หน้าหลัก พระสงฆ์ ตำแหน่งเอตทัคคะ พระนางสุปปวาสา
Search:

“ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการ ...
สัมมาทิฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ สัมมาญาณะ สัมมาวิมุตติ
..ย่อมเป็นผู้ควรของคำนับ เป็นผู้ควรของต้อนรับ ผู้ควรแก่ทักษิณา เป็นผู้ควรอัญชลีกรรม เป็นนาบุญของโลก

หนังสือ พระพุทธศาสนาจากพระโอษฐ์
รองศาสตราจารย์แสง จันทร์งาม

หน้าแรก : หมวดพระสงฆ์
๖. พระนางสุปปวาสา เอตทัคคะในฝ่ายผู้ถวายของมีรสอันประณีต

ตั้งครรภ์นานเกือบ ๘ ปี
พระนางสุปปวาสา เป็นพระธิดาของกษัตริย์พระนครโกลิยะ ทรงเจริญวัยแล้วได้อภิเษก สมรสกับศากยราชกุมารพระองค์หนึ่ง จากนั้น ไม่นานนักก็ทรงครรภ์ แต่การทรงครรภ์ของพระ นางนั้น ผิดกว่าหญิงอื่น ๆ เพราะพระนางทรงครรภ์ถึง ๗ ปี ๗ เดือน ๗ วัน จึงประสูติพระ โอรสออกมา พระนามว่า “สีวลี

หลังจากพระนางประสูติราชโอรสแล้ว พระนางได้เข้าเฝ้าพระบรมศาสดาครั้งแรก ได้ฟังพระธรรมเทศนา ของพระพุทธองค์จบแล้ว ก็ดำรงอยู่ในอริยภูมิ เป็นพระอริยบุคคล ชั้นพระโสดาบัน

ให้อาหารชื่อว่าให้สิ่งประเสริฐ ๕ ประการ
พระพุทธองค์ เสวยพระกระยาหารเสร็จแล้ว เมื่อทรงกระทำอนุโมทนา ได้ตรัสพระธรรม เทศนาแก่พระนางสุปปวาสาว่า:-
“ดูก่อนสุปปวาสา บุคคลผู้ถวายโภชนาหารแก่ปฏิคาหก (ผู้รับ) ชื่อว่า ให้สิ่งอันประเสริฐ ทั้ง ๕ ประการ คือ ให้อายุ ให้วรรณะ ให้สุขะ ให้พละ และให้ปฏิภาณ”

“ดูก่อนสุปปวาสะ บุคคลผู้ให้ของเช่นไร ก็ย่อมได้ของเช่นนั้น คือ ผู้ให้อายุ ก็ย่อมเป็นผู้มี ส่วนแห่งอายุ ทั้งที่เป็นของทิพย์ ทั้งที่เป็นของมนุษย์ เป็นต้น ผู้ให้สิ่งอื่น ๆ ก็พึงทราบโดยนัย เดียวกัน"

สีวลีกุมาร แม้จะประสูติได้ไม่กี่วัน แต่ก็มีพระวารกายแข็งแรง เหมือนกุมารผู้มีพระชนม์ ๗ พรรษา ได้ช่วยพระบิดาพระมารดา ขวนขวายจัดแจงกิจต่าง ๆ ในการถวายภัตตาหาร แก่พระ บรมศาสดา และพระภิกษุสงฆ์

พระสารีบุตรเถระ ได้สังเกตดูสีวลีกุมารตั้งแต่วันแรก รู้สึกพอใจ ในอัธยาศัยของกุมารน้อยนี้ ในวันที่ ๗ อันเป็นวันสุดท้าย พระเถระได้ชักชวนให้เธอมาบวช สีวลีกุมารผู้มีจิตน้อมไปในการบวชอยู่แล้ว เมื่อพระบิดาพระมารดาอนุญาตแล้ว จึงได้บวชใน สำนักของพระสารีบุตรเถระ และได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์ เป็นพระอริยสาวกสำคัญในพระ พุทธศาสนา

ต่อมา พระบรมศาสดาขณะประทับอยู่ ณ พระเชตะวันมหาวิหาร เมื่อทรงสถาปนา อุบาสิกาทั้งหลายในตำแหน่งต่าง ๆ ก็ได้ทรงสถาปนาพระนางสุปปวาสาโกลิยธิดานี้ ไว้ใน ตำแหน่งเอตทัคคะ เป็นผู้เลิศกว่าอุบาสิกาทั้งหลายในฝ่าย ผู้ถวายของมีรสอันประณีต

อ่านข้อมูลเพิ่มเติม :
- +++ 


ย้อนกลับ ที่มา : พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ โดย พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต)
และ http://www.84000.org

ฟังธรรมะบรรยาย
(มากกว่า ๔,๐๐๐ ไฟล์)

อ่านพระไตรปิฎก
(คัมภีร์สำคัญทางพุทธศาสนา)
อ่านหนังสือธรรมะออนไลน์
(โดยพระเกจิอาจารย์ชื่อดัง)
วิธีปฏิบัติธรรม
(ธรรมะภาคปฏิบัติ)
 

จุดมุ่งหมายสูงสุดของพระพุทธศาสนา
     จุดหมายสูงสุด ของพระพุทธศาสนา พึงบรรลุได้ด้วยความสุขหรือด้วยข้อปฏิบัติที่มีความสุข มิใช่บรรลุด้วยความทุกข์ หรือด้วยข้อปฏิบัติที่เป็นทุกข์
      ผู้ปฏิบัติจะต้องไม่ติดใจหลงไหลในความสุขที่เกิดขึ้นแก่ตน ไม่ปล่อยให้ความสุขที่เกิดขึ้นนั้น ครอบงำ
        จิตใจของตน ยังมีจิตใจเป็นอิสระ สามารถก้าวหน้าไปในธรรมเบื้องสูง ต่อๆ ไป จนบรรลุความเป็นอิสระ
        หลุดพ้นโดยบริบูรณ์
      ซึ่งเมื่อบรรลุจุดหมายนั้นแล้ว ก็สามารถเสวยความสุขที่เคยเสวยมาแล้ว โดยที่ความสุขนั้น ไม่มีโอกาส
        ครอบงำจิตใจ ทำให้ติดพันหลงไหลได้เลย
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต)

หลักแห่งพระพุทธศาสนาโดยสรุป
     พุทธศาสนาคือวิชาและระเบียบปฏิบัติ เพื่อให้รู้สิ่งทั้งปวงถูกต้องตามที่เป็นจริงว่าอะไรเป็นอะไร สิ่งทั้งปวง มีสภาพตามที่เป็นจริง คือ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่ใช่ตัวหรือของตัว ; แต่สัตว์ทั้งหลายยังหลงรัก หลงยึดติดสิ่งทั้งปวง เพราะอำนาจของการยึดมั่นที่ผิด ในพุทธศาสนามีวิธี ปฏิบัติเรียกว่า ศีล สมาธิ ปัญญา เพื่อใช้เป็นเครื่องมือ ตัดการติดการยึดมั่นนั้นเสีย อุปาทาน การยึดมั่นนั้นมีสิ่งที่ลงเกาะหรือจับยึด คือ ขันธ์ทั้งห้า คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
      เมื่อรู้จักขันธ์ทั้งห้า ตามที่เป็นจริง ก็จะสามารถเข้าใจสิ่งทั้งปวงจนถึงกับเบื่อหน่ายคลายความอยาก ไม่ยึดอะไร ติดอะไร และเราควรจะมีชีวิตอยู่อย่างที่เรียกว่า "เป็นอยู่ชอบ" คือให้ วันคืนเต็มไปด้วยความปีติ ปราโมทย์ อันเกิดมาจากการกระทำที่ดีที่งามที่ถูกต้องอยู่เป็นประจำ แล้วระงับความฟุ้งซ่าน เกิดสมาธิ เกิดความเห็นแจ้งได้เรื่อยๆ ไป จนกระทั่งเกิดความเบื่อหน่าย ความคลายออก ความหลุดพ้น และนิพพานได้ตามความเหมาะสมของสิ่งแวดล้อม
      ถ้าเราจะรีบเร่งทำให้ได้ผลเร็วขึ้น ก็มีแนวปฏิบัติที่เรียกว่า วิปัสสนาธุระ เริ่มตั้งแต่มี ความประพฤติบริสุทธิ์ มีใจบริสุทธิ์ มีความเห็นบริสุทธิ์ เรื่อยขึ้นไปจนถึงมีปัญญา คือความเห็นแจ้งบริสุทธิ์ ในที่สุดก็จะตัดกิเลสที่ผูกมัดคนให้ติดอยู่กับวิสัยโลกออกเสียได้ เรียกว่า การบรรลุมรรคผล
ท่านพุทธทาสภิกขุ : คู่มือมนุษย์



สงวนลิขสิทธิ์โดย ธรรมะพีเดีย.คอม
เว็บไซต์นี้จัดทำขึ้นเพื่อเผยแผ่พุทธศาสนา โดยไม่มุ่งหวังผลทางพาณิชย์
อนุญาตให้นำไปเผยแผ่เพื่อสืบต่อพุทธศาสนาได้ตามกุศลเจตนา

www.thammapedia.com
( ศูนย์เผยแผ่พระพุทธธรรม )
Copyright © 2008 ALL RIGHTS RESERVED
 
 
หน้าหลัก