๆ ณ ที่อันสมควรแก่ตน

นางนกุลมารดาคหปตานี ได้กราบทูลว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์กับนกุลบิดาคฤหบดีนี้ แต่งงานกันมาตั้งแต่ครั้งอยู่ ในวัยหนุ่มสาว ตราบจนบัดนี้ ข้าพระองค์มิได้รู้สึกเลยว่า นกุลบิดาคฤหบดีผู้สามีจะนอกใจ แม้ ทางใจ ดังนั้น เขาจะนอกใจทางกายได้อย่างไร ข้าพระองค์ปรรถนา จะพบกันและกัน ทั้งใน ปัจจุบันทั้งในภายภาคหน้าพระเจ้าข้า”

พระผู้มีพระภาค ประทับอยู่ ฯ นครสุงสุมารคิรี ตามสมคารแก่พระอัธยาศัยแล้วทรงพา หมู่ภิกษุสงฆ์เสด็จจาริกโปรดเวไนยสัตว์ ตามคามนิคมชนบทอื่น ๆ โดยลำดับ

ต่อมาพระพุทธองค์ขณะประทับ ณ พระเชตวันมหาวิหาร ทรงสถาปนา นกุลมารดาคหปตานี ในตำแหน่งเอตทัคคะ เป็นผู้เลิศกว่าอุบาสิกาทั้งหลาย ในฝ่าย ผู้มีความคุ้นเคยในพระศาสดา

อ่านข้อมูลเพิ่มเติม :
- +++ 


ย้อนกลับ ที่มา : พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ โดย พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต)
และ http://www.84000.org

ฟังธรรมะบรรยาย
(มากกว่า ๔,๐๐๐ ไฟล์)

อ่านพระไตรปิฎก
(คัมภีร์สำคัญทางพุทธศาสนา)
อ่านหนังสือธรรมะออนไลน์
(โดยพระเกจิอาจารย์ชื่อดัง)
วิธีปฏิบัติธรรม
(ธรรมะภาคปฏิบัติ)
 

จุดมุ่งหมายสูงสุดของพระพุทธศาสนา
     จุดหมายสูงสุด ของพระพุทธศาสนา พึงบรรลุได้ด้วยความสุขหรือด้วยข้อปฏิบัติที่มีความสุข มิใช่บรรลุด้วยความทุกข์ หรือด้วยข้อปฏิบัติที่เป็นทุกข์
      ผู้ปฏิบัติจะต้องไม่ติดใจหลงไหลในความสุขที่เกิดขึ้นแก่ตน ไม่ปล่อยให้ความสุขที่เกิดขึ้นนั้น ครอบงำ
        จิตใจของตน ยังมีจิตใจเป็นอิสระ สามารถก้าวหน้าไปในธรรมเบื้องสูง ต่อๆ ไป จนบรรลุความเป็นอิสระ
        หลุดพ้นโดยบริบูรณ์
      ซึ่งเมื่อบรรลุจุดหมายนั้นแล้ว ก็สามารถเสวยความสุขที่เคยเสวยมาแล้ว โดยที่ความสุขนั้น ไม่มีโอกาส
        ครอบงำจิตใจ ทำให้ติดพันหลงไหลได้เลย
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต)

หลักแห่งพระพุทธศาสนาโดยสรุป
     พุทธศาสนาคือวิชาและระเบียบปฏิบัติ เพื่อให้รู้สิ่งทั้งปวงถูกต้องตามที่เป็นจริงว่าอะไรเป็นอะไร สิ่งทั้งปวง มีสภาพตามที่เป็นจริง คือ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่ใช่ตัวหรือของตัว ; แต่สัตว์ทั้งหลายยังหลงรัก หลงยึดติดสิ่งทั้งปวง เพราะอำนาจของการยึดมั่นที่ผิด ในพุทธศาสนามีวิธี ปฏิบัติเรียกว่า ศีล สมาธิ ปัญญา เพื่อใช้เป็นเครื่องมือ ตัดการติดการยึดมั่นนั้นเสีย อุปาทาน การยึดมั่นนั้นมีสิ่งที่ลงเกาะหรือจับยึด คือ ขันธ์ทั้งห้า คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
      เมื่อรู้จักขันธ์ทั้งห้า ตามที่เป็นจริง ก็จะสามารถเข้าใจสิ่งทั้งปวงจนถึงกับเบื่อหน่ายคลายความอยาก ไม่ยึดอะไร ติดอะไร และเราควรจะมีชีวิตอยู่อย่างที่เรียกว่า "เป็นอยู่ชอบ" คือให้ วันคืนเต็มไปด้วยความปีติ ปราโมทย์ อันเกิดมาจากการกระทำที่ดีที่งามที่ถูกต้องอยู่เป็นประจำ แล้วระงับความฟุ้งซ่าน เกิดสมาธิ เกิดความเห็นแจ้งได้เรื่อยๆ ไป จนกระทั่งเกิดความเบื่อหน่าย ความคลายออก ความหลุดพ้น และนิพพานได้ตามความเหมาะสมของสิ่งแวดล้อม
      ถ้าเราจะรีบเร่งทำให้ได้ผลเร็วขึ้น ก็มีแนวปฏิบัติที่เรียกว่า วิปัสสนาธุระ เริ่มตั้งแต่มี ความประพฤติบริสุทธิ์ มีใจบริสุทธิ์ มีความเห็นบริสุทธิ์ เรื่อยขึ้นไปจนถึงมีปัญญา คือความเห็นแจ้งบริสุทธิ์ ในที่สุดก็จะตัดกิเลสที่ผูกมัดคนให้ติดอยู่กับวิสัยโลกออกเสียได้ เรียกว่า การบรรลุมรรคผล
ท่านพุทธทาสภิกขุ : คู่มือมนุษย์



สงวนลิขสิทธิ์โดย ธรรมะพีเดีย.คอม
เว็บไซต์นี้จัดทำขึ้นเพื่อเผยแผ่พุทธศาสนา โดยไม่มุ่งหวังผลทางพาณิชย์
อนุญาตให้นำไปเผยแผ่เพื่อสืบต่อพุทธศาสนาได้ตามกุศลเจตนา

www.thammapedia.com
( ศูนย์เผยแผ่พระพุทธธรรม )
Copyright © 2008 ALL RIGHTS RESERVED
 
 
หน้าหลัก