หน้าหลัก พระสงฆ์ พระอริยสงฆ์ไทย หลวงปู่คำดี ปภาโส
Search:

“ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการ ...
สัมมาทิฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ สัมมาญาณะ สัมมาวิมุตติ
..ย่อมเป็นผู้ควรของคำนับ เป็นผู้ควรของต้อนรับ ผู้ควรแก่ทักษิณา เป็นผู้ควรอัญชลีกรรม เป็นนาบุญของโลก

หนังสือ พระพุทธศาสนาจากพระโอษฐ์
รองศาสตราจารย์แสง จันทร์งาม

หน้าแรก : หมวดพระสงฆ์
หลวงปู่คำดี ปภาโส
หลวงปู่คำดี ปภาโส
หลวงปู่คำดี ปภาโส
๒๖ มีนาคม ๒๔๔๕ - ๑๗ พฤศจิกายน ๒๕๒๗
วัดถ้ำผาปู่นิมิตร ตำบลนาอ้อ อำเภอเมือง จังหวัดเลย
--------------------
พ.ศ. 2477 เป็นต้นมา หลวงปู่คำดี ปภาโส หลังจากล้มป่วยลงมาจากป่าเขาพงไพร แล้วอาการต่างๆ ในร่างกายของท่านอ่อนแอมาตลอด หลวงปู่เป็นผู้มีจรรยาวัตรการธุดงค์และการประพฤติดีปฏิบัติชอบมาตลอด หลวงปู่มีลูกศิษย์มากมายทั้งเป็นสงฆ์และฆราวาสโดยทั่วไป บุคคลผู้ที่ไม่เคยพบหลวงปู่คำดี เลย เพียงได้ยินชื่อหรือภาพที่เผยแพร่ออกไปยังหมู่ชนเท่านั้น ก็บังเกิดความศรัทธาอย่างแรงกล้า สละบ้านการงานมาศึกษา

ต่อมา หลวงปู่คำดี ได้ไปพบถ้ำผาปู่ ซึ่งสมัยนั้นยังเป็นสภาพป่า แต่เป็นสถานที่เก่าแก่ของวัดโบราณ และได้รกร้างมานาน หลวงปู่คำดี เข้าไปปักกลดบำเพ็ญภาวนา เห็นว่ามีความสงบวิเวกดี เหมาะแก่การปฏิบัติ ต่อไปภายหน้าจะมีผู้ที่สนใจใคร่ประพฤติธรรมมาใช้สถานที่แห่งนี้กันมาก ชาวบ้านจึงพร้อมใจกันสร้างกุฏิหลังหนึ่งเพื่อถวายหลวงปู่อยู่จำพรรษา ต่อมาชื่อเสียงของหลวงปู่คำดี พระผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ ได้ขจรไปยังชาวจังหวัดเลยมากขึ้น

จนมีผู้ศรัทธาทั้งหลายในจังหวัดพากันสละเงิน เสริมสร้างเสนาสนะมากขึ้นหลายหลัง อีกทั้งศาลาหลังใหญ่ขึ้นอีกหลังหนึ่ง ชาวบ้านทั้งหลายจึงนิมนต์หลวงปู่อยู่จำพรรษาที่วัดถ้ำผาปู่นิมิตร จนถึงวาระสุดท้ายแห่งชีวิต เป็นที่น่ายินดีที่ชาวจังหวัดเลย ได้เพชรน้ำงามที่เจียระไนแล้วมาเป็นมิ่งขวัญประดับจิต ประดับใจแห่งชีวิต ด้วยร่างกายของท่านไม่ดี ท่านมักเตือนลูกศิษย์ของท่านเสมอว่า "ร่างกายสังขารของผมแย่สมควรแล้ว ถ้าเป็นรถยนต์ก็ทิ้งได้แล้ว ถ้าหากผมล้มป่วยคราวนี้คงไม่ไหวแน่ ถ้าหมู่คณะจะรักษาร่างกายผม ก็รีบจัดการรักษาเสีย"

พวกสานุศิษย์ทั้งหลายเห็นท่านพอเดินได้ พูดได้ ฉันได้ เทศน์ได้ ก็พากันใจเย็นและจัดหาให้ฉันตามปกติ แต่ไม่ได้พาหลวงปู่เข้าตรวจรักษาที่โรงพยาบาล ต่อมาวันที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2526 ตอนเช้าหลังจากฉันภัตตาหารเรียบร้อยแล้ว ท่านก็เรียกญาติโยมทั้งหลายมาพร้อมกันแล้ว ท่านก็พูดว่า "มาฟังเทศน์กัน อาตมาจะเทศน์ครั้งสุดท้าย ต่อไปจะไม่ได้เทศน์อีกแล้ว จะไม่ได้ประพรมน้ำพระพุทธมนต์อีกแล้ว และจะไม่ได้พูดกันอีกต่อไป" พระลูกศิษย์และโยมทั้งหลาย เมื่อได้ฟังคำพูดของหลวงปู่อย่างนั้นก็พากันแปลกใจ แต่ไม่มีผู้ใดเฉลียวใจว่า คำพูดของท่านนั้นเป็นการพูดครั้งสุดท้ายจริงๆ หลวงปู่เริ่มเทศน์เรื่อง "ความไม่ประมาท"

เมื่อท่านเทศน์จบ ลูกศิษย์ลากลับแล้ว ท่านเข้าพักผ่อนตามอัธยาศัยของท่าน จนกระทั่งเวลา 15.00 น. ของวันที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2526 ท่านเดินเข้าห้องน้ำล้างหน้าเรียบร้อยแล้ว ท่านก็พูดขึ้นว่า "ผมเป็นลม" ขณะนั้นมีพระอุปัฏฐานท่าน 4 รูป ได้ประคองท่านนอนลงที่อาสนะ เมื่อนอนลงแล้วท่านไม่พูดไม่คุยกับใครทั้งนั้น มีแต่นอนเฉยๆ ไม่มีการขยับตัว ลูกศิษย์ต่างก็พากันตกใจ ต่างก็หายามาให้ท่านฉัน แต่ไม่หาย จนถึงเวลา 18.00 น. ก็ให้โยมไปเชิญหมอจากโรงพยาบาลมาตรวจดูอาการของหลวงปู่ มีการฉีดยา ให้น้ำเกลือ ท่านก็ยังไม่ฟื้น

รุ่งขึ้นวันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2526 คุณหมอก็สวนปัสสวะให้ท่าน สายยางที่สวนเข้าไปทำให้เกิดเป็นแผลภายใน เลือดไหลไม่หยุด ลูกศิษย์จึงปรึกษาว่าควรพาไปรักษาตัวในกรุงเทพฯ วันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2526 คณะศิษยานุศิษย์นำหลวงปู่ ถึงโรงพยาบาลแพทย์ปัญญา ตรวจสอบอาการของหลวงปู่ แล้วให้การบำบัดรักษา ประมาณ 9 เดือน อาการหลวงปู่ดีขึ้นเป็นลำดับ ศิษยานุศิษย์จึงเห็นสมควรให้ท่านกลับวัดถ้ำผาปู่นิมิตร

ต่อมาเมื่อวันที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2527 อาการไข้ได้กำเริบขึ้นอีก นายแพทย์ปัญญา ส่งสัมพันธ์ จึงส่งรถพยาบาลมารับท่านไปรักษาที่โรงพยาบาลแพทย์ปัญญา ที่กรุงเทพฯ อีก คราวนี้มีแต่ทรงกับทรุดมาตลอด พอถึงวันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2527 เวลา 13.13 น. หลวงปู่ท่านก็สิ้นลมจากไปด้วยอาการสงบ

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดรับเป็นเจ้าภาพบำเพ็ญพระราชกุศลตลอด 7 วัน และบำเพ็ญพระราชกุศล 50 วันและ 100 วันตามลำดับ

สำหรับอาพาธของหลวงปู่รวมสองครั้งดังนี้ ครั้งแรก เป็นเวลา 9 เดือน ครั้งที่สอง เป็นเวลา 9 เดือน สิริรวมอายุจนถึงวันมรณภาพได้ 83 ปี รวมพรรษาธรรมยุตได้ 57 พรรษา 3 เดือน 23 วัน

ปี พ.ศ. 2471 จำพรรษาที่ วัดบ้านยาง ตำบลโคกสี อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น
ปี พ.ศ. 2472 จำพรรษาที่ วัดป่าสาลวัน อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา
ปี พ.ศ. 2473-2475 จำพรรษาที่ วัดป่าหนองกุ บ้านหนองคู ตำบลบ้านหว้า อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น
ปี พ.ศ. 2476-2480 จำพรรษาที่ วัดป่าช้างดงขวาง ตำบลหัวทะเล บ้านโนนฝรั่ง จังหวัดนครราชสีมา
ปี พ.ศ. 2481 จำพรรษาที่ วัดป่าอภัยวัน บ้านทุ่ม ตำบลบ้านทุ่ม อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น
ปี พ.ศ. 2482-2486 จำพรรษาที่ วัดถ้ำกวาง บ้านหินร่อง ตำบลเมืองเก่า อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น
ปี พ.ศ. 2487-2493 จำพรรษาที่ วัดป่าชัยวัน ตำบลเมืองเก่า อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น
ปี พ.ศ. 2494 จำพรรษาที่ วัดป่าอรัญญวาสี บ้านเหล่านาดี ตำบลบ้านหว้า อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น
ปี พ.ศ. 2595 จำพรรษาที่ วัดป่าชัยวัน ตำบลเมือง อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น
ปี พ.ศ. 2496-2497 จำพรรษาที่ วัดป่าคิรีวัน คำหวายยาง ภูพานคำ ตำบลบ้านกง อำเภอหนองเรือ จังหวัดขอนแก่น
ปี พ.ศ. 2498-2508 จำพรรษาที่ วัดถ้ำผาปู่นิมิตร ตำบลนาอ้อ อำเภอเมือง จังหวัดเลย
ปี พ.ศ. 2509 จำพรรษาที่ วัดป่าหนองแซง ตำบลหมากหญ้า อำเภอหนองวัวซอ จังหวัดอุดรธานี
ปี พ.ศ. 2510-2525 จำพรรษาที่ วัดถ้ำผาปู่นิมิตร ตำบลนาอ้อ อำเภอเมือง จังหวัดเลย
ปี พ.ศ. 2526-2527 จำพรรษาที่ โรงพยาบาลแพทย์ปัญญา คลองตัน หัวหมาก กรุงเทพฯ (เพื่อรักษาโรค)
ปี พ.ศ. 2499 วันที่ 5 ธันวาคม พุทธศักราช 2499 ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ เป็นพระครูญาณทัสสี พระครูชั้นโท ฝ่ายวิปัสสนาธุระ
ปี พ.ศ. 2521 วันที่ 5 ธันวาคม พุทธศักราช 2521 ได้เลื่อนสมณศักดิ์ เป็นพระครูชั้นเอก ฝ่ายวิปัสสนาธุระ

ธรรมโอวาท
ท่านมักจะอบรมลูกศิษย์ของท่านอยู่เสมอๆ ว่า "เรามีตาเท่ากับว่าไม่มีตา มีหูเท่ากับว่าไม่มีหู มีท้องก็ฉันอยู่ได้ไปวันๆ เท่านั้น ไม่ต้องแสดงความโลภและตะกละ" ให้พากันสำเหนียกไว้เรื่องของความโลภ ความโกรธ ความหลง จะต้องมีด้วยกันทุกคน ถ้าพูดถึงความโลภ เมื่อมันมีเจตนาบันดาลเกิดขึ้นมาแล้ว มันจะมืด ไม่รู้จักบาปบุญ ไม่กลัวคุกกลัวตะราง อันนี้เรียกว่าฤทธิ์ของมัน ท่านจงให้ระวังดีๆ ในเรื่องของสามประการนี้ท่านสอนว่า อย่าไปปรุงแต่งตามมัน ให้มีสติรู้เท่าทันมัน เมื่อเราปฏิบัติได้อย่างนี้แล้ว ความโลภ ความโกรธ ความหลง เหล่านี้ก็จะเสื่อมอำนาจไป

ตัวอย่างเช่น เมื่อเราประสงค์จะเอาสิ่งใด เราจะต้องพิจารณาเหตุเสียก่อน เมื่อพิจารณาดูแล้วว่ามันไม่ผิดศีลธรรม เราก็สามารถเอาได้ แต่เมื่อพิจารณาดูแล้วว่ามันผิดศีลผิดธรรม เราก็ละเสียไม่เอา นี่แสดงว่าเราไม่ปรุงแต่งตามมัน ในความอยากได้หรือความโลภ และเราก็มีสติรู้เท่ามัน คือมีการพิจารณาในเหตุในผลเสียก่อน ถ้าเราประพฤติได้ในลักษณะนั้น เราก็จะได้ชื่อว่าเป็นคนดี กระทำแต่ในสิ่งที่ดี มีแต่บุญกุศล ถ้าพูดสั้นๆ ก็หมายความว่า ทุกสิ่งทุกอย่างก็มีผลเท่านั้น คือถ้าเราทำเหตุดีก็จะได้รับผลดี แต่ถ้าเราทำเหตุชั่ว เราก็จะได้รับผลชั่ว

แต่การที่จะทำเหตุที่ดีนั้น มนุษย์เราทำกันอย่างยากหนา ที่ว่าทำยากเพราะอะไร ? คือมนุษย์บางเหล่าไม่รู้จักเหตุและผล จึงไม่รู้จักเลือกเฟ้นทำเหตุที่ดีกัน และอีกอย่างหนึ่งก็คือพวกเรานี้ไม่ค่อยชอบกระทำเหตุที่ดีกัน แต่ผลดีของมันนั้นชอบกันทุกคน

ความประมาทเป็นหนทางแห่งความตาย คำว่าตาย ในที่นี้ ไม่ได้หมายความว่าร่างกายเราตาย หมายถึงจิตใจคนเราตาย คือตายจากมรรคผลนิพพานต่างหาก ความไม่ประมาทเป็นหนทางแห่งความไม่ตาย คือไม่ประมาทต่อการทำความดี ได้แก่ ศีล สมาธิ ปัญญา มีโอกาสจะได้ไปสวรรค์ พรหมโลก หรือมรรคผลชั้นใดชั้นหนึ่ง ตลอดถึงพระนิพพานข้างหน้าแน่นอน ช้าหรือเร็วแล้วแต่บุญบารมีหรือความพากเพียรของตนเอง

ความไม่ประมาท คือ เป็นผู้มีสติจดจ่ออยู่ที่ กาย และใจ ทุกอิริยาบถทั้ง 4 คือ ยืน เดิน นั่ง นอน ไม่มีการเผลอสติจากอิริยาบถทั้ง 4 จึงจัดว่าเป็นผู้ไม่ประมาทเข้าใจไหม (ท่านถามลูกศิษย์) " นี่คือเทศน์ครั้งสุดท้ายของท่านก่อนที่จะล้มป่วย

คำว่าฟังเทศน์หมายความว่า เอาใจฟังอย่าให้ใจหนีจากตัว ใจผู้ใดก็ให้รักษาอยู่กับตัว อย่าให้ใจหนีจากตัว ใจผู้ใดก็ให้รักษาอยู่กับตัว ให้รู้อยู่กับภาวนา หรือให้รู้อยู่เฉพาะใจ อย่าให้ร่างกายนั่งอยู่ที่นี่แต่ใจมันคิดไปที่อื่น ก็ชื่อว่าใจไม่ฟัง คำว่าใจฟังคือใจจดจ่อ สะท้อนให้ละความชั่ว ประพฤติความดี ความชั่วก็ได้แก่บาปนั่นแหละ ความดีก็ได้แก่บุญกุศลนั่นแหละ แต่เกี่ยวเนื่องอยู่กับจิตใจของเรา ถ้าพูดให้สั้นๆ เอาเฉพาะใจความโอวาทของพระพุทธเจ้า 84,000 พระธรรมขันธ์ ท่านก็ย่นลงมาเป็น 3 ข้อด้วยกันคือ
1. พระพุทธเจ้าสอนให้ละกายทุจริต และประพฤติกายให้สุจริตนี้เป็นข้อที่หนึ่ง
2. ให้ละวาจาทุจริต และให้ประพฤติวาจาให้สุจริต
3. ให้ละมโนทุจริต และให้ประพฤติใจให้สุจริต

จะพูดถึงบาป อกุศลกรรมบทหมายความว่า การทำบาปทั้งหลายก็รวมมาอยู่ที่อกุศลกรรมบท 10 ประการนั่นแหละ คำว่าบุญกุศลก็รวมอยู่ที่กุศลกรรมบท 10 ประการนั่นแหละ ชื่อว่ากายกรรม 3 วจีกรรม 4 มโนกรรม 3 ถ้าพูดให้สั้นให้น้อยลงไปอีก กายกรรม 3 และวจีกรรม 4 เป็นกิริยา การทำบาป ย่นลงมาทางใจคือ ใจโลภ ใจหลง มี 3 อย่างเท่านั้นแหละเป็นต้นเหตุ ตกลงอกุศลกรรมบทก็หมายใจเท่านี้แหละเป็นต้นเหตุ ตกลง อกุศลกรรมบทก็หมายใจเท่านั้น หมายใจดวงเดียวคือใจ ก็หมายอันเดียวเรียกว่า เอกังจิตตัง ที่เรียกว่า จิต หัวใจ ก็เรียกว่าเป็นใจดวงเดียว เอกมโนเรียกว่า ใจอันเดียว

ตกลงผู้ที่เบื่อความทุกข์ เบื่อความโง่ เบื่อความเป็นบาป ก็มาปฏิบัติแก้กายทุจริตให้เป็นกายสุจริต แก้วจีทุจริตให้เป็นวจีสุจริต แก้มโนทุจริตเป็นมโนสุจริต นี้เป็นวิธีปฏิบัติ ถ้าเราจะเทียบในทางโลกเหมือนกับพวกชาวไร่ ชาวนาที่มีไร่มีนา แต่ก่อนมันก็เป็นป่าเป็นดงนั่นแหละ เมื่อถือสิทธิ์แล้วก็จึงสร้างจึงถากถาง ทำให้เป็นไร่เป็นสวนทำให้บริสุทธิ์ ทำนาก็ให้เป็นนาจริงๆ ทำสวนก็ให้เป็นสวนจริงๆ

คนทุกข์คนจนในโลกนี้ไม่ใช่ทุกข์เพราะเสือกิน ไม่ใช่ทุกข์เพราะงูร้ายกัด ไม่ใช่ทุกข์เพราะช้างฆ่า แต่ทุกข์เพราะความโลภ ความโกรธ ความหลงของตน จะทุกข์เพราะสิ่งใดๆ ก็ตาม ตัวความโลภ ความโกรธ ความหลงนี่แหละเป็นผู้ฆ่า
- ความโลภ
- ความโกรธ
- ความหลง
สามสิ่งนี้ร้ายกาจกว่าสิ่งอะไรทั้งหมด ร้ายกว่าผีร้าย ร้ายกว่าเสือร้าย ร้ายกว่างูร้าย ไม่มีสิ่งไหนจะร้ายกว่าตัวความโลภ ความโกรธ ความหลง เพราะฉะนั้นให้ระวังที่สุด เรื่องของความโลภ ความโกรธ ความหลง สามประการนี้ มันสามารถทำให้ผู้รู้แจ้งเป็นคนมืดก็ได้ ฤทธิ์ของมันน่ะ มันอยู่เหนือทุกคนในโลกที่ได้เกิดมาในโลกนี้ ยกเว้นเสียแต่พระอรหันต์

ปัจฉิมบท
ด้วยขยัน อดทน พากเพียร และจริงใจในการปฏิบัติบูชา เพื่อมุ่งหวังในพระธรรมเป็นผลให้หลวงปู่ได้พบทางแห่งการดับทุกข์และพ้นทุกข์ และเป็นที่ทราบกันดีว่า หลวงปู่คำดี ปภาโส แห่งวัดถ้ำผาปู่นิมิตร จังหวัดเลย เป็นพระสุปฏิปันโน ธรรมโอวาทและการปฏิบัติของหลวงปู่ปรากฏในข้อความข้างต้นนี้ คงจะเป็นประโยชน์ต่อผู้สนใจใฝ่ธรรมทุกท่าน

ที่มา : http://www.fungdham.com
ย้อนกลับ | หน้าที่ ๑ | หน้าที่ ๒ | หน้าต่อไป

ฟังธรรมะบรรยาย
(มากกว่า ๔,๐๐๐ ไฟล์)

อ่านพระไตรปิฎก
(คัมภีร์สำคัญทางพุทธศาสนา)
อ่านหนังสือธรรมะออนไลน์
(โดยพระเกจิอาจารย์ชื่อดัง)
วิธีปฏิบัติธรรม
(ธรรมะภาคปฏิบัติ)
 

จุดมุ่งหมายสูงสุดของพระพุทธศาสนา
     จุดหมายสูงสุด ของพระพุทธศาสนา พึงบรรลุได้ด้วยความสุขหรือด้วยข้อปฏิบัติที่มีความสุข มิใช่บรรลุด้วยความทุกข์ หรือด้วยข้อปฏิบัติที่เป็นทุกข์
      ผู้ปฏิบัติจะต้องไม่ติดใจหลงไหลในความสุขที่เกิดขึ้นแก่ตน ไม่ปล่อยให้ความสุขที่เกิดขึ้นนั้น ครอบงำ
        จิตใจของตน ยังมีจิตใจเป็นอิสระ สามารถก้าวหน้าไปในธรรมเบื้องสูง ต่อๆ ไป จนบรรลุความเป็นอิสระ
        หลุดพ้นโดยบริบูรณ์
      ซึ่งเมื่อบรรลุจุดหมายนั้นแล้ว ก็สามารถเสวยความสุขที่เคยเสวยมาแล้ว โดยที่ความสุขนั้น ไม่มีโอกาส
        ครอบงำจิตใจ ทำให้ติดพันหลงไหลได้เลย
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต)

หลักแห่งพระพุทธศาสนาโดยสรุป
     พุทธศาสนาคือวิชาและระเบียบปฏิบัติ เพื่อให้รู้สิ่งทั้งปวงถูกต้องตามที่เป็นจริงว่าอะไรเป็นอะไร สิ่งทั้งปวง มีสภาพตามที่เป็นจริง คือ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่ใช่ตัวหรือของตัว ; แต่สัตว์ทั้งหลายยังหลงรัก หลงยึดติดสิ่งทั้งปวง เพราะอำนาจของการยึดมั่นที่ผิด ในพุทธศาสนามีวิธี ปฏิบัติเรียกว่า ศีล สมาธิ ปัญญา เพื่อใช้เป็นเครื่องมือ ตัดการติดการยึดมั่นนั้นเสีย อุปาทาน การยึดมั่นนั้นมีสิ่งที่ลงเกาะหรือจับยึด คือ ขันธ์ทั้งห้า คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
      เมื่อรู้จักขันธ์ทั้งห้า ตามที่เป็นจริง ก็จะสามารถเข้าใจสิ่งทั้งปวงจนถึงกับเบื่อหน่ายคลายความอยาก ไม่ยึดอะไร ติดอะไร และเราควรจะมีชีวิตอยู่อย่างที่เรียกว่า "เป็นอยู่ชอบ" คือให้ วันคืนเต็มไปด้วยความปีติ ปราโมทย์ อันเกิดมาจากการกระทำที่ดีที่งามที่ถูกต้องอยู่เป็นประจำ แล้วระงับความฟุ้งซ่าน เกิดสมาธิ เกิดความเห็นแจ้งได้เรื่อยๆ ไป จนกระทั่งเกิดความเบื่อหน่าย ความคลายออก ความหลุดพ้น และนิพพานได้ตามความเหมาะสมของสิ่งแวดล้อม
      ถ้าเราจะรีบเร่งทำให้ได้ผลเร็วขึ้น ก็มีแนวปฏิบัติที่เรียกว่า วิปัสสนาธุระ เริ่มตั้งแต่มี ความประพฤติบริสุทธิ์ มีใจบริสุทธิ์ มีความเห็นบริสุทธิ์ เรื่อยขึ้นไปจนถึงมีปัญญา คือความเห็นแจ้งบริสุทธิ์ ในที่สุดก็จะตัดกิเลสที่ผูกมัดคนให้ติดอยู่กับวิสัยโลกออกเสียได้ เรียกว่า การบรรลุมรรคผล
ท่านพุทธทาสภิกขุ : คู่มือมนุษย์



สงวนลิขสิทธิ์โดย ธรรมะพีเดีย.คอม
เว็บไซต์นี้จัดทำขึ้นเพื่อเผยแผ่พุทธศาสนา โดยไม่มุ่งหวังผลทางพาณิชย์
อนุญาตให้นำไปเผยแผ่เพื่อสืบต่อพุทธศาสนาได้ตามกุศลเจตนา

www.thammapedia.com
( ศูนย์เผยแผ่พระพุทธธรรม )
Copyright © 2008 ALL RIGHTS RESERVED
 
 
หน้าหลัก